การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฉุกเฉิน


การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฉุกเฉิน

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตร็ค [Cerebrovascular diease (CVD) or Stroke] เป็นโรคทางระบบประสาทที่สาเหตุอาจมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตันหรือแตก ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเหตุให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติไป และทำให้เกิดการทำลายของเซลล์สมองก่อให้เกิดการสูญเสียการทำหน้าที่ของร่างกายที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่

โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งได้ตามสาเหตุของการเกิดโรคและตามลักษณะทางคลินิก ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.1 โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด (ischemic stroke) เป็นชนิดที่พบมากที่สุดพบได้ร้อยละ 80

1.2 โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการมีเลือดออก (hemorrhagic stroke) พบได้ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด

อาการของภาวะเลือดออกในสมอง พบได้ดังนี้

1. ปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยจะพบมากในกลุ่มที่มีก้อนเลือดขนาดใหญ่

2. อาเจียนพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยภาวะความดันภายในกะโหลก ศีรษะสูง

3. ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไปโดยทั่วไปจะสัมพันธ์กับขนาดของก้อนเลือดและความดันในกะโหลกศีรษะ

4. การระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง (Meningism) ซึ่งจะพบอาการคอแข็งเกร็ง อาจพบได้ในบางรายที่มีก้อนเลือดแตกเข้าไปใน ventricle หรือมีเลือดออกที่ subarachnoid ร่วมด้วย

5. อาการตามตำแหน่งต่างๆของสมอง เช่นอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก (hemiplegia)

การรักษาจำเพาะของโรคหลอดเลือดสมอง

การให้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy) เมื่อเกิดการอุดกั้นที่หลอดเลือดสมอง ยาละลายลิ่มเลือดที่ใช้ได้ผลในปัจจุบันได้แก่ Recombinant tissue Plasminogen Activator (R-tPA) ผลสำเร็จของการรักษาจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในผู้ป่วย ischemic stroke ที่ได้รับR-tPA ภายใน 3 ชั่วโมงแรกหลังจากมีอาการ การพิจารณาอย่างรอบคอบในการให้ R-tPA ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยในช่วงเวลา 3 – 4.5 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการแสดง

การรักษาจำเพาะโดยการผ่าตัด การรักษาจำเพาะในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง คือการการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเลือดออก

ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดกรณีที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มี cerebral hemorrhage ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 3 เซนติเมตรและมีอาการทางระบบประสาทเลวลง, ผู้ป่วยที่ก้อนเลือดเกิดเนื่องจากการแตกของหลอดเลือดที่ผิดปกติ เช่น aneurysm และ arteriovenous malformation เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง:

จตุพงษ์ พันธ์วิไล, ภูพิงค์ เอกะวิภาต & สายสมร บริสุทธิ์. (2555). การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเบื้องต้นในระยะฉุกเฉินสำหรับพยาบาล. วารสารการแพทย์, 27 (1), 53-64.

อภิฤดี จิวะวิโรจน์ & ณิชาภัตร พุฒิคามิน. (2556). การศึกษาความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูสภาพ,วารสารประสาทวิทยาศาตร์, 8(2), 26-34.

หมายเลขบันทึก: 588673เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2015 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2015 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท