มองพลวัตเศรษฐกิจไทย ผ่านสภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย


ตกลงเศรษฐกิจไทยรุ่งหรือร่วง นโยบายการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของไทยมาถูกทางแล้วหรือไม่ ทำไมจึงมีคนพูดว่าเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ใน "คลื่นที่ 3"

เมื่อวานได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์รองประธานกรรมการกลุ่มบริษัทไทยซัมมิต ซึ่งถือว่าเป็นผู้เล่นสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในฐานะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ (spare part) รายใหญ่ป้อนโรงงานผลิต - ประกอบรถยนต์ในเมืองไทย

มีคำถามที่ถามกันมากมายว่า เศรษฐกิจไทยในตอนนี้ ดี หรือ แย่ กันแน่ แม้ว่ามีคำวิพากษ์วิจารณ์ว่าเศรษฐกิจไทยประสบปัญหาจากความขัดแย้งทางการเมืองเรื้อรังจนกระทั่ง สูญเสียศักยภาพความทนทานของระบบเศรษฐกิจทั้งจากปัญหาภายในและภายนอก (ที่เรียกันว่า teflon economy) แล้วถ้าจะมองภาพในระยะยาว (ไม่ได้มองปัญหาระยะสั้นในช่วงเพียง 8 - 10 ปี) เศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรกันแน่ อุตสาหกรรมยานยนต์น่าจะเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมไทยได้ดีที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่ง

ภาพคลื่นพัฒนาการเศรษฐกิจไทยวัดจากกระแสการลงทุน FDI และนโยบายเศรษฐกิจในแต่ละช่วง


อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ได้ชื่อว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศที่สำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง (ขนาดของบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก ปตท คือ บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จำกัด แต่ไม่ได้ถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้ ผมจึงเรียกว่า phantom economy น่าจะมีขนาดถึง 50% ของ GDP และเป็นกำลังการเงินหลักที่คอยหล่อเลี้ยงระบบราชการไทย -- งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ราว 2.575 ล้านล้านบาท


ภาพ ผลกระทบต่อสถานการณ์น้ำท่วม 2011 กับ supply chain ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเขตภาคกลาง


ภาพ การกระจายตัวของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์ตามภูมิภาคต่าง ๆ


ภาพ supply chain ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย


ภาพความแตกต่างของ supply chain ในไทยและในญี่ปุ่น


ภาพลักษณะการ "แบ่งงานกันทำ" ของโรงงานประกอบผลิตรถยนต์ในอาเซียน


ภาพแสดงคลัสเตอร์ยานยนต์ในเขตภาคตะวันออก


ประเด็นที่น่าสนใจ:

(1) supply chain ของอุตสาหกรรมยานยนต์ มีลักษณะ กว้าง และ ลึก กว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ (เช่นอิเล็กทรอนิกส์) การจะถอนตัวหรือลงทุนใหม่ไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ ต้องมองภาพในระดับ 10 - 15 ปีขึ้นไป

(2) ความสามารถการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอยู่ที่ปีละ 2 ล้านคัน, ส่งออก : ขายในประเทศ = 50:50 ที่ผ่านมาเนื่องจากผลกระทบจากปัญหาการเมืองเศรษฐกิจและนโยบายเร่งตัวรถคันแรก ทำให้ยอดการบริโภคในประเทศอยู่ที่ราว 800-900K แต่ในระยะยาวสามารถขึ้นไปที่ระดับ 1M ได้ไม่ยาก ; มาเลเซียอยู่ที่ 500K ; อินโดนีเซียอยู่ที่ราว 1M+ มี potential ไปถึง 2M แต่การผลิตทั้งหมดเพื่อตอบสนองตลาดภายใน ไม่มี capacity เหลือสำหรับการส่งออก

(3) ความสามารถในการแข่งขันโดยเปรียบเทียบของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่กระบะขนาดเล็ก มาจากการ distorted โครงสร้างภาษีจากนโยบายรัฐเพื่อสนับสนุนการผลิตกระบะขนาดเล็ก

(4) การขยายการลงทุนของทุนไทยไปต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านศักยภาพและคอนเน็คชั่นในตลาดเป้าหมาย เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้บริษัทไทย (โดยเฉลี่ย) ใช้ leverage เพียง 1:1 ซึ่งถือว่าต่ำมาก ยุทธศาสตร์การขยายตัว อันดับแรกคืออาเซียนเพื่อช่วงชิงตลาดในภูมิภาค และอันดับสอง การซื้อเทคโนโลยีและแบรนด์จากประเทศพัฒนาแล้ว (โดยส่วนใหญ่จะลงทุนในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อประหยัดเงินทุน - แต่ขึ้นอยู่กับมุมมองด้านความเสี่ยงด้วย)

(5) ยอดขายรถยนต์ในเขตต่างจังหวัดมีการเติบโตมาก และเป็นรถยนต์โดยสาร (passenger car) ไม่ใช่รถที่ใช้ในการพาณิชย์อย่างรถกระบะ สะท้อนว่าเศรษฐกิจต่างจังหวัดมีการเติบโตขึ้นมา การเติบโตนี้เป็นได้ทั้งศักยภาพภายในของแต่ละจังหวัดเอง (มีการตั้ง modern trade, ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หรือ shopping mall อย่างเซ็นทรัลพลาซ่าในหลายจังหวัด) และเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อเศรษฐกิจในเขตจังหวัดชายแดน (เช่นพื้นที่จังหวัดที่อยู่เขตชายแดนอีสานมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก) นี่อาจจะเป็น "ปัจจัยพื้นฐาน" ที่เสริมความมั่นใจในตนเอง และก่อให้เกิด "ชนชั้นกลางใหม่" ที่เข้ามาท้าทายชนชั้นกลางเดิมและชนชั้นนำในกรุงเทพฯ ซึ่งมักเป็นผู้กำหนดนโยบายเป็นหลัก และยึดมั่นกับโครงสร้างในลักษณะ self colonization ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งกลายมาเป็นความขัดแย้งสีทางการเมือง "เหลือง-แดง-หลากสี" ในปัจจุบัน

(6) สภาพเศรษฐกิจในเขตเมืองก็เติบโตขึ้นมากเช่นกัน มีการถ่ายทอดธุรกิจไปยังเจ้าของรุ่นที่ 3 ซึ่งไม่ผ่านความยากลำบากเหมือนรุ่นที่ 1 หรือรุ่นที่ 2 และมีการศึกษาที่สูงกว่า สามารถเชื่อมโยงเข้ากับพื้นที่โลกาภิวัฒน์ได้ โดยการทำธุรกิจหรือศึกษาต่อในประเทศตะวันตก การพร้อมลงทุนของ IKEA ที่พร้อมจะเปิดสาขาสองแสดงว่ามีศักยภาพในการขยายตลาดและผู้บริโภคชนชั้นกลางมีกำลังซื้อ (คนที่ใช้บริการ IKEA ส่วนใหญ่จะต้องมีรถยนต์ แสดงว่ามีกำลังบริโภคระดับหนึ่ง) การบริโภครถยนต์ซึ่งเป็นสินค้าคงทนแสดงว่าต้องมั่นใจในศักยภาพทางเศรษฐกิจของตนในการชำระค่าใช้จ่ายระยะยาว

(7) ระดับในการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคยานยนต์สอดคล้องกลับอุตสาหกรรมการบิน (ซึ่งประเทศ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียคัดค้านการเปิดน่านฟ้าเสรี 2015) กล่าวโดยสรุป Tier I : Singapore, Malaysia, Thailand ; Tier II : Phillippines and Indonesia ; Tier III : CMLV (Cambodia, Myanmar, Laos, Vietnam) ; (exceptional case = Brunei) การจัดกลุ่มระดับ Tier นี้วัดจาก GDP per capita

(8) อุตสาหกรรมยานยนต์ของมาเลเซีย ซึ่งพยายามสร้าง "รถยนต์แห่งชาติ" หรือ proton ขึ้นมา และได้รับการ "สนับสนุน" จากรัฐบาล จะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของมาเลเซียไม่สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศอื่น ซึ่งมีนโยบายที่เปิดเสรีกว่า เช่น ไทย อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ได้ในระยะยาว


ในขณะที่ช่วงวันหยุดผมได้ขับรถเดินทางจาก กรุงเทพฯ - ลำปาง ระยะทางราวกว่า 600 กม. ได้เห็นสภาพการเชื่อมต่อ เขตอุตสาหกรรม - เมือง - กสิกรรม - และพื้นที่ว่างเปล่า เป็นการคลี่คลายของการจัดสรรทรัพยากรที่ดินในขณะที่กำลังเดินทาง ผมมีความรู้สึกว่าเขตอุตสาหกรรมที่หนาแน่นไปสิ้นสุดที่บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ (พื้นที่จังหวัดที่เหนือขึ้นไปกว่านั้นก็มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่บ้าง แต่เป็นโรงงานจำเพาะ และไม่หนาแน่นเท่า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่รกร้างและทุ่งนาโดยส่วนใหญ่ เมื่อมองจากทิวทัศน์ขณะขับรถผ่านเส้นทางหลวงเอเชียหมายเลข 1)


ตอนนี้ขอบันทึกย่อ บทความ - เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ คลัสเตอร์ , value chain อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เกี่ยวข้องเอาไว้


- Thailand competitiveness : Key Issues in Five Clusters (Porter)

- Thailand's Competitiveness:Creating the Foundations for Higher Productivity (Porter)

- Clusters and the new economics of competitions (Porter / HBR)

- Clusters and Economic Policy: Aligning Public Policy with the New Economics of Competition (Porter / HBS)

- อนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย

- ทิศทาง - จุดเปลี่ยน - ความท้าทาย ของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย

- แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในรอบปี 2558

- FTAs and the Supply Chain in the Thai Automotive Industry

- Thailand Automotive Cluster

- Thailand Automotive Parts Industry

- Supply chain disruption: sunken ambitions (FT)

- Impact of Thailand Floods on Automotive Industry and Supply Chain


ประเด็นที่น่าคิดต่อ


ภาพแสดงการ "แปลงเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่" จากมุมมองตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจสองแนวทาง


- ความสัมพันธ์ของเครือข่ายบริษัทญี่ปุ่นต่อ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมในไทย (ดู "บริษัทญี่ปุ่นกับการเป็น NIC ของประเทศไทย" ของสุวินัย ภรณวลัย -- เป็นกรอบวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมืองและการขยายเครือข่ายในระดับเอเชียแปซิฟิคของญี่ปุ่น)


ภาพ overcoming the tyranny of distance: the problems of the french national market pp 316-317: Civilization & Capitalism 15th - 18th Century : The perspective of the world, Fernand Braudel


- ดูการขยายตัวเครือข่าย craftman และ trading ในกรอบวิเคราะห์ของ Braudel

หมายเลขบันทึก: 589809เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท