ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 4/12


วัดนางพญา จ. พิษณุโลก


พระอุโบสถวัดนางพญา จ. พิษณุโลก


ผู้สร้างวัดนางพญา

จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า เดิมวัดนางพญาเป็นวัดเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่อมาถึงยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ ได้มีการแบ่งแยกที่ดินด้านพระมหาวิหารออกมาบูรณะเป็นวัดและได้นำความสำคัญขององค์พระมหากษัตรีย์ "สตรี" ผู้ครองเมืองในขณะ นั้นมาตั้งเป็นชื่อวัดว่า ( วัดนางพญา ) ในสมัยโบราณจะนิยมสร้างวัดผัววัดเมียไว้คู่กันเสมอ วัดราชบูรณะชาวบ้านเรียกกันว่า ( วัดผัว ) วัดนางพญา ชาวบ้านเรียกกันว่า ( วัดเมีย ) เป็นต้น


ส่วนผู้สร้างวัดราชบูรณะคือ พระมหาธรรมราชา


ที่มาของการสร้างพระนางพญา


จากเหตุการณ์ บ้านเมืองในขณะนั้น อยู่ในระหว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน องค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ จึงตรัสสั่งให้หาพระเกจิอาจารย์ ที่มีเวทมนต์คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ในยุคนั้น ให้มาช่วยกันจัดสร้างพระเครื่องแจกแก่ประชาชนและทหารที่ออกรบไว้ป้องกันตัวจำนวนมาก โดยยึดรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นหลัก การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน คือพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอกมุงหลังคาไม่มีเวลาที่จะเคลือบหรือลงรัก เพื่อรักษา ผิวเนื้อพระให้สวยงามและเหนียวแน่นคงทนครบหมดทุกองค์


ที่มาของการสร้างพระนางพญาอกนูนใหญ่

ในยุคเดียวกันนี้ มีการสร้างพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่และอกนูนเล็กเพิ่มขึ้นอีกสองพิมพ์ มีเอกลักษณ์แปลกตาไม่เหมือนใคร เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญวีรกรรมของพระศรีสุริโยทัย ดังมีเรื่องเล่าไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อครั้งที่พม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีสุริโยทัย สืบเชื้อสายมาจากราชวงษ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ สม บัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อปี พ.ศ 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเว ตี้ และมหาอุปราชาบุเรงนอง ยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อม พระนครศรีอยุธยาไว้



การศึกครั้งนั้น เป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่ง ไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปร ด้วยเกรงว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามีจะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าว ฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติคือ วันที่ 3 กุมภา พันธ์ พ.ศ 2092

วันนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัย ยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก สมเด็จพระศรีสุริโยทัย พร้อมกับพระราชโอรส พระราชธิดา 4 พระองค์ ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่าง มหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่าช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลัง อยู่ในอันตราย จึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย

ช้างของพระศรีสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างของพระเจ้าแปร ได้เสยช้างของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือพระบรมดิลก บนช้างเชือกเดียวกัน เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงปลงพระศพของพระนาง และสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์


วัดสวนหลวงสบสวรรค์


สมเด็จพระศรีสุริโยทัย มีพระราชโอรส – พระราชธิดา 5 พระองค์ เรียงตามลำดับดังนี้

  • พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ในระหว่างไปหงสาวดี
  • พระมหินทร์ พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราช กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112
  • พระสวัสดิ์ราช พระราชธิดา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิ สุทธิกษัตรีย์ อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและเป็นพระชนนีของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระบรมดิลก พระราชธิดา เสียพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสง ครามคราวเสียพระศรีสุริโยทัย
  • พระเทพกษัตรี พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่พระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศ พระนางถูกพระเจ้าบุเร็งนองกษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี



ในการสร้างพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่และอกนูนเล็ก ก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระศรีสุริโยทัยและพระบรมดิลก พระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดา ในสงครามคราวเดียวกัน

โดยมีรูปทรงแปลกตา บ่งบอกถึงสตรีเพศคือ อกนูนใหญ่ คงหมายถึงพระศรีสุริโยทัย และอกนูนเล็ก คงหมายถึง พระบรมดิลก พระราชธิดา

พระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้สร้างจำนวนน้อย ทำให้มีการเสาะแสวงหาไว้ครอบครองกันมาก ไม่แพ้พระนางพญาพิมพ์อื่นๆ ด้วยความจงรักภักดีที่องค์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ยอมเสีย สละได้แม้กระทั่งพระชนม์ชีพ ส่งผลทำให้พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ มีความขลังและศักดิ์ สิทธิ์โดดเด่นไปในทางส่งเสริม ให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น มีโชคมีลาภและค้าขายร่ำ รวยเร็ว ใครเห็นใครรักพักดีมั่นคง ( เสน่ห์แรง ) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงส่งและให้คนรักภักดีตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 590658เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท