แมลงผสมเกสร : ผึ้งกัดใบ


ที่มันกัดใบ เพียงแต่ต้องการนำไปทำรัง ที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นแมลงศัตรูพืชที่จะกัดกินใบทั้งสวนหรอก..ค่ะ แบ่งๆ มันหน่อย ให้มันมีที่อยู่อาศัย เดี๋ยวจากนั้นมันจะมาช่วยผสมเกสรให้กับเกษตรกรเอง

สวัสดี..ค่ะ

เกษตรกรพบใบของต้นไม้ภายในสวนของท่้าน ที่มีลักษณะอย่างในรูปนี้ หรือไม่ (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 ใบไม้ที่ถูงผึ้งกัดใบ กัดเอาไปทำรัง (กวิวัฏ,2554)

.

ตอนแรกไม่รู้ คงได้แต่คิดว่าต้องเป็นแมลงกัดกินใบ ชนิดใดชนิดหนึ่ง..แน่ และเริ่มกังวลใจ

ตามด้วยความคิดที่เกิดตามมาในแว็ปนั้น ก็คือ "กูจะกำจัดมึง"

.

ว่าแล้วก็ไปร้านขายยากำจัดแมลง แล้วก็เสียเงินไปอีกจำนวนหนึ่ง พร้อมยากำจัดแมลงที่ตนเอง

บางทียังไม่รู้เ่ลยว่า คือยาอะไร รู้แต่ว่าเขาจัดมาให้ ก็เอามาพ่นๆ ไป

แต่สิ่งที่เกษตรกรคิดจะกำจัด แท้ที่จริงคือผึ้งกัดใบ (ภาพที่ 2) ค่ะ เป็นแมลงผสมเกสรชนิดหนึ่ง

แต่ที่มันกัดใบ เพียงแต่ต้องการนำไปทำรัง ที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นแมลงศัตรูพืชที่จะกัดกินใบทั้งสวนหรอก..ค่ะ

แบ่งๆ มันหน่อย ให้มันมีที่อยู่อาศัย เดี๋ยวจากนั้นมันจะมาช่วยผสมเกสรให้กับเกษตรกรเอง

ภาพที่ 2 ผึ้งกัดใบ (กวิวัฏ,2554)

.

ลักษณะการทำรังของ ผึ้งกลัดใบ http://siamensis.org/node/6049

ผึ้งกัดใบไม่เป็นแมลงสังคม จึงไม่มีลักษณะของรังผึ้งปกติ

ผึ้งจะกัดใบไม้มาม้วนๆ เป็นลักษณะคล้ายซิการ์ (ภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 ลักษณะการทำรังของผึ้งกัดใบ (กวิวัฏ,2554)

.

ข้างในจะแบ่งเป็นชั้นๆ ประมาณ 3 - 10 ชั้น แล้วแต่ชนิด แต่ละชั้นมันจะวางไข่ 1 ฟอง พร้อมกับก้อนเกสรดอกไม้ สำหรับเป็นอาหารของตัวอ่อน จนกว่าจะเข้าดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย

หลังจากสร้างปลอกตัวอ่อนเสร็จ ตัวเมียก็จะทิ้งไข่ไว้อย่างนั้นไม่มาดูแลอีกเลย คล้ายกับลักษณะของต่อเล็บงาม และหมาร่า ที่สร้างปลอกตัวอ่อนจากดินเหนียวแปะมผนัง และชายคาบ้าน

นอกจากสร้างปลอกใบไม้แบบเปลือยแล้ว ผึ้งกัดใบบางชนิดอาจนำใบไม้มาอัดเป็นชั้นๆ ภายในโพรงต้นไม้ หรือตามสภาพที่มีรู ที่พบบ่อยๆคือในรูอิฐมอญ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเพราะมีขนาดพอดี หรือบางชนิดสามารถสร้างปลอกดินได้เช่นเดียวกับหมาร่า แต่อย่างไรก็ยังจะใช้ใบไม้อัดเป็นชั้นภายในอยู่ดี

ส่วนรอยแผลบนใบไม้ที่แหว่ง เพราะผึ้งกัดใบ อาจจะสังเกตได้จาก แผลที่ค่อนข้างเป็นวงกลม (ภาพที่ 1) ในขณะที่หนอนผีเสื้อจะเป็นรอยหยัก มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน

.

วิธีสังเกตุผึ้งกัดใบ หรือผี้งปกติ

ผึ้งกลัดใบจะมีขนบริเวณปล้องท้อง เพื่อการเก็บละอองเกสร (ภาพที่ 4)

เครดิตภาพ : http://www.discoverlife.org/ และ http://www.greatsunflower.org/megachile

ภาพที่ 4 ผึ้งกัดใบปกติที่ยังไม่ได้เก็บเกสร (กวิวัฏ,2554)

ภาพที่ 5 ภาพผึ้งกัดใบที่เก็บละอองเกสรไว้ที่ปล้องท้องแล้ว (กวิวัฏ,2554)

.

ผึ้งทัวไป จะมีขนสำหรับเสียบเกสรเก็บไว้บริเวณขาหลังคู่สุดท้าย บริเวณตำแหน่ง Pollen basket (ภาพที่ 6)

เครดิตภาพ : http://cyberbee.msu.edu/biology/

ภาพที่ 6 โครงสร้างขาของคู่สุดท้าย

.

ภาพที่ 7 ผึ้งเก็บละอองเกสรไว้บริเวณขาหลังคู่สุดท้ายที่

แหล่งที่มาของภาพ http://www.psu.edu/feature/2013/06/05/rescuing-hon...

.

คงจะพอแยกออกคร่าวๆ แล้วนะคะ สำหรับใบไม้ในสวนผลไม้ของเกษตรกร ว่าเกิดจากแมลงผสมเกสรที่ มาขอแบ่่งไปนิดๆ หน่อยๆ เพื่อสร้างรัง อย่าตกใจซะจน ไปซื้อยากำจัดแมลงมาไล่แมลงผสมเกสรไปจากสวนจนหมด เดี๋ยวปีนี้ผลผลิตลดลง หรือไม่ติดผลเลยจะเสียเวลา เสียเงิน เปล่าๆ ...ค่ะ

.

ไว้คราวหน้าจะรวบรวม ลักษณะของใบไม้ที่ถูกแมลงแต่ละชนิดกัดกินมาให้ศึกษากัน..นะคะ

หมายเลขบันทึก: 590548เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2015 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2015 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"ผึ้งกัดใบ ... เป็นแมลงผสมเกสรชนิดหนึ่ง

แต่ที่มันกัดใบ เพียงแต่ต้องการนำไปทำรัง ที่อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นแมลงศัตรูพืชที่จะกัดกินใบทั้งสวนหรอก...แบ่งๆ มันหน่อย ให้มันมีที่อยู่อาศัย เดี๋ยวจากนั้นมันจะมาช่วยผสมเกสรให้กับเกษตรกรเอง..."

I love this part. It is right at the heart of farming!

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท