เส้นทาง PBL แห่งการเปลี่ยนแปลง ๒


หน้าสอง


LLEN ปีที่ 2 พร้อมเคลื่อน

.........ในเส้นทางของการเรียนรู้ ไม่มีวันที่จะจบสิ้น เเต่จะมีสายทางที่เมื่อเดินถึงฝั่ง จะเห็นถนนที่ยาวขึ้นไปอีกเสมอ เช่นเดียวกับโครงงานที่เด็กๆเขาทำ เมื่อมีปีที่ 1 เเล้วย่อมมีปีที่ 2 ต่อยอดของรุ่นพี่ เเละคอยพัฒนาตนเอง สังคมอยู่เรื่อยๆ โครงการ LLEN ของมหาสารคาม ดำเนินมาถึงปีนี้เป็นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2554 "ปีนี้ล่ะ ที่เราในฐานะความเป็นครู จะโค้ชเด็กอย่างเอาจริง" (ครูบอก) จากปีที่เเล้วเราบูรณาการเพียง สาระวิชาสังคมศึกษาปีนี้เรา บูรณาการทั้งหมด 8 วิชาหลัก เพื่อที่จะไม่ปิดกั้นความคิดของเด็กๆว่า ต้องเป็นโครงการสังคมเท่านั้น เเต่ "โครงงานเดียว เรียนได้หลายวิชา" อยากไปถามใคร อยากทำเรื่องอะไร สามารถทำได้เลย เเต่มีขอบข่ายให้เข้าใจตรงกันอยู่ว่า เป็นประเด็นของสิ่งเเวดล้อมเป็นหลัก เพื่อให้ทุกๆโครงงานเกิดการเเก้ไขปัญหารอบข้างตัวเอง ด้วยนวัตกรรมหรือผลงานที่ตนเองสร้างขึ้น

..........ไม่นานนักเเละเเล้ว LLEN ปี 2 ของเราก็เริ่มต้นขึ้น คราวนี้ขับเคลื่อนเด็กมัธยม ม.3 อีกเช่นเคย เเต่ก่อนที่จะให้เด็กทำโครงงาน เด็กต้องมีเเรงบันดาลใจในการทำโครงงานเสียก่อน ครูจึงให้เด็กๆได้ชมภาพเเละคลิปวีดิโอการทำโครงงานของรุ่นที่พี่จบ ม.3 ไปเเล้ว ผลปรากฏว่า เด็กให้ความสนใจ เเละอยากที่จะต่อยอดรุ่นพี่เป็นจำนวนมาก ครูจึงมีโจทย์ให้เด็กๆ กลับก่อนไปคิดประเด็น คือ จะทำอย่างไรให้ต่อยอดผลงานของรุ่นพี่ได้ เเละจะต่อยอดให้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยคำนึงถึงศักยภาพของเราด้วย ระยะเวลาที่ครูเเบ่งให้เด็กๆทำโครงงาน คือ ช่วงเเรกให้เเนงบันดาลใจ ให้เวลาคิดหัวข้อโครงงาน เวลาในการนำเสนอเค้าโครง เวลาในการลงมือทำ เวลาในการติดตามงาน เเละเวลาในการเปิดโลกโครงงาน

..........เด็กๆให้ความสนใจในงานรุ่นพ่หลายๆโครงงาน เเละส่วนใหญ่ ไม่ได้เเต่อยอดเเต่คิดหัวข้อโครงงานขึ้นมาเอง ปีนี้โครงงานก็มีหลายประเภทอีกเช่นเคย อาทิ ประดิษฐิ์ ทดลอง ทฤษฎี ฯ โครงงานประดิษฐิ์ เช่น เรือขวดน้ำ(ต่อยอดรุ่นพี่) จักรยานเก็บขยะ บันไดไม้ไผ่ รถหยอดปุ๋ย ชุดรีไซเคิล เป็นต้น โครงงานทดลอง เช่น การทำธูปหอมไล่ยุง การเลี้ยงไข่ การทำปุ๋ยหมักอย่างเร็ว เป็นต้น โครงงานสำรวจ เช่น สำรวจชุมชนบ้านตนเอง เป็นต้น โครงงานทั้งหมดเหล่านี้ เมื่อคิดมาเเล้วต้องผ่าน กระบวนการที่เรียกว่า การนำเสนอเค้าโครงงานก่อนเป็นอันดับเเรก จากการนำเสนอเค้าโครงก็มีครู เเละอาจารย์จำนวนหนึ่ง ให้คำชี้เเนะ เเนะนำ เเละคอยตั้งคำถาให้คิดถึงว่าเราจะทำอะไร ทำอย่างไร ใครที่จะได้รับผลประโยชน์ของเราบ้าง ฯ ซึ่งโครงงานทั้งหมด ได้นำคำเหล่านั้น ไปปรับปรุงงานของตนเองเพื่อทำต่อไป

..........ในช่วงเวลาที่ให้เด็กๆทำโครงงาน ครูมีวิธีการติดตามโครงงานผ่านการพุดคุยในห้องเรียนบ้าง ในการสื่อสารผ่านการสังคมออนไลน์บ้าง เพราะทุกๆโครงงานประสบปัญหาคล้ายเเละต่างกันออกไป ปัญหาเชิงสังคมที่เกิดขึ้น เช่น เพื่อนไม่ช่วย หนูทำคนเดียว ครูจึงเเก้ไขปัญหานี้โดยการให้พวกเขาจับเข่านั่งคุยกันให้ความเป็นเพื่อนสานสัมพันธ์ เข้าหากัน ปัญหาเชิงวิธีการทำงานที่เกิดขึ้น เช่น โครงงานผมมีปัญหาว่า เมื่อผมสร้างมาเเล้ว มันไม่เป็นไปตามที่ผมคิดทำยังไงดี เราทำโครงงานจักรยานเก็บขยะ เมื่อสร้างออกมาเเล้ว มันกลายเป็นคนละอย่างกันเลย เมื่อครูได้ยินดังนั้น จึงให้เด็กกลุ่มนี้เข้าไปถามผู้ที่มีความรู้เรื่องการประดิษฐิ์/งานช่างดู เช่นเข้าไปถาม ครูวิรัตน์ หมวดวิทยาศาสตร์ดู หรือครูวัชรากรก็ได้ หรือถามช่างที่อยู่เเถวบ้านก็ได้ เพราะว่าท่านเหล่านี้จะสามารถตอบคำถามเรื่องนี้ได้ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นอีกอย่าง คือ ทำยังไงดี ผมทำปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรเร็ว ผมรู้เเต่เนื้อหา ผมไม่ค่อยได้ปฏิบัติเลย ไม่รู้ว่าวัสดุอันไหน มีประโยชน์อย่างไร ครูจึงให้ไปถามผู้รู้เรื่องนี้ คือ ครูทองปาน หรือครูเกษตร หรือไปศึกษาใน Google ดูเผื่อจะได้รู้อะไรเพิ่มเติมอีกหลายๆอย่าง เเละปัญหาเชิงทักษะ เช่น การเขียนเค้าโครงที่อ่านเเล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง ครูเเก้ไขโดยวิธีการให้เอาเค้าโครงมาตรวจสอบเเล้วเเนะให้เด็กๆไปเขียนอีกครั้ง ให้ ชัดเจน ภาษาเป็นคำที่อ่านเข้าใจง่าย

..........ระหว่างที่เด็กๆกำลังลงลุยกันอยู่นั้น ครูก็พยายามที่ขับเคลื่อนเรื่อง PLC (professional learning communit) ซึ่งใพยายามให้ครูหลายวิชาในระดับมีส่วนร่วมมากที่สุด ซึ่งคุยวิธีการร่วมกันว่า "ครูใช้วิธีการสอนเบบไหนก็ได้ เเต่แกนหลักต้องสอนเเบบโครงงาน" โดยการเรียกประชุม การให้เด็กๆไปหาครูที่ปรึกษาที่เขาสามารถปรึกษาได้ในเรื่องที่เขาเขาทำ เเละให้ทุกวิชามีส่วนคะเเนนโครงงานของเเต่ละวิชาต่างหากด้วย หรือเรียกอย่างง่ายว่า ให้ครูๆมีส่วนร่วมในการให้คะเเนนเด็กๆในชิ้นงานของเขาด้วย เมื่อเราจะเขียนโครงงานก็ไปหาครูที่สอนวิชาภาษาไทยว่ามีหลักการเขียนอย่างไร เมื่อเขาประสบปัญหาการทำก็ไปถามผู้ที่รู้ ใครก็ได้ ปราชญ์ชุมชน หรือครู หรือคนเฒ่าคนเเก่ในชุมชนที่รู้เรื่องนี้ เพราะการศึกษาไม่จำเป็นว่าต้องไปถามครูเท่านั้น เเต่ความจริงเเล้ว "ครู คือ ทุกๆคนที่ให้ความรู้กับเรา"

..........เด็กๆเล่าว่าเมื่อเขาได้มาทำโครงงาน เขาเกิดการเปลี่ยนรู้ ในตัวของเขาขึ้น เห็นในหลายๆสิ่งหลายๆ อย่าง เช่น 2 คนนี้
นายธีระวุฒิ ศรีมังคละ (เเสน) เล่าว่า การทำโครงงานทำให้เขาได้รู้ว่า จินตนาการ กับความเป็นจริง ในบางครั้งมันก็เเยกออกจากกัน เพราะเราสามารถคิดว่าจะสร้างอะไรยังไงได้บ้าง เเต่เมื่อกลับมามองความเป็นจริงเเล้ว อาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิ โดยเฉพาะเรื่องวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานประดิษฐิ์ "มันไม่ง่ายเลย" เพราะทุกสิ่งไม่ได้สำเร็จรูปมาให้เราสร้าง การทำโครงงานจักรยานเก็บขยะนี้ จึงเกิดปัญหาขึ้นนหลายๆอย่าง เช่น ด้านการเชื่อมเหล็ก ด้านน้ำหนัก ด้านการทรงตัว ด้านงบประมาณ สำคัญ คือ เรื่องงบประมาณ เพราะต้องใช้ทุนเยอะ เมื่อใช้ทุนเยอะครูจึงบอกว่า ลองไปขอความอนุเคราะห์ งบจากโรงเรียนดูสิ" เขาจึงไปทำเรื่องเอกสารราชการขอซึ่งในขณะนั้นเขาก็ทำทุกๆอย่างเป็นครั้งเเรกเหมือนๆกัน สุดท้ายพอสร้างเสร็จ เขารู้สึกภูมิใจงานชิ้นงานมาก เเม้ว่าผลงานที่ออกมามัยจะต้องพัฒนาต่อไปอีกเยอะก็ตาม จากที่ทำโครงงานเขาเล่าว่า ผม เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการพูดนำเสนอ ทักษะการเเก้ไขปัญหา เเละทักษะในการสื่อกับผู้ใหญ่ ฯ

นายเกียรติพล พลศิริ (ก๊อต) เล่าว่า การที่ได้ทำโครงาน โครงงานเป็นเหมือนวิชาหนึ่งที่รวมได้ในหลายวิชา หรือ ทำงานอย่างเดียวเเต่เรียนได้หลายวิชา ผมทำโครงงาน การทำเจลล้างมือ ระว่างที่ผมทำโครงงาน เเต่ก่อนนั้น ผมไม่เคยรู้เรื่องเลยว่า ทำโครงงานทำอย่างไร อยู่เเต่ว่า ต้องทำส่งครู ซึ่งต้องไปหาข้อมูลมาจากอินเตอร์เน็ต เมื่อผมได้มาทำโครงงานชิ้นนี้ ทำให้ผมรู้ว่า โครงงาน ต้องเรียนรู้จากปัญหาเพื่อที่จะเเก้ไขมัน เจลล้างมือของผม ที่เเรกๆผมคิดว่ามันง่าย เเต่เมื่อทำไปจริงๆเเล้วนั้น มันก็มีความยากในตัวของมันอยู่ เพราะมันต้องเป็นเจลที่ไม่มีน้ำล้างมือก็ได้ ซึ่งโจทย์หลัก คือ จะทำอย่างไรให้มันใช้ได้ดี หอมด้วย สะอาดด้วย เเละไม่เหนียวติดมือด้วย ผมพยามถามพี่ๆเเละเพื่อนๆทุกๆคนเเละหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะทำให้มันออกมา ใช้ล้างมือได้ รู้สึกดีที่สุด จากที่ผมได้ทำโครงงานผมได้ฝึกทักษะสำคัญ คือ ทักษะการพูด เพราะผมไม่ค่อยจะพูดเป็นทางกรอย่างนี้กับใครสักเท่าไร มาทำงานนี้ผมได้พูดได้นำเสนอเยอะมาก เเละมีความกล้าที่จะถามเมื่อเกิดความสงสัยมากยิ่งขึ้น

..........เเละเเล้วการดำเนินงานมาเดินมาจนถึงการเปิดโลกโครงงานครั้งที่ 2 จัดในรูปแบบของการประกวดเล็กๆในโครงงาน ประดิษฐิ์ ทดลอง เเละสำรวจ ซึ่งในเเต่ละรูปแแบบก็จะมีความเป็นตนเองของโครงงานเเตกต่างกันออกไปของตัวเด็กๆ ผลที่เกิดขึ้นในงานนี้ทำให้ครู เกิดความสุขเล็กๆว่า เด็กๆของเราก็สามารถทำได้ขนาดนี้ ภูมิใจที่เราเป็นสว่นหนึ่งที่ทำให้กิจกรรมดีๆนี้เกิดขึ้นมาได้

..........ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงของ LLEN ปีที่ 2 คือ ครูเราส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ ไม่กล้า เเละไม่มั่นใจที่จะสอนเเบบโครงงานเพราะรู้สึกกลัวว่า จะสอนออกมาได้ไหม จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ครูเพ็ญศรี กำลังพัฒนาให้ PLC ในระดับเคลื่อนไปด้วยกันมากที่สุด ในการเรียนรู้เเบบโครงงานในปีที่ 2 นี้ เห็นภาพรวม คือ เด็กๆเราเริ่มต้นมาจากเเรงจูงใจของพี่ๆ เเละเกิดจากเเรงบันดาลใจของตัวเขาเองในการทำโครงงาน เมื่อทำโครงงานเเล้วเกิดปัญหา/อุปสรรคเกิดขึ้นให้เขาได้เรียนรู้ เขาเรียนรู้จากปัญหาสู่ปัญญา สู่ความสำของเขาที่ภาคภูมิใจ เเละ "ครูคอยพยายามที่จะเสริมกำลังใจไปด้วย เสริมทักษะการคิดไปด้วย ให้เขาได้ลงมือทำ"

.

.

หมายเลขบันทึก: 588784เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2015 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2015 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท