ปรากฎการณ์ธรรมชาติ และ อิทัปปจยตา ใน หิน


เมื่อศึกษาวัตถุอย่างเช่นหินในเปลือกโลกก็จะพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่แน่นอน
และในระยะเวลาที่เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมักใช้เวลาเล็กน้อยแตกต่างกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง
อย่างฉับพลัน ทำให้เกิดภัยภิบัติโลก การถูกกระทำโดยแรงไม่ว่าจะเป็นแรงหรือความดัน ก็จะทำให้
เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอยู่เสมอแบบไร้ระเบียบที่สามารถอธิบายได้

การเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ทิศทาง การวางตัว รูปทรงสัณฐาน ทั้งกายภาพ และ เคมี ลักษณะการเปลี่ยนแปลง
ทำให้เกิดรอยแยก รอยแตกเฉือน รอยเลื่อน หินคดโค้ง ริ้วขนาน แนวแตกเรียบ โครงสร้างแนวเส้น เขตรอยเฉือน
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแบบนี้ทำให้เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือ อนิจจัง

วัฏจักรของหิน (Rock cycle)[1] หมายถึง "การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง 3 ชนิด จากหินชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งหรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมอีกก็ได้ กล่าวคือ เมื่อ หินหนืด เย็นตัวลงจะตกผลึกได้เป็น หินอัคนี เมื่อหินอัคนีผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนจนกลายเป็นตะกอนมีกระแสน้ำ ลม ธารน้ำแข็ง หรือคลื่นในทะเล พัดพาไปสะสมตัวและเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน อันเนื่องมาจากแรงบีบอัดหรือมีสารละลายเข้าไปประสานตะกอนเกิดเป็น หินชั้นขึ้น เมื่อหินชั้นได้รับความร้อนและแรงกดอัดสูงจะเกิดการแปรสภาพกลายเป็นหินแปร และหินแปรเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจนหลอมละลาย ก็จะกลายสภาพเป็นหินหนืด ซึ่งเมื่อเย็นตัวลงก็จะตกผลึกเป็นหินอัคนีอีกครั้งหนึ่งวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏจักรของหิน กระบวนการเหล่านี้อาจข้ามขั้นตอนดังกล่าวได้ เช่น จากหินอัคนีไปเป็นหินแปร หรือจากหินแปรไปเป็นหินชั้น"

จากคำอธิบายวัฎจักรของหิน พบว่าธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นอนิจจัง ก้อนหินทุกก้อนมีภาวะแฝงแห่งการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่แน่นอน และไม่ได้เป็นไปตามใจใคร การเกิดธรณีภัยภิบัติหลายครั้งเช่น สินามิ แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งไม่สามารถทำนายและคาดการณ์ได้ถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง การตั้งถิ่นฐานบนโลกนี้ เป็นการวัดดวงไม่แน่นอนสำหรับสิ่งก่อสร้างถาวรทั้งหลาย ดังนั้นภูมิปัญญาโบราณของไทย เช่นบ้านไม้ไผ่ สอดคล้องกับภูมิอากาศ และ ภัยภิบัติ คือสามารถสร้างใหม่ได้ทันที มีความเย็นสบาย รับมือกับความไม่แน่นอนทั้งหลายของโลก

แรงอีกประการหนึ่งที่กระทำต่อเปลือกโลก นั่นคือ การตกของหินอุกาบาต การตกของหินอุกาบาต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถึงระดับสูญเผ่าพันธ์เลยทีเดียว ดังเช่นการเปลี่ยนแปลงต่อผิวโลกคือเกิดหลุมยุบขนาดใหญ่ ถึงทำลายล้างไดโนเสาร์ให้สูญพันธ์ไป

ความไม่แน่นอนเหล่านี้ทำให้เชื่อได้ว่า ทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่แน่นอนไม่เป็นดังใจ สอนเราว่าไม่มีอะไรมั่นคงจริง ๆ จัง ๆ
การยินดีและเตรียมพร้อมต่อความไม่แน่นอน ต่อความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า วิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆมุ่งที่
สร้างผลิตภาพให้กับระบอบทุนนิยม ที่ทำลายสภาพนิเวศ สร้างกำไร ปล่อยของเสีย ทำอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้น นั่นคือมหาภัย
ร้ายแรงที่ค่อย ๆ ทำลายสังคมมนุษย์และทำลายธรรมชาติให้สิ้นไป จินตนาการของวิทยาศาสตร์ก็มองเห็นในส่วนนี้ เช่นจินตนาการ
จะไปอยู่บนดวงจันทร์ ดาวอังคาร กัน ซึ่งภัยภิบัติที่สำคัญที่สุดนี้ก็คงเกิดจากอารยธรรมทุนนิยม บูชาเงินและตัวเลขด้านความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ จะนำวิกฤตทางสิ่งแวดล้อม เป็นมหาภัยภิบัติที่ซ้ำเติมนอกเหนือจากภัยธรรมชาติ อีกไม่นานแล้ว


คำสำคัญ (Tags): #ดิน หิน แร่
หมายเลขบันทึก: 588445เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2015 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2015 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thanks for this excellent info.

More please ;-)

เห็นแล้วรู้แล้ว..สงบ..เย็น..หมดสภาวะ..ทุกขัง..อนัตตา...อันเป็นสัจจธรรม...สาธุๆๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท