พระผู้ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน​


บทความเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารยุติธรรม ฉบับที่2 เมื่อเดือนธันวาคม 2548-มกราคม 2549 เนื้อหาบางตอน น้องๆเยาวชนรุ่นใหม่อาจยังเข้าไม่ถึง ล้วนเป็นเรื่องดีๆของพระเจ้าอยู่หัวของเรา อย่าหลงลืมประวัติศาสตร์ของชาติไทยนะคะ จึงขอนำมาเผยแพร่อีกครั้ง

พระผู้ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน

เตือนใจ เจริญพงษ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ทรงได้รับพระราชทานนามจาก พระสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ว่า " พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช1 "

ภูมิพล แปลว่าพลังของแผ่นดิน พระนามนี้เสมือนจะบ่งบอกเป็นนัยว่าในภายภาคหน้า

พระองค์จะทรงมีความสำคัญต่อพสกนิกรชาวไทย และ 18 ปี

ต่อมาได้รับอัญเชิญให้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ

เป็น พระมหากษัตริย์ไทย ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3

ใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก (เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์)

กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาล ตะละภัฏ)

ทรงมีพระเชษฐาภคินี 1 พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา

และทรงมีพระบรมเชษฐาธิราช 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล

พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ด้านการศึกษาทรงเริ่มศึกษาวิชาสามัญชั้นต้น

ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อมาทรงเข้าศึกษาชั้นประถมเพ่มเติมที่โรงเรียนเมียร์มองค์

เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนนูเวลล์ เดลลา สวิสโรมางค์

(Novelle de la Suisse Romande) เมืองแซลลีซีร์ โลซานน์

ทรงเข้ารับการศึกษาระดับสูงที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ (Lausanne)

ในแขนงสหวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ แต่ด้วยความจำเป็นที่ต้องรับพระชภาระเป็นพระมหากษัตริย์

จึงทรงเปลี่ยนแนวการศึกษา โดยศึกษาเพิ่มเติมวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์

การปกครอง กฎหมายและอักษรศาสตร์ ซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถในภาษาต่างๆ หลายภาษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์

เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีตามกฎมณเฑียรบาล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

เฉลิมพระปรมาภิไธย

" พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี

จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร"

โดยมีพระปฐมบรมราชโองการว่า

"เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

ทรงผนวชในพระบรมพุทธศาสนา ณ วันบวรนิเวศวิหารได้รับการถวาย

พระสมณฉายานามว่า

"ภูมิพล ภิกขุ" ทรงเข้ารับพิธีราชพิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร

(ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาศิริวัฒนาพรรณวดี

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร

และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 78 พรรษา

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกษัตริย์ผู้เป็นองค์มหาราชา แห่งพสกนิกรของชาวไทย

ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงช่วยเหลือราษฎรในเรื่องต่างๆ

อย่างหาเหน็ดเหนื่อย ประการใดไม่ สมดั่งความหมายของ "ภูมพล"

ที่ว่า "พระผู้เป็นพลังของแผ่นดิน" โดยแท้

ผู้เรียบเรียงขอนำเสนอเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพากันชื่นชมในพระราชจริยวัตรของพระมหากษัตริย์ไทย

พระองค์นี้อย่างหามิได้เช่นกัน ได้แก่เรื่องราวต่างๆ ดังนี้

เมื่อครั้งเสด็จครองราชย์ใหม่ ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปรับพระองค์

เพื่อให้เหมาะสมกับพระสถานภาพใหม่ และเป็นไปตามพระราชกิจของพระองค์ความกระตือรือร้น

ในการทรงงานเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นทรงทุ่มเท อุทิศพระองค์ในเวลาไม่ช้าไม่นาน

ต่อมาในการเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งนี้

ก็ทรงเตรียมพระองค์ที่จะปฏิบัติพระราชกรณียกิจ จะเห็นได้จากพระราชปรารถบางตอน

ที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระราชทานไปยัง ดร.ฟรานซิส บี แชร์ 2

ชาวอเมริกา ผู้ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย

" ฉันพยายามจะไม่ท้อใจทั้งที่บางทีก็เกืยบจะท้ออยู่เหมือนกัน

ตอนที่อยู่ในสวิสแต่ก็รู้ว่าต้อยึดมั่นในสิ่งที่คิดว่าถูกต้องควรทำ มั่นใจเถิดว่าฉันจะพยายามอย่างที่สุด 3"

การปฏิบัติพระราชกิจของพระมหากษัตริย์ไทยมีลักษณะเฉพาะ

เนื่องจากทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแตกต่าง

จากพระมหากษัตริย์ในยุโรปที่กฎหมายกำหนดบทบาทไว้ทั้งในลักษณะและพระราชภาระ

ทั้งนี้เพราะเหตุว่าพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต ทรงไว้ซึ่ง

พระราชอำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาก่อน

เป็นเวลาหลายร้อยปี ไม่ว่าในการปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน

หรือความรู้สึกของประชาชน ซึ่งเทิดทูลพระมหากษัตริย์ดุจดังสมบัติเทพ ความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้

สั่งสมมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน กว่า 700 ปี ของประวัติศาสตร์ชาติไทย

ทรงห่วงในสภาพความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์เป็นอย่างยิ่งตลอดมา

ดังประกฎในกระแสพระราชดำรัส

ที่พระราชทานอยู่เสมอ ดังเช่น ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา

อย่างเป็นทางการ ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2503

ตอนหนึ่งว่า

"รายได้ของประชาชนคนทยคิดเฉลี่ยแล้วคนหนึ่งมีรายได้ประมาณปีละ 100 ดอลล่าร์

ท่านก็คงจะเข้าใจดีว่าอะไรเป็นความจำเป็นอันรีบด่วน

ที่จะต้องจัดการรายได้เพิ่มเติมรายได้

และยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนของข้าพเจ้าให้ดีขึ้น 4"

เมื่อเดือนมิถุนายน 2538 นิตยสารเอเชียวีค ซึ่งได้การยอมรับเชื่อถือทั่วโลก

ได้ตีพิมพ์บทความเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า

ทรงเป็นบุคลดีเด่นระดับต้นๆ ของบุคคลดีเด่น 20 คนของเอเชีย

บทความเฉลิมพระเกียรติมีความตอนหนึ่งว่า

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เอาพระราชหฤทัยใส่ในการหาช่องทางเชื่อเหลือ

ยกฐานะคนในระดับล่างของประเทศ

ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นมาโดยตลอด ทรงมีอิทธิพลต่อการเมือง

โดยมิได้ทรงมิได้เป็นนักการเมือง

ซึ่งทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยังยืนมาแต่โบราณกาล

มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งระบอบประชาธิปไตยที่เจริญก้าวหน้า

และรุ่งเรืองเช่นปัจจุบัน5"

นิตยสารดังกล่าวได้บรรยายถึงพระวิริยะอุตสาหะในการทรงงานหนัก

ตั้งแต่พุทธศักราช 2493 เป็นต้นมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกหนแห่งในประเทศไทย

เพื่อทรงงานด้านสังคมสงเคราะห์และพัฒนาท้องถิ่นกันดาร

พระองค์สนพระหฤทัยเป็นพิเศษ ในการปลูกป่าและการชลประทาน

ที่เกี่ยวกับการเป็นอยู่ของราษฎรโดยตรง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะสนพระหฤทัยในเรื่องเกี่ยวกับประชาชน

และทรงยืนอยู่เหนือการเมือง

พระราชดำรัสที่ เคยพระราชทานแก่นายริชาร์ด นิกสัน

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี แห่งสหรัฐอเมริกา

ระหว่างเยี่ยมเยือนประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย

เมื่อพุทธศักราช 2496 แสดงให้เห็นถึงประจักษ์พระราชปณิธาน

ที่ทรงยึดมั่นมาเป็นเวลานานตราบจน ทุกวันนี้

เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2512 ขณะที่นายริชาร์ด นิกสัน

ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา

ได้นึกถึงเหตุการณ์ที่เขาเคยถามผู้นำประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย

เมื่อสิบหกปีก่อนว่า อะไรเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญก้าวหน้า หลายท่านกล่าวถึงพลังของกองทัพ

ที่มักจะใช้แก้ไขปัญหาภายในประเทศ

บางท่านเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

แต่คำตอบที่ประธานาธิบดีนิกสันประทับใจมากที่สุด

คือ พระราชดำรัสตอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า

"สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดเหนือสิ่งใด ไม่ว่าในเอเชียหรือที่ใดในโลก

คือ ความเข้าใจ 6"

ยังมีผู้ที่ชื่นชมกล่าวสดุดีพระองค์ เช่น

เมื่อพุทธศักราช 2438 สมาชิกวุฒิสภา แมกซ์ โบคัส

ได้กล่าวสดุดีพระเกียรติคุณในรัฐสภาสหรัฐอเมริกากล่าว

"ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศสำคัญประเทศหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

ที่เจริญรุ่งและมั่งคั่ง กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองใหม่เมืองหนึ่งของโลก

และเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ...

ความสำเร็จอย่างน่ามหัศจรรย์หลายด้านนั้น เนื่องมาจากพระปรีชาสามารถ

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการทรงกำกับ

ดูแลทรงนำทางโดยทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง

ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงถึงพร้อมด้วยการให้

การรักษาศิล การเสียสละ ประโยชน์ส่วนพระองค์ ทรงซื่อตรง เที่ยงธรรม

มีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยน

ทรงเพียงเผาความเกียจคร้านทรงตั้งพระราชหฤทัยบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ

ไม่ทรงลุอำนาจความโกรธ

เปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณไม่ทรงใช้ความรุนแรงเพราะอำนาจโลภะ โทสะ โมหะ

มีพระราชจริยวัตรอดทนต่อสิ่งทั้งปวง และทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม นอกจากนี้

ยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นแบบอย่าง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ทรงใช้เวลายาวนานหลายทศวรรษ

ในการช่วยเหลือและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพสกนิกรของพระองค์

ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร

ได้เสด็จทรงไปเยี่ยมราษฎรอย่างสม่ำเสมอทั้ง 73 จังหวัด

เพื่อทรงพบชาวบ้านอย่างใกล้ชิด

ซึ่งปรากฏผลอย่างชัดเจนจากการสาธารณสุขที่ดีขึ้น

และการกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงทุกภาค

ตลอดจนการฟื้นฟูศิลปหัตกรรมและสิ่งทอพื้นบ้าน7"

พระองค์เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจและคุณธรรมของคนไทย

ทั้งชาติอีกทั้งยังเป็นธุระศึกษาปัญหาต่างๆ

อย่างลึกซึ่งลงไปถึงต้นเหตุอย่างไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ดังพระราชดำริที่ว่า

"ในการทำงานช่วยเหลือประชาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักคน

ที่จะช่วยเหลือเป็นอย่างดี8"

"อย่ามาพูดกันดีกว่า เพราะว่าเพราะว่าถ้าทรรศนะของคนหนึ่งมีอย่างหนึ่ง

และทรรศนะของอีกคนหนึ่งมีอีกอย่างหนึ่ง

โดยไม่พยายามปรองดองกัน โดยไม่พยายามหาทางออกที่เหมาะสม

ยิ่งพูดก็ยิ่งยุ่ง ยิ่งทำให้คนอื่นที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่

ดูแล้วขวัญเสีย เด๋ยวนี้พูดกัน เถียงกันอย่าง

ทำให้ประชาชนทั่วไปขวัญเสียไม่ทราบว่าอะไรกันแน่

พื้นฐานของความคิดนั้นมันคนละอย่างทีเดียวแล้วมาเถียงกัน มันเข้ากันไม่ได้

มันคนละเรื่องพุดอย่างทีเขาเรียกกัน

ว่า "พูดกันคนละเรื่องเดียวกัน" ไอ้คำ "พูดกันคนละเรื่องเดียวกัน"

นี้ว่าเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ พูดกันคนละเรื่อง

มันไม่มีทางออกไม่มีผล"9

"สำคัญที่สุด ก็จะได้เห็นว่า การพัฒนาประเทศก็ตามพัฒนาตัวเองก็ตาม

จำเป็นที่จะต้องใช้ความร่วมมือ"10

และ "ต้องทำอะไรตามที่ควร"11

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมการพัฒนาประเทศแบบค่อยเป็นค่อยไป

ด้วยการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรด้วยพระองค์เอง

ในการพระราชทานสัมภาษณ์แก่ เดนิสเกรย์ และบาร์ต แมคเดาเวิลล์

เพื่ออัญเชิญไปลงพิมพ์

ในนิตยสารชื่อ แนทซันเนิล จีโอกราฟฟิก

มีพระราชดำรัสว่าแนวพระราชปฏิบัติของพระองค์ยึดมั่นในประเพณีที่มีมาตั้แต่ดังเดิม

"วิวัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไป เลือกสรรประเพณีที่ดีงามในอดีต

สืบสานและเปลี่ยนแปลงบ้างเป็นบทเรียน

เรานำประเพณีเก่าแก่มาดัดแปลงให้ใช้ในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต"12

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ซึ่งมีอำนาจทางการเมือง และการทหารแต่อย่างใด

และผู้ที่ได้รับพระราชทานกระแสรับสั่งจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้

อีกทั้งยังไม่ได้มีพระราชประสงค์ที่จะทรงมีบทบาททางการเมือง

แต่ในยามที่ประเทศไทยอยู่ในยามวิกฤติ

รัฐบาลก็มักจะหันไปพึ่งพระบารมีทั้งอาจเป็นเพราะไม่มีผู้ใดที่จะแก้ไขสถานการณได้

ไม่เพียงแต่รัฐบาลเท่านั้นที่พึ่งบารมี พระองค์ยังเป็นศูนย์รวมใจให้ประชาชนมีความอันหนึ่งอันเดียวกัน

ดังเรื่องราววิกฤติทางการเมืองครั้งสำคัญสองครั้งในปีพุทธศักราช 2516

และ 2534 ของประเทศไทย

ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวประชาชนหันไปพึ่งพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงชี้ทางออกประการอบ่างละมุนละม่อม

แต่ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ก่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศชาติ

จนถึงขั้นพลิกประวัติศาสตร์เลยทีเดียว

พระองค์ทรงตั้งหมั่นในความมั่นเพียร ปฏิบัติพระราชกิจทุกเรื่องอย่างเติมกำลัง

ไม่ทรงท้อถอยทรงดำรงพระชนมชีพ อย่างเรียบง่ายในขันติธรรมทรงอดทนต่อสิ่งทั้งปวง

และไม่ทรงขัดขวางความปรารถนาของปวงชน

แม้ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย

จะดำเนินมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ทั้งประชาชน

และรัฐบาลก็ยังหวังพึ่งพระบารมีของพระมหากษัตริย์ในทุกๆ เรื่อง

มีความสำคัญระดับชาติและ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ยังทรงสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่

ดังพระราชดำรัส ตอนหนึ่งว่า

"คนไทยไม่จำเป็นต้องตามแบบอย่างประชาธิปไตยของชาติอื่น

แต่ควรจะสร้างประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ของเราเอง

เราพะเรามีวัฒนธรรมประจำชาติและความเห็นเป็นของตัวเอง

สามารถใช้วิจารณญาณของเราเอง"13

"คนไทยเราไม่จำเป็นต้องตามอย่างประชาธิปไตยของชาติอื่น

แต่ควรจะพยายามสร้างประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเราเอง "

...........................................................................................................................................................................

.....................1 เมื่อบรมราชาภิฌษกแล้วเปลี่ยนเป็น "อดุลยเดช"

............... 2 ดร.แชร์ เคยเป็นที่ปรึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่ทรงเชื่อถือมาก ดร.แชร์ เป็นบุตรวิลสัน ของสหรัฐอเมริกาเดินทางมาประเทศไทย

เพื่อกำกับดูแลเรื่องสิทธิสภาพนอก

อาณาเขตระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยเห็นว่า ดร.แชร์

มีความซื่สัตย์สุจริตจึงว่าจ้างให้ทำงานให้รัฐบาลไทย

ในการดูแลรักษาสิทธิภาพนอกอาณาเขตระหว่างไทยกับประเทศในยุโรปต่อมา

ท่านผู้นี้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น

พระยากัลยาณไมตรี ภายหลังรัฐบาลไทยได้ขนานนามถนนระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ

(เดิม) กับกระทรวงกลาโหมว่า

ถนนกัลป์ยาณไมตรี เพื่อเป็นเกียรติ และเป็นอนุสรณ์แห่งคุณแห่งคุณงามความดีของท่าน

..........3พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอดุลยเดช

พระราชทานไปยัง ดร.ฟรานซิส บี แชร์

ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2493

แปลจากบทความเรื่อง The Balancing Act ของ J. Wright Jr.

......... 4พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตัน

เมื่อวัน 29พฤหัสบดี 2503

........ 5เอเชียวีค. มิถุนายน 2538

......... 6 สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีชาร์ด์ เอ็ม นิกสัน

เมื่อครั้งมาเยือนไทย วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2512

......... 7 สุนทรพจน์สดุดีพระเกียรติคุณ โดยสมาชิกวุฒิสภาแมกซ์ โบคัส

: Tribute to King Rama IX of Thailand วันที่ 9 มิถุนายน 2538

......... 8 พระราชดำรัสพระราชทานในงานกาลาดินเนอร์ของสโมสรโรตารีแห่งประเทศไทย

ณ ห้องณภาลัย โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันจันทร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พุทธศักราช2513

......... 9 พระราชดำรัสพระราชทานแก่บุคคลที่เข้าเฝ้า ฯ

ถวายพระพรไชยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา วันที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2536

......... 10 พระราชดำรัสพระราชทาน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พุทธศักราช 2516

. ........ 11 พระราชดำรัสพระราชทาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2533

......... 12 พระราชดำรัสเป็นภาษาอังกฤษ นิตยสาร National Geographic

เล่มที่ 162 ฉบับที่ 4 ตุลาคม พุทธศักราช 2525

.........13 สำนักราชเลขาธิการ A Memori of Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailamd

บริษัท โรพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด. 2530. หน้า 47

................................................................................................................................................

บทความเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารยุติธรรม ฉบับที่2 เมื่อเดือนธันวาคม 2548-มกราคม 2549 เนื้อหาบางตอน น้องๆเยาวชนรุ่นใหม่อาจยังเข้าไม่ถึง ล้วนเป็นเรื่องดีๆของพระเจ้าอยู่หัวของเรา อย่าหลงลืมประวัติศาสตร์ของชาติไทยนะคะ จึงขอนำมาเผยแพร่อีกครั้ง



ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท