Best Exercises หยุดออฟฟิศซินโดรม


Best Exercises หยุดออฟฟิศซินโดรม

หนุ่มสาวยุคโซเชียลเน็ตเวิร์คเลิฟเวอร์ในปัจจุบันสามารถหาข้อมูลอย่างรวดเร็วฉับไว เพียงแค่คลิกเมาส์เท่านั้น ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จะปรากฏยังหน้าจอ ทำให้ไม่ต้องออกแรงเดินไปไหนให้เมื่อยแต่ความสะดวกสบายนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะทางร่างกาย ทำให้มีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไหล่ คอ หลัง สะบัก ข้อมือ กระบอกตา หรือมีอาการชามือและเท้า ซึ่งเหล่านี้คือการการของ "ออฟฟิศซินโดรม"

ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ โดยเฉพาะช่วงอายุ 16-40 ปีที่ต้องนั่งทำงานตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด หากปล่อยไว้นานกล้ามเนื้อจะเกิดการอักเสบ มีอาการปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ บ่า แบน ข้อมือ บางรายปวดเกร็งอย่างรุนแรงจนหันคอหรือก้มเงยไม่ได้เลย อาการออฟฟิศซินโดรมที่ต้องพึงระวัง ดังนี้

ปวดหลัง เกิดจากการนั่งทำงานหรือยืนนาน ๆ การสวมรองเท้าส้นสูงตลอดทั้งวันโดยจะมีอาการปวดบริเวณบั้นเอวหรือหลังส่วนล่าง หากระหว่างวันต้องยกของหนักด้วยจะทำให้อาการแย่ลง ร่วมกับมีอาการเคล็ด ขัด ยอก ปวดตึงกล้ามเนื้อ บางรายอาการรุนแรงจนไม่สามารถเอี้ยวหรือบิดตัวได้

ปวดตึงคอ บ่า และไหล่ เกิดจาการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมาจากการจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ไม่เหมาะสม เช่นจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับต่ำกว่าสายตา เก้าอี้ไม่มีที่วางแขน ทำให้ต้องเกร็งแขนและไหล่

ยกแขนไม่ขึ้น เป็นผลมาจากการปวดตึงกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล และร้าวลงไปที่แขน เนื่องจากมีพังผืดเกาะ หากปล่อยไว้นานจะทำให้มีอาการไหล่ติดและอาการชาที่มือและนิ้ว

ปวดข้อมือ การกระดกข้อมือขึ้น-ลงช้ำ ๆ เป็นเวลานานทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ การจับเมาส์ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท จนเกิดพังผืดบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดอาการปวดปลายประสาท ชานิ้วมือและทำให้กล้ามเนื้อฝ่ามือลีบลงได้

ปวดตึงขา เกิดจากการนั่ง เดิน หรือยืนนาน ๆ จนกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั่วร่างกายตึง บางรายปวดร้าวลงไปที่เข่าและข้อเท้าด้วย ถ้าไม่ได้รับการบำบัดอาจเกิดอาการปวดร้าวและชาเท้ากับนิ้วเท้าได้

ปวดศรีษะ เกิดจากมีความเครียดสะสม ทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ศีรษะเกร็ง จึงเกิดอาการปวดและมึนศรีษะ โดยมักจะปวดบริเวณขมับทั้งสอบข้างและหลังต้นคอ นอกจากนี้อาจมีอาการตาพร่ามัวซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อรอบ ๆ กระบอกตาเกร็งตัว

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นต้องใช้วิธีผสมผสาน คือ รักษาโดยแพทย์หรือผู้เชียวชาญเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่นการกินยา การฉีดยา การฝังเข็ม การนวด ซึ่งจะทำให้อาการดีขึ้นชั่วคราว อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือพฤติกรรมก่อโรค อาการก็จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก การจะรักษาให้หายจากอาการนี้อย่างถาวรจึงจำเป็นต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ เพื่อทำให้สภาพของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทคืนสู่สภาวะปกติหรือดีกว่าปกติ

รู้กันอย่างนี้แล้ว เริ่มต้นปรับพฤติกรรมกันตั้งแต่วันนี้นะคะ

ที่มา หนังสือชีวจิตนิติยสารรายปักษ์ ปีที่ 17:15 กุมภาพันธ์ 2558 โดย พญ.สุมาภา ชัยอำนวย

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 589204เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2015 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 09:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท