มังคละเมืองฝางสวางคบุรี ลมหายใจสุดท้ายของบรรพชน


"ฤๅมรดกโลกทางวัฒนธรรม ที่สืบตระกูลมากว่า ๗๐๐ ปี แห่งเมืองฝางสวางคบุรี กำลังจะล่มสลายในอีกไม่นาน"



Area_map_of_Sukhothai.png (640×391)


ปู่ประชุม วงพินิต อายุ ๗๒ ปี ปราชญ์ภูมิปัญญามังคละเภรีคนสุดท้าย แห่งบ้านพระฝาง ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ บัดนี้ สายตาพร่ามัว หูไม่ได้ยินชัด สังขารทรุดโทรม หาผู้สนใจที่จะสืบสายวิชามังคละโบราณอันเก่าแก่นี้แทบมิได้ กลองมังคละใบสุดท้าย ถูกทิ้งตากลมฝนไว้กลางไร่ ปี่ กลองหลอน กลองยืน กระจัดพลัดพรายไปตามที่ต่าง ๆ จนแทบหาผู้สืบสายวิชาไม่ได้

วงมังคละเภรี คือวงมหาพุทธบูชา ที่พระมหากษัตริย์สุโขทัย ถวายเป็นพุทธบูชาสมโภชพระบรมทันตธาตุพระฝางมาแต่โบราณ

DSCF2010.jpg (640×436)

คนพระฝาง และคุ้งตะเภา ที่ยังใช้สำเนียงถิ่นสุโขทัยโบราณ คือเชื้อสายส่วนหนึ่ง ผู้สืบสายตระกูลตรงจากข้าพระโยมสงฆ์ ที่พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย ถวายขาดไว้ประโคมสมโภชพระมหาธาตุเมืองฝาง และไม่ต้องไปราชการทัพ ดังปรากฏตัวอย่างในจารึกสมัยสุโขทัย จนทำให้ชุมชนรอบพระฝาง ๒ หมู่บ้าน และคุ้งตะเภาหมู่ ๓,๔ ยังคงหลงเหลือผู้ใช้สำเนียงสุโขทัยโบราณสืบมาจนปัจจุบัน

วันนี้ อาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ นักวิชาการประวัติศาสตร์ จากกรุงเก่าสุโขทัย ได้ค้นพบปู่ประชุม วงพินิต มังคละเภรีเมืองฝาง ที่มีประวัติสืบมาแน่ชัดกว่า ๗๐๐ ปี เศษเสี้ยวแห่งวงมังคละสุดท้าย เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตสุโขทัย ที่กำลังจะสิ้นสลาย ประวัติศาสตร์และความยิ่งใหญ่แห่งลูกหลานพระยาพิชัย กำลังจะดับสูญ

"ความภาคภูมิใจในมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ แห่งอาณาจักรสุโขทัย ราชธานีแห่งแรกของสยามประเทศ"

นี่คือภาพความจริงแห่งอดีต ๗๐๐ ปี ที่ฉายชัด ภาพแห่งเสียงอันอึกทึก วงมังคละ เบญจดุริยางค์แท้ ดุจเสียงจากสวรรค์ในโลกมนุษย์ ประโคมสมโภชพระบรมธาตุพระฝาง พระมหาธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่เหนือสุดของอาณาจักรสุโขทัย

สิ่งที่เห็นตรงหน้าในวันนี้ ปู่ประชุม วงพินิต ยืนหยัดอย่างโดดเดี่ยวมากว่า ๗๒ ปี

ด้วยสายตาที่ฝ้าฟาง ด้วยสังขารอันโทรมทรุด

ปู่เคยลุกขึ้นมาซ่อมแซมกลองมังคละเก่าแก่ใบสุดท้าย และนั่งเหงาอยู่ในบ้านเก่า ๆ รอคอยหาผู้สืบทอด เพื่อฝากหน้าที่ประโคมพระบรมธาตุอันยิ่งใหญ่นี้ไว้ก่อนจะสิ้นลม...


11143730_805992286156644_2128138875673199810_n.jpg (576×512)


วันนี้ บ้านยังคงเงียบเหงาเหมือนเคย เสียงใกล้เงียบสนิทลง หัวใจที่อ่อนโรย ดุจผู้สิ้นแล้วซึ่งความหวัง มืออันบอบบาง ลูบคลำไปบนกลองมังคละใบสุดท้ายของเมืองฝาง กับเวลาที่เหลือน้อยลงทุกที...

แม้ไม่ใช่หน้าที่ แต่จิตวิญญาณแห่งคนท่าเหนือ ปลุกให้ต้องลุกขึ้นสู้กับเวลาที่ใกล้จะหมดลง...

ในฐานะของคนเมืองท่าเหนือ ได้เวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะไม่ปล่อยให้ "มหัคฆภัณฑ์มหาพุทธบูชาพระบรมทันตธาตุพระฝาง แห่งพระบรมกษัตริย์กรุงสุโขทัย" ต้องสิ้นสลายไปในชั่วอายุของเรานี้

ลองถามใจตัวเองดูครับ...

----------------------------------

ดนตรีพื้นบ้านมังคละ เป็นการละเล่นพื้นบ้าน มาตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นดนตรีที่สืบทอดมาทางพระพุทธศาสนาจากศรีลังกาเข้าสู่นครศรีธรรมราชและสุโขทัย โดยเฉพาะในรัชสมัยพระยาลิไท อาราธนาและต้อนรับ พระสังฆราชเข้ามาพำนักที่วัดป่ามะม่วงด้วยการปูผ้าแพร 5 สี ให้พระสังฆราชเดินตามขบวนกลองมังคละตั้งแต่ ประตูเมือง ด้านหัวนอนจนถึงวัดที่พำนัก ซึ่งแต่เดิมนั้นกลองมังคละจะเล่นประกอบพิธีอันเป็นมงคลของพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะว่ามังคละ หมายถึง "มงคล" ซึ่งพอจะรวมเป็นสาระสำคัญได้ว่า มังคละนั้นเป็นดนตรีที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อนานกว่า 700 กว่าปีมาแล้ว

วีดีโอครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท