การวัดและประเมินผลการศึกษา ๑ : บัณฑิตแห่งความเป็นครู (๑๑๑)


การวัดและประเมินผลการศึกษา ๑ : บัณฑิตแห่งความเป็นครู

..........ผู้เขียนได้ซื้อหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ เป็นหนังสือที่ประทับใจเป็นอย่างยิ่งเพราะอยากได้มานานแล้วเพื่อที่จะมีไว้อ่านและศึกษา หนังสือเล่มนี้คือ "เทคนิคการวัดผล" ของศาสตราจารย์ ดร.ชวาล แพรัตกุล "บิดาแห่งการวัดผลของไทย" พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๒ (ครั้งแรกพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๖) เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าขององค์ความรู้ในด้านการวัดและประเมินผล มีเทคนิคที่สำคัญในการวัดและประเมินผล แม้ว่าจะผ่านมานานก็ยังมีคุณค่าเสมอ "เป็นตำราที่ไม่ตาย"

..........การศึกษาของชาติจะเริ่มต้นที่ "ปรัชญา" หรือความเชื่อของผู้นำว่าต้องการปลูกฝังเยาวชนของชาติให้เป็นบุคคลอย่างไร แล้วกำหนดเป็น "หลักสูตร" เพื่อบอกทิศทางทางการศึกษา มาสู่ครูเพื่อดำเนินการด้วยวิธีต่างๆให้เด็กพัฒนาตามหลักสูตรซึ่งก็คือ "การสอน" ครูทำการสอนไปได้ระยะหนึ่งต้องการรู้ความก้าวหน้าหรือพัฒนาการของเด็กก็ทำ "การสอบ หรือ วัดผล" เมื่อทราบข้อมูลเด็กและบางส่วนมีปัญหาต้องการพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยวิธีการต่างๆคือ "การวิจัย"

..........จะเห็นว่า ปรัชญา หลักสูตร การสอน การสอบหรือวัดผล และการวิจัย ซึ่งท่านศาสตราจารย์ ดร.ชวาล แพรัตกุล เรียกว่า "ศาสตร์ ๕" นั้นจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันกับกระบวนการวัดผลซึ่งถือเป็นภาระของครูโดยเฉพาะ และจัดเป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง "ฉะนั้น ผู้ที่จะตั้งตัวเป็นครู ไม่ตั้งตัวเป็นนักแจวเรือจ้าง จึงจำต้องใฝ่หาเทคนิคใส่ตน ให้เป็นผู้มีความรู้เหนือและแปลกไปกว่าคนสามัญ จึงจะได้รับการยกย่องเชิดชู เยี่ยงอาชีพเทคนิคอื่นๆ" ครูจึงจำเป็นต้องรู้เรื่องราว ศาสตร์ ๕ จึงจะเป็นผู้มี "บัณฑิตย์แห่งความเป็นครู" วิชาครูเป็นวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์

..........ครูจำเป็นต้องรู้หลักการของปรัชญาการศึกษา ควรศึกษาหลักสูตรโดยละเอียดเพราะ"หลักสูตร"กำหนดทิศทางการศึกษา หลักสูตรจะบอกครูว่า สอนให้รู้อะไร เกิดสมรรถภาพหรือพฤติกรรมด้านใดบ้าง การรู้"หลักสูตร"ถือว่าเป็น"บันไดขั้นแรกของเทคนิคการวัดผล"

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ

ชวาล แพรัตกุล. เทคนิคการวัดผล. ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,๒๕๕๒.

หมายเลขบันทึก: 589231เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2015 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ ที่ให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณวินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท