Shunrei
นักศึกษากิจกรรมบำบัด จุฑามาศ เก๋ ยิ่งยง

The Effects of a Complex Exercise Program with the Visual Block on the Walking and Balance Abilities of Elderly People (โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับการปิดตา เพื่อส่งเสริมการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ)


ผู้สูงอายุมีปัญหาและโรคมากมายที่เข้ามา ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องการเดินและการทรงตัวมากจาก ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายใน คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา(muscle strength of Lower Extremity) สายตา(visual) ความรู้ความเข้าใจ(cognitive) การรับความรู้สึก(sensory)

ปัจจัยภายนอก คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น ห้องน้ำอาจจะลื่นล้มได้เพราะพื้นลื่น


จากตารางข้างบนสรุปว่า

การทรงตัว(Balance) มีระบบรับความรู้สึกที่สำคัญ 3 ตัว คือ

1.visual sense (การรับความรู้สึกทางสายตา) ใช้ในการมองกะระยะทาง มองสิ่งรอบๆตัว

2.vestibular sense (ระบบรักษาสมดุลทางการทรงตัว) การรับรู้การทรงตัว รับรู้ตำแหน่งของศีรษะและร่างกายที่สัมพันธ์กับพื้นผิวโลก

3.somatosensory system ระบบรับความรู้สึกทางร่างกาย จากการสัมผัส(touch) เป็นการรับความรู้สึกภายนอก(superficial sensation) และการรับความรู้สึกของเอ็นและข้อต่อ(proprioceptive) เป็นการรับความรู้สึกภายใน(deep sensation)

จากตารางข้างบนสรุปว่า

จากการศึกษา พบว่ามีการวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง(stroke) สำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก(Rehabilitation of hemiplegia patients) เกี่ยวกับด้านการทรงตัว(balance)

ขั้นตอน

ให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก


จากตารางข้างบนสรุปว่า

โปรแกรมการออกกำลังกาย ใช้เวลา 30 นาที 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 วันทั้งหมด 4 สัปดาห์ (ทั้งหมด 20 ชั่วโมง)

ลักษณะโปรแกรม

-เรียนรู้การทรงตัวอย่างปลอดภัย 5 นาที

-ยืดกล้ามเนื้อ(Stretching) 10 นาที

-พัก 3 นาที

-เดินบนลู่วิ่งหรือปั่นจักรยาน 10 นาที

-พัก 3 นาที

-เดินบนสายพานที่มีสิ่งกีดขวาง(โดยมีผู้ช่วยหรือผู้ดูแลค่อยดูแล) 10 นาที

จากตารางข้างบนสรุปว่า

เครื่องมือที่ใช้ในการวัด

  • 1.The 10 Meter Waking test (10MWT) ใช้ในการวัดความเร็วในการเดินในระยะ 10 เมตร
  • 2.The Stair Up/Down Test(SUDT) ใช้ในการวัดการเดินขึ้นลงบันได
  • 3.The Berg Balance Scale(BBS) ใช้ในการวัดการทรงตัว
  • 4.The Vestibular Stepping Test(VST) ใช้ในการวัดการรับรู้ทางการทรงตัว
  • 5.The Proprioception Test(PT) ใช้ในการวัดการรับรู้ข้อต่อ

จากตารางข้างบนสรุปว่า

ผลการวิจัย

พบว่า ในกลุ่ม Visual Block(VB) มีการเพิ่มขึ้นของแบบประเมิน The 10 Meter Waking test (10MWT) The Vestibular Stepping Test(VST) และThe Proprioception Test(PT)

สรุปได้ว่า กลุ่มVB มีการเพิ่มขึ้นของความเร็วในการเดิน(gait speed) การรับความรู้สึกทางการทรงตัว(Vestibular) และการรับความรู้สึกทางข้อต่อ(Proprioception)

ในกลุ่ม Visual Permission(VP) มีการเพิ่มขึ้นของแบบประเมิน The 10 Meter Waking test (10MWT) และThe Proprioception Test(PT)

สรุปได้ว่า กลุ่มVP มีการเพิ่มขึ้นของความเร็วในการเดิน(gait speed) และการรับความรู้สึกทางข้อต่อ(Proprioception)

กล่าวคือ เมื่อผู้ป่วยปิดตาจะมีการทำงานเพิ่มขึ้นในส่วนของ vestibular และProprioceptive ส่วน gait speed เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกาย โดยมีการเพิ่มการควบคุมการทรงท่า(postural control) และความสามารถในการทรงตัว(balance ability) ของผู้สูงอายุ

โปรแกรมการออกกำลังกาย ช่วยส่งเสริมด้านความเร็วในการเดิน(gait speed) โดยมีการเพิ่มขึ้น ของ กำลังกล้ามเนื้อ(muscle strength) ความทนทานในการออกกำลังกาย(endurance) การทำงานของระบบรับความรู้สึกทางข้อต่อ(proprioceptive function)

ข้อจำกัดในงานวิจัย

ลักษณะงานวิจัย ในงานวิจัยเป็นประชากรกลุ่มเล็ก และไม่สามารถนำมาใช้ในบริบทจริงได้เพราะไม่สามารถควบคุมเรื่องนอกเหนือจากโปรแกรมการฝึกได้

สรุปผลกรวิจัย

โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับการปิดตาช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัว ความเร็วในการเดินและการรับความรู้สึกทางการทรงตัว

Model PEOP ทางกิจกรรมบำบัด ที่ใช้ในการวิจัยนี้

P-บุคคล(Person)- ผู้สูงอายุ (Internal factor)

E-สิ่งแวดล้อม(Environment)-สภาพแวดล้อมภายนอก (External factor)

O-กิจกรรม(Occupational)-การเดินและการเคลื่อนย้าย (mobility and transfer)

P-ความสามารถ(Performance)-ป้องกันการหกล้ม(Falling) และเพิ่มคุณภาพชีวิต (Quality of life )


ปล. บทความฉบับนี้เป็นบทความ(Journal) ของกายภาพบำบัด(Physical therapy)

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความฉบับนี้


หมายเลขบันทึก: 587874เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2015 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2015 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท