การวางแผนเกษียณ


FCC_photo_retire.png

คุณอยากใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างไร ?

เมื่อทำงานด้วยความมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรตลอดมา อยากให้ลองวาดภาพของตนเองหลังเกษียณจากการงานดูบ้าง ทุกคนล้วนใฝ่ฝันที่จะใช้ชีวิตสบาย ๆ มีเงินพอใช้จ่าย มีสุขภาพดี และมีเวลาว่างสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นความสุขของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการอยู่บ้านกับลูกหลาน ดูแลสัตว์เลี้ยง ทำสวน ทำงานอดิเรกที่ชอบ เดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน พบปะสังสรรค์กับเพื่อนเก่า หรือทำงานช่วยเหลือสังคมตามที่กำลังและโอกาสเอื้ออำนวย

การใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข จำเป็นต้องมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสร้างความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ โดย
ไม่เป็นภาระของลูกหลาน

น่าเสียดายที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณเป็นเรื่องของคนอายุมาก ใกล้เกษียณ ทั้งที่จริงแล้ว การเกษียณสุขต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าในระยะยาวตั้งแต่เริ่มต้นทำงานเลยทีเดียว การวางแผนเมื่อใกล้เกษียณ นอกจาก
จะลำบากและต้องกดดันตัวเองมากกว่าการเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้ว ยังอาจไม่ทันการณ์อีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณตั้งใจที่จะออมเงินให้ครบ 1 ล้านบาทสำหรับไว้ใช้หลังเกษียณ และสมมติว่าอัตราผลตอบแทนจาก
เงินออมและเงินลงทุนเฉลี่ยเท่ากับ 5% ต่อปี (เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์)

ถ้าคุณเริ่มออมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 31 ปี คุณออมเพียงปีละ 15,000 บาท (หรือเดือนละ 1,250 บาท) คุณจะมีเงินครบ
1 ล้านบาทเมื่ออายุ 60 ปี โดยเป็นเงินออม 450,000 บาท และที่เหลืออีกประมาณ 600,000 บาท เป็นการทำงานของดอกเบี้ย

แต่ถ้าคุณเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปี คุณต้องออมถึงปีละ 75,000 บาท (หรือเดือนละ 6,300 บาท) เพื่อให้มีเงินครบ 1 ล้านบาท
เมื่อเกษียณ โดยเป็นการทำงานของดอกเบี้ยเพียง 240,000 บาทเท่านั้น

FCC_Retise_img6.png


4 รู้...สู่การเกษียณสุขฃ

1.การวางแผนสู่การเกษียณอย่างมีความสุข เริ่มต้นจากประเมินสถานการณ์หลังเกษียณของตนเอง ดังนี้

รู้รายรับต่อเดือน แหล่งที่มา และความมั่นคงของรายรับ เช่น

ข้าราชการ จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ และเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

พนักงานบริษัทเอกชนจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม

เงินออมที่ได้เก็บหอมรอมริบมาตลอดชีวิตการทำงาน บวกกับผลประโยชน์จากการนำเงินไปลงทุน

2.รู้รายจ่ายต่อเดือน เทียบกับรายรับที่คาดว่าจะได้รับ

ส่วนใหญ่แล้ว ค่าใช้จ่ายประจำหลังเกษียณมักจะลดลง ซึ่งประเมินกันว่า ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณจะประมาณ 70% - 80% ของค่าใช้จ่ายต่อเดือนก่อนเกษียณ เช่น หากก่อนเกษียณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะประมาณ 21,000 – 24,000 บาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมเงินเฟ้อ และค่ารักษาพยาบาลที่อาจเพิ่มขึ้นตามวัย

ดังนั้น การเริ่มต้นบันทึกรายรับ-รายจ่ายเสียตั้งแต่วันนี้ จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ในปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ และค่าใช้จ่ายรายการใดจะลดลงหรือหมดไป เมื่อเกษียณแล้ว

3.รู้หลักประกันความมั่นคงทางการเงิน

เช่น สวัสดิการที่เบิกได้ และความคุ้มครองของประกันสุขภาพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันจะไม่กระทบกับจำนวนเงินที่จำเป็นสำหรับใช้จ่ายประจำ หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ครอบคลุมเพียงพอ ควรพิจารณาออมหรือซื้อประกันเพิ่มเติม

4.รู้ปัจจัยที่อาจมีผลต่อรายรับ-รายจ่าย

อาทิ อัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ ลูกหลานที่อาจนำพาความเดือดเนื้อร้อนใจมาให้ เป็นต้น

การออม การลงทุน เพื่อการเกษียณสุข

ควรออม ก่อนใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน โดยออมเงินสำหรับการเกษียณให้ได้อย่างน้อย 10% ของรายได้ หากรายได้เพิ่มขึ้นก็ควรออมเพิ่มขึ้น และไม่ควรนำออกมาใช้จนกว่าจะเกษียณควรแบ่งเงินออมเพื่อเกษียณบางส่วนไปลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้


ที่มา: http://www.1213.or.th/th/moneymgt/retire/Pages/retire.aspx

หมายเลขบันทึก: 588295เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2015 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2015 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท