การเติบโตของจีนและผลกระทบต่ออาเซียนและไทย


การมองว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนจะเป็นผลดีต่ออาเซียน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกเป็นการมองตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่อย่างง่าย ๆ มากไปหน่อย เราต้องพิจารณาให้ดีว่า จะเป็นผลบวกและผลลบอย่างไรและที่ว่าเป็นประโยชน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออก,ผู้สั่งเข้า,ผู้ร่วมลงทุน หรือต่อประชาชนทั่วไป จีนองก็จะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ คนที่ได้รับผลลบคือภาคเกษตร ที่ล้าหลังยากจนและเคยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจะแข่งขันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น โดยเฉพาะจากประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐไม่ได้, พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งขณะนี้มีถึง 70% ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมจะถูกเลิกจ้างเพราะการยุบเลิก,การแปรรูป,ปรับโครงสร้างใหม่ แต่จีนต้องการพัฒนาอุตสาหกรรม แบบทันสมัยจึงยอมเปิดรับบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

การมองว่า ถ้าจีนกับอาเซียนหรืออาจจะรวม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (อาเซียน + 3) รวมกันเป็นเขตการค้าเสรี จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่มหึมาในแง่ประชากร และผลิตภัณฑ์มวลรวมนั้น เป็นการมองแบบคิดเอาในเชิงสถิติเท่านั้น ความจริงก็คือ จีนกับอาเซียนผลิตสินค้าหลายอย่างใกล้เคียงกัน จึงเป็นคู่แข่งกัน โดยปริยาย ปัจจุบันจีนกับอาเซียนมีการลงทุนและค้าขายกันน้อย เมื่อเทียบกับที่ทั้งจีนและอาเซียน มี การลงทุนและค้าขายกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม 3 กลุ่มใหญ่ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นด้านหลัก หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จีนกับอาเซียนจะลงทุนและค้าขายระหว่างกันมากขึ้น แต่การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก หมายถึง จีนจะเปิดรับการลงทุน และการค้ากับประเทศทั่วโลก

แหล่งอ้างอิง:http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/01-01-03.html

คำสำคัญ (Tags): #จีนกับอาเซียน
หมายเลขบันทึก: 588800เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2015 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2015 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท