นักเรียนเขียนหลักสูตรเรียนเอง โดย ชาตรี สำราญ


เมื่อฝึกให้นักเรียนคิดเขียนแผนการเรียนรู้หลายๆ เรื่อง หลายๆ กลุ่ม ครูนำมารวมกันก็จะเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ของผู้เรียน มันอาจจะไม่เหมือนหลักสูตรของกระทรวง ขอครูอย่าติดรูปแบบ อย่าติดเนื้อหา แต่ มุ่งสู่สาระ ฝึกผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองบ่อยๆ ต่อไปเขาก็จะเขียนหลักสูตรตามแบบที่ครูต้องการได้ แต่นั่นแหละสุดท้ายก็ต้องมานั่งวางแผนการเรียนแบบนี้อีก เหมือนกับเขียนหลักสูตรสถานศึกษาแล้วมานั่งเขียนแผนการสอนกันอีก ทำไมไม่เขียนแผนการสอนทั้งปี เย็บเล่มแล้วสรุปสาระการสอนก็จะได้ หลักสูตรสถานศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อนักเรียนเขียนแผนการเรียนส่งครู ครูก็นำแผนการเรียนนั้นมาวิเคราะห์ ว่าประเด็นใดตรงตามมาตรฐานของหลักสูตรบ้าง ยังขาดประเด็นใดบ้าง ครูก็เตรียมแผนสอนเพิ่ม และครูกับนักเรียนร่วมกันเรียนรู้

นักเรียนเขียนหลักสูตรเรียนเอง

"นักเรียนสร้างหลักสูตรเรียนเองได้ไหม" เพื่อนครูหลายคนถามผมอย่างนี้ ผมตอบว่าได้ ได้สิ ถ้าครูใจกว้าง ยอมรับความจริงของยุคสมัย และนับว่าเป็นโอกาสดีที่การปฏิรูปการศึกษาจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะการศึกษาต่อไปนี้ จะต้องพัฒนาทั้งครูและศิษย์ ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ได้แสดงภาพการเรียนรู้แบบใหม่ไว้ดังนี้


การเรียนรู้แบบใหม่

บทบาทใหม่ของครู

V

เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง

V

สร้างคุณลักษณะ

V

  • -ช่วยนักเรียนกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • -ส่งเสริมให้นักเรียนหาความรู้เอง
V

สอนการคัดสรรเนื้อหาเอง

รู้วิธีกำหนดเป้าหมาย

V

วิเคราะห์ / แยกแยะได้

V

รู้จักวิธีแก้ปัญหา

คิดเป็น

V

คิดวิเคราะห์สร้างสรรค์

V

สร้างผลงาน

V V V

แนะให้ผู้เรียนสรุปเนื้อหา >

V

พิจารณาข้อมูลผลผลิต >

V

มีความมั่นใจในตนเอง

V

สอนให้วิเคราะห์เป็น

V

สอนให้ประยุกต์เป็น

V

สอนให้ประเมินผลงาน

V

รู้จักประยุกต์ใช้

V

ฝึกการทำงานร่วมกัน

V

ฝึกความรับผิดชอบ

V

ฝึกเป็นผู้นำ

V

ฝึกเสียสละ อดทน

V

ฯลฯ

V

ความรู้ที่เด็กสร้างขึ้นเอง

ฝึกทักษะใหม่ๆ เป็นหลัก

ป้อนลักษณะสำหรับโลกยุคใหม่


จะเห็นได้ว่า บทบาทของครูเดิมที่เป็นผู้รู้และสั่งให้นักเรียนเรียนตามที่ตนรู้นั้น ครูจะต้อง สร้างผู้เรียนให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ โดย

  • 1.สามารถกำหนดจุดมุ่งหมายได้ด้วยตนเอง
  • 2.สามารถกำหนดวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
  • 3.สามารถวิเคราะห์ความรู้ที่ตนศึกษามาได้ด้วยตนเอง
  • 4.สามารถประเมินความรู้ที่ตนศึกษามาได้ด้วยตนเอง
  • 5.สามารถประยุกต์ความรู้ที่รู้แล้วนำใช้ประโยชน์ได้
  • 6.สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
  • 7.สามารถตรวจสอบความรู้ที่ตนได้มาได้

ผมถามว่า ถ้าผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 7 ข้อนี้แล้ว เขาจะสร้างหลักสูตรการเรียนของเขาได้ไหม ลองคิดดู

ปัญหามันมีอยู่ว่า ผู้เรียนยังไม่เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น ผมจึงถามต่อว่า "ครูยังไม่สอน หรือเขายังไม่ได้ทำ" ตรงนี้ต่างหาก ถ้าครูย้อนกลับมาถามตนเองว่า "สอนเขาแล้วยัง" ถ้ายังไม่สอนก็เริ่มลงมือสอนให้ผู้เรียนสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเองได้แล้ว

ทำอย่างไร ลองทำอย่างนี้ดู

  • 1.ถามผู้เรียนว่า "การเรียนครั้งนี้จะเรียนคนเดียวหรือเรียนเป็นกลุ่ม" (ควรสนับสนุนให้เรียนเป็นกลุ่ม)
  • 2.จะเรียนเรื่องอะไร
  • 3.จะเรียนเรื่องนี้ทำไม หรือ ทำไมต้องเรียนเรื่องนี้
  • 4.จะเรียนรู้ด้วยวิธีการใด
  • 5.จะเรียนที่ไหน กับใคร (แหล่งเรียนรู้)
  • 6.จะเรียนรู้ในประเด็นใดบ้าง (พยายามให้แตกย่อยมากๆ)
  • 7.เรื่องเหล่านี้จะไปหาความรู้ที่ไหน หรือถามใคร ถามว่าอย่างไร (พยายามให้ตั้งคำถามเพื่อไปค้นหาความรู้ให้มากๆ
  • 8.เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ความรู้ที่ได้มานั้นใกล้เคียงความจริง หรือถูกต้องแล้ว (ฝึกการประเมินความรู้)
  • 9.เราจะนำความรู้ที่ได้มารวบรวมอย่างไร หรือจะจัดการต่อความรู้นั้นแบบใด
  • 10.เราจะนำความรู้ที่ได้มาไปใช้ประโยชน์ต่ออย่างไรได้บ้าง
  • 11.เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนรู้ครั้งนี้
  • 11.1.เรารู้เรื่องอะไรบ้าง
  • 11.2.เรารู้ได้ด้วยวิธีการใด
  • 11.3.เราเกิดความรู้สึกอย่างไรบ้างในขณะที่เรียนรู้
  • 11.4.เราคิดว่ายังมีอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้ เราจะเพิ่มเติมอย่างไร
  • 11.5.เราอยากเรียนรู้เรื่องอะไรต่อไปอีก

ข้อ 11 จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการเรียนรู้เสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นการประเมินและสรุปผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็น สาระที่ได้ภายหลังจากการเรียนรู้

เมื่อฝึกให้นักเรียนคิดเขียนแผนการเรียนรู้หลายๆ เรื่อง หลายๆ กลุ่ม ครูนำมารวมกันก็จะเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ของผู้เรียน มันอาจจะไม่เหมือนหลักสูตรของกระทรวง ขอครูอย่าติดรูปแบบ อย่าติดเนื้อหา แต่ มุ่งสู่สาระ

ฝึกผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองบ่อยๆ ต่อไปเขาก็จะเขียนหลักสูตรตามแบบที่ครูต้องการได้ แต่นั่นแหละสุดท้ายก็ต้องมานั่งวางแผนการเรียนแบบนี้อีก เหมือนกับเขียนหลักสูตรสถานศึกษาแล้วมานั่งเขียนแผนการสอนกันอีก ทำไมไม่เขียนแผนการสอนทั้งปี เย็บเล่มแล้วสรุปสาระการสอนก็จะได้ หลักสูตรสถานศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง

เมื่อนักเรียนเขียนแผนการเรียนส่งครู ครูก็นำแผนการเรียนนั้นมาวิเคราะห์ ว่าประเด็นใดตรงตามมาตรฐานของหลักสูตรบ้าง ยังขาดประเด็นใดบ้าง ครูก็เตรียมแผนสอนเพิ่ม และครูกับนักเรียนร่วมกันเรียนรู้

การเปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างแผนการเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองแบบนี้ เขาจะเรียนรู้ที่บ้าน ส่วนที่โรงเรียนจะมานั่งทำ การ (ตรวจสอบผลการเรียนรู้ที่) บ้าน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน ในเหลียวหลัง...แลหน้าปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพฯ 2558 https://drive.google.com/file/d/0B7nmEmE8745OWFRrTFk2emtLc1k/view

ดูรูปได้ใน https://sites.google.com/site/chatreesamran/-doc-9

หมายเลขบันทึก: 590101เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2015 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2015 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท