คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 (๑๑๔)


คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ ๒๑

ครูเป็นบุคคลที่สังคมให้ความสำคัญและยกย่อง ครูเป็นบุคคลสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นบุคคลที่ส่งเสริมและสร้างสรรค์การเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพ คุณภาพของผู้เรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพของครู ในบันทึกนี้ ใคร่ขอเสนอลักษะของครูในยุคศตวรรษที่ ๒๑ มาดังนี้

บทบาทของครู

ขอจะต้องเปลี่ยนบทบาทใหม่จากเคยเป็นผู้สอน ผู้ให้ความรู้มาเป็น

๑. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator)

๒. ครูเป็นผู้แนะแนวทาง (guide/coach)

๓. ครูเป็นผู้ร่วมเรียน/ผู้รวมศึกษา (co-learning/co-investigator)

ลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ ๒๑

ดร.อ่องจิต เมธยะประภาส(๒๕๕๗) กล่าวบรรยายว่า "ครูในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมีลักษณะ E-Teacher"ดังนี้

๑. Experience มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่

๒. Extended มีทักษะการแสวงหาความรู้

๓. Expended มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนสู่นักเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. Exploration มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนผ่านทางสื่อเทคโนโลยี

๕. Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธิ์และยุติธรรม และสามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล

๖. End-User เป็นผู้ที่ใช้เทคโนโลยี (user) อย่างคุ้มค่า และใช้ได้อย่างหลากหลาย

๗. Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน

๘. Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยีจนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ เช่น เกิดชุมชนครูบน web

๙. Efficient and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตความรู้ ผู้กระจายความรู้ และผู้ใช้ความรู้

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ได้เสนอทักษะที่จำเป็นสำหรับครูไทยในอนาคต (C-Teacher) ไว้ 8 ประการคือ

๑. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี หากไม่แม่นในเรื่องที่สอนหรือถ่ายทอดแล้ว ก็ยากที่นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ

๒. Computer (ICT) Integration ครูต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับนักเรียน และหากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี

๓. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองได้จากภายในตัวของผู้เรียนเอง โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และทักษะที่ต้องการได้

๔. Connectivity ครูต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนกับครู ครูภายในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา และสถานศึกษากับชุมชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน

๕. Collaboration ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือกันระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะที่สำคัญอื่น ๆ

๖. Communication ครูต้องมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ การนำเสนอสื่อ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะสม

๗. Creativity ในยุคสมัยหน้าครูต้องออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน มากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงเพียงอย่างเดียว

๘.Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อใจ ส่งผลให้เกิดสภาพการเรียนรู้ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสภาพที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด

ดร.พิณสุดา สิริธรังศรี (๒๕๕๗) เสนอรายงานการสังเคราะห์องค์ความรู้ในหัวข้อ"การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ ๒๑" สรุปคุณลักษณะครูไทยที่มีคุณภาพ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

๑. เป็นผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูและผู้ให้

๒. มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้

๓. มีทักษะการสื่อสาร

๔. อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

๕. ตื่นรู้ ทันสมัยทันเหตุการณ์

๖. ตามทันเทคโนโลยีและข่าวสาร

๗. สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน

๘. ใฝ่คว้าและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

๙. เป็นแบบอย่างทางคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรม

๑๐. รู้และเข้าใจในอัตลักษณ์ความเป็นชนชาติไทยที่หลากหลาย

๑๑. ภาคภูมใจในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก

๑๒. ยอมรับและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

๑๓. มีความพร้อมและปรับปรุงต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและประชาคมอาเซียน

คุณลักษณะ ๑๐ ประการของครูดี (Great Teacher) ของสหรัฐอเมริกา

๑. การใส่ใจด้านการสอนและการดูแลนักเรียน

๒. มีการวางเป้าหมายและจุดประสงค์การสอนแต่ละครั้งอย่างชัดเจนและดำเนินการให้บรรลุผล

๓. มีทักษะการจัดการเชิงบวกในห้องเรียน

๔. มีทักษะการจัดการห้องเรียนทีดี

๕. การสื่อสารกับพ่อแม่ผู้ปกครอง

๖. มีความคาดหวังต่อนักเรียนสูง

๗.มีความรู้ด้านหลักสูตรและมาตรฐาน

๘. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน

๙. รักเด็กและรักการสอน

๑๐. มีความเป็นมิตรและความวางใจต่อนักเรียนสูง

คุณลักษณะ ๑๐ ประการของครูสอนดี (Great Teacher) ของรัฐบาลควีนสแลนด์ ออสเตรเลีย

๑. มีทักษะในการอธิบาย

๒. รักการพบปะผู้คน

๓. มีความกระตือรือร้น

๔. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน

๕. มีความเป็นผู้จัดการ โดยเฉพาะด้านเวลา

๖. มีทักษะการทำงานเป็นทีมและความคิดริเริ่ม

๗. สามารถรับความกดดันได้ดี

๘. มีความอดทนและอารมณ์ขัน

๙. รักความยุติธรรม

๑๐. สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก

พิณสุดา สิริธรังศรี.การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ ๒๑. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ"อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย,(๖-๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗)

www.plan.obec.go.th/download/tukmong/presen1.ppt

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0...

หมายเลขบันทึก: 589309เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2015 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2015 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ คุณปภังกร วงศ์ชิดวรรณ ที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณวินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท