ความเป็นมาของอาเซียน-จีน


อาเซียนกับจีน ได้ลงนามกรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (Framework Agreement on ASEAN -China Comprehensive Economic Cooperation) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 เพื่อเป็นกรอบและแนวทางสำหรับการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ และต่อมาทั้งสองฝ่ายได้สามารถสรุปการเจรจาและลงนามในความตกลงด้านการค้าสินค้าระหว่างอาเซียน-จีน ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยปัจจุบันมีการเปิดเสรีในสาขาต่างๆดังนี้

- การเปิดเสรีการค้าสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน : เริ่มต้นดวยการลดภาษีผักผลไม้ระหว่างกันตั้งแต่ตุลาคม 2546 และทยอยเปิดเสรีสินค้าอื่นๆเพิ่มเติมตามลำดับ โดยนับตั้งแต่ปี 2553 อาเซียนกับจีนได้ยกเลิกภาษีระหว่างกันกว่าร้อยละ 90 ของประเภทรายการสินค้าทั้งหมด ผู้ส่งออกที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกไปจีนต้องขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า FORM E

- การเปิดเสรีการค้าบริการ : เริ่มต้นเมื่อปี 2550 และทยอยเปิดเสรีเป็นรอบๆ โดยปัจจุบันทั้งไทย อาเซียน และจีน ได้ผูกพันเปิดตลาดภายใต้กรอบกฎหมาย โดยให้คนต่างชาติที่เป็นอาเซียนและคนจีนถือหุ้นในธุรกิจบริการบางประเภทได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน และมีเงื่อนไขอื่นตามกฎหมายเฉพาะสาขา ขณะนี้ข้อผูกพันเปิดตลาดบริการชุดที่ 2 ได้มีการลงนามร่วมกันแล้วในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียน-จีน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2554 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยไทย สิงคโปร์ จีน และเวียดนาม บังคับใช้พิธีสารดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 ส่วนมาเลเซียจะบังคับใช้วันที่ 5 ม.ค. 2555 สำหรับประเทศอื่นๆ อยู่ระหว่างกระบวนการให้สัตยาบันเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ข้อผูกพันการค้าบริการชุดที่ 2 ครอบคลุมธุรกิจบริการที่เพิ่มมากขึ้น อาทิ บริการด้านวิชาชีพ การสื่อสาร การก่อสร้าง และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง การจัดจำหน่าย การศึกษา สิ่งแวดล้อม การเงิน การท่องเที่ยวและการเดินทาง นันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา และการขนส่ง เป็นต้น

ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาเซียนกับจีน มีความสัมพันธ์ในการทำการค้าซึ่่งกันและกัน จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันในการช่วยกันพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นหากเราเป็นผู้ที่จะทำการลงทุนในประเทศจีนหรือประเทศในอาเซียนควรทำการศึกษาถึงกฏระเบียบของประเทศนั้นๆด้วย เพื่อจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการทำการค้าภายหลัง

ที่มา : http://www.kasikornbank.com/ChinaTrade/FTAAsianChi...


คำสำคัญ (Tags): #จีน-อาเซียน
หมายเลขบันทึก: 589178เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2015 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2015 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท