เพิ่มเติมความรู้


กิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ทุกๆวัน และเมื่อมีโอกาส

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอกิจกรรมที่ผมเติมความรู้ ความเข้าใจให้กับนักศึกษารังสีเทคนิค ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการเติมความรู้จากการฝึกงาน

เรื่อง การทดสอบรังสีกระเจิงด้วยแผ่นรับภาพดีอาร์ (DR; Digital radiography)

ในการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ รังสีหลักที่ใช้ในการสร้างภาพ เรียก รังสีปฐมภูมิ (primary radiation) ส่วนรังสีที่กระทบกับผู้ัป่วยและสะท้อน หรือ กระเจิงออกบริเวณรอบๆผู้ป่วย เรียก รังสีทุติยภูมิ (secondary radiation) หรือ รังสีกระเจิง (scatter radiation)


รังสีกระเจิงนี้ จะเกิดขึ้นมากหรือน้อย ขึ้นกับหลายๆปัจจัย เช่น อำนาจทะลุทะลวงของรังสี ปริมาณรังสี ชนิดของวัตถุที่รังสีตกกระทบ เป็นต้น


เพื่อให้นักศึกษาเห็นและเข้าใจมากขึ้น จึงได้สร้างการทดลองนี้ขึ้นมา

1. จัดวางแผ่นรับภาพ ( DR; สีเทา วางบนเตียง อยู่ใกล้ๆนักศึกษา) ห่างออกจาก บริเวณลำรังสีปฐมภูมิ ระยะประมาณ 50 เซนติเมตร



พร้อมกับวาง Marker บอกตำแหน่งบนแผ่นรับภาพ

R ใกล้หลอดเอกซเรย์

L ไกลหลอดเอกซเรย์



จากนั้น...

ถ่ายภาพรังสีด้วย พารามิเตอร์ ดังนี้ คือ 65 kV and 1 mAs



ภาพถ่ายรังสีที่ปรากฎออกมา

แสดงให้เห็นภาพของ Marker ตำแหน่งที่ใกล้และไกลจากหลอดเอกซเรย์ ได้

นั่นหมายถึง มีรังสีกระเจิง ออกจากลำรังสีปฐมภูมิ แล้วมาตกกระทบบนแผ่นรับภาพ จริง


ภาพตัวอักษร R มีความชัดเจนมากกว่าตัวอักษร L

แสดงให้เห็นว่า... รังสีที่กระเจิงออกจากลำรังสีปฐมภูมิในปริมาณที่แตกต่างกัน บริเวณใกล้หลอดเอกซเรย์ มีปริมาณมากกว่า บริเวณที่ไกลจากหลอดเอกซเรย์


นอกจากนี้...

ยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอุปกรณ์รับภาพระบบดิจิทัล แผ่นนี้ว่า สามารถรับรังสีพลังงานต่ำๆ แล้วนำมาสร้างเป็นภาพขึ้นมาได้


นี่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ทุกๆวัน และเมื่อมีโอกาส ครับ




หมายเลขบันทึก: 588393เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2015 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2015 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านมาทั้งหมดชอบคำ "รังสีกระเจิง" มาก เห็นภาพเชียวค่ะ

ภาพการ์ตูน ที่ผมวาด เพื่อใช้ประกอบการบรรยายรังสีกระเจิง ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท