ข้าวพันธุ์พื้นเมืองกินแล้วอายุยืน


ผมชอบคุยกับพ่อแม่ถามเรื่องต่างๆ พ่อแม่ก็จะเล่าเรื่องราวต่างๆ ครั้งปู่ย่าให้ฟัง

แม่เล่าว่าเมื่อครั้งผมยังไม่เกิดที่หมู่บ้านมีคนอยู่กันเต็มไปหมด พ่อแม่ปู่ย่าตายายลูกหลานเหลนรวมแล้วหลังคาละสิบคนได้
มีโรคระบาดอหิวาต์ท้องร่วงฝีดาษตายไปไม่น้อยต้องย้ายบ้านแตกบ้านหลายครั้ง จนมีหลักฐานเช่นคุ้มน้อย บ้านน้อยอยู่ในปัจจุบัน
คนที่รอดก็ดำเนินชีวิตกันต่อไป แม่บอกว่าสมัยนั้นมีคนแก่อายุ 90 ถึง 100 ขึ้นเยอะมาก หลังคาบ้านไหนก็มีคนแก่อายุเก้าสิบ
ช่วงเข้าพรรษาเข้าวัดจำศีลกันเต็มศาลา ผ่านมาถึงวันนี้รวมหกสิบปีทั้งหมู่บ้านเหลือคนแก่อายุเกิน 90 ปีอยู่สองสามคน
ประกอบกับคนในหมู่บ้านก็เริ่มน้อยลงสิบในร้อยหลังคาปิดตายเพราะอพบพไปหากินในเมืองหลวงอีกสิบอยู่กับหลานเพียงลำพัง
ประเด็นสำคัญที่ผมอยากกล่าวถึงอยู่ตรงคำถามว่า

"ทำไมคนสมัยนั้นถึงได้อายุยืนยาวจังทั้งที่การแพทย์หมอพยาบาลยังเข้าไม่ถึง โรคระบาดก็เยอะ"

ผมลองเปิดอ่านหาข้อมูลโดยทั่วไปบอกว่าอายุเฉลี่ยของมนุษย์ยืนยาวขึ้น ปัจจุบันอายุขัยเฉลี่ยของชายไทยอยู่ที่ 68-70 ปี
มองที่ค่าเฉลี่ยคงไม่ผิดเพราะเมื่อก่อนอย่างบ้านผมเสียชีวิตจากโรคระบาดกันมาก ตัวอย่างเช่นคนที่รอดมีอายุ 75, 85 และ 95 ปี
คนตายก่อนอายุเพียง 6 ขวบ ค่าเฉลี่ยอายุขัยของสี่คนนี้เท่ากับ 65 ปี ผมมองไปที่คนที่มีอายุยืนยาวที่สุดที่มีอายุเก้าสิบปีขึ้นไป
ถ้าคิดตามที่ผมบอกว่าทุกหลังคาเรือนมีคนสิบคนเป็นคนแก่อายุ 90 ปีหนึ่งคนหมายถึงมีคนแก่อายุมากคิดเป็น 10% คือร้อยละสิบคน

สำรวจดูตามปัจจัยต่างๆ ว่าเพราะอะไรทำให้คนในวันนั้นมีอายุยืนยาว วิถีการดำเนินชีวิตประเพณีทัศนคติความคิดสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ผืนดินฤดูกาลยังคงเดิม น้ำดื่มสมัยผมยังเด็กเราดื่มน้ำจากบ่อดิน น้ำสีฟ้ารสออกเปรี้ยวหวาน ตักใส่หม้อดินเผาหรือแอ่งดินตั้งใต้กระท่อมประเพณีวัฒนธรรมการละเล่นยังคงมีมาเหมือนเดิม กินเหล้าเฮฮาสนุกสนานเหมือนกัน ทำงานหนักทำงานเบาคนสมัยก่อนหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
อยู่ปีละหลายเดือนน่าจะเจ็บป่วยกระดูกทับเส้นง่ายกว่าคนสมัยนี้ วันนี้ที่หมู่บ้านผมมีคนผ่าตัดด้วยโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทหลายสิบคนแล้วอะไรที่มันต่างกันละ อาหารการกิน ลาบก้อยซกเล็กเลือดสดๆ ปลาร้าปลาจ่อมคนอีสานกินมาไม่ทราบว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ยังดูไม่ต่างกันยุคก่อนอีสานเขียวน้ำประปาไม่มี หน้าแล้งน้ำจะล้างยอดผักสักหยดไม่มี เด็ดมายังไงก็กินอย่างนั้น มีกระด้งแทนตู้กับข้าวฝาชีแล้วอะไรอีกละที่คิดว่าต่างกัน "ข้าว วันนี้คนอีสานเปลี่ยนจากกินข้าวเหนียวมากินขนมปัง" ไม่ใช่อย่างนั้น "เพราะกินพืชผักพื้นบ้าน" ก็มส่วน เพราะกินพืชผักพันธุ์พื้นบ้านไม่มียาไม่มีสารเคมี "พันธุ์พื้นบ้าน" พันธุ์พื้นบ้านๆ ผมมาหยุดตรงคำว่าพันธุ์พื้นบ้าน พันธุ์พื้นบ้านทำไมมีอะไร


เมื่อก่อนปู่ย่าตายายที่หมู่บ้านผมกินข้าวเหนียวพันธุ์ที่เรียกว่า ข้าวพม่าลำต้นสีเข้มเมล็ดใหญ่ลายๆ ข้าวป้องแอ้ว ข้าวอีน้อยนางนวล ข้าวก่ำ ข้าวเจ้ามีข้าวเจ้าแดงต้นเตี้ยปลูกไว้ทำขนมจีนเมื่อถึงงานบุญ ข้าวพวกนี้ล้วนเป็นข้าวป่าพันธุ์พื้นบ้านพันธุ์พื้นเมืองทั้งนั้น พืชผักอื่นๆก็ข้างรั้วหรือจะเป็นเพราะตาทวดกินข้าวพันธุ์พื้นเมืองพวกนี้จึงได้มีอายุยืนยาวกัน ก็อย่างอื่นเทียบกันแล้วไม่มีอะไรที่ดีเท่ายุคสมัยนี้ได้เลย ผมว่าน่าสนใจนะครับ ขณะที่วันนี้เรากำลังเร่งตามหาคำว่าธรรมชาติ ดั้งเดิม ออร์แกนิค พันธุ์พื้นเมือง อินทรีย์ ปลอดสารพิษ พอเพียงหรืออื่นๆ ข้าวหอมมะลิสอดคล้องกับคำเหล่านี้ เนื่องจากเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ดั้งเดิม ไม่ผ่านการปรุงแต่งปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีสมัยใหม่ไม่ผสมข้ามพันธุ์จากประโยคที่คัดมาจากวิกิพิเดีย "หากย้อนไปในอดีตยังไม่มีใครรู้จักข้าวหอมมะลิ เรารู้จักแต่ข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์เบาเป็นข้าวพื้นเมืองที่พบและรู้จักกันใน อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ฯลฯ"

ดังนั้นเราเพียงใส่วิธีการปลูกแบบออร์แกนิค อินทรีย์ปลอดสารลงไปก็จะตอบโจทน์เราได้ทันที ผลพลอยได้คือได้การค้ากลุ่มเพื่อสุขภาพ ผลดีข้างเคียงได้กินข้าวที่หอมนุ่มและรสชาดดี ส่วนกินแล้วจะอายุยืนตามสมมติฐานหรือไม่ท่านผู้อ่านก็พิจรารณาด้วยเหตุด้วยผลกันครับ ส่วนตัวผมเริ่มจะเชื่อแบบนั้นแล้ว จากนี้ไปผมจะพยายามกินข้าวหอมมะลิหรือข้าวพืชพันธุ์พื้นเมือง(บริสุทธิ์)ต่างๆ ให้บ่อยขึ้นให้มากขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีอายุยืนยาวไม่เจ็บไม่ไข้ไม่เป็นภาระใครตามอย่างตาทวดหลายๆ ท่านบ้าง อยู่ไปนานๆ อยู่เพื่อดูโลกไปเรื่อยๆ ครับ

จากคำบอกเล่าจากหลักความจริงจากการสังเกตุเห็น พืชพรรณที่มีการปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ถ้ายืนยันว่ากินไปอีกสามสิบปีไม่มีผลเสียไม่มีผลข้างเคียงแน่นอนก็ยินดี ถ้ามีแต่โฆษณาว่าอุดมไปด้วยสารนั้นสารนี้ไม่มีไม่ระบุว่าอีกหลายปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อกิน เข้าไปแล้วผมขอเลือกกลับไปหาพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมดีกว่าดีกว่า ผมอ่านเจอว่าทุกวันนี้คนอีสานนอกจากมะเร็งแล้วยังเป็นเบาหวานกันเยอะมาก เหมือนจะบอกว่าเพราะคนอีสานชอบกินสุกๆดิบๆ หรือเพราะกินข้าวเหนียว ก็ข้าวเหนียวเป็นอาหารของคนอีสานแล้วจะให้ทำอย่างไรกินข้าวเหนียวกันต่อไปแต่ผมขอเปลี่ยนกลับไปเป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองนะครับ

เมื่อมีความเชื่อเช่นนั้นก็หาซื้อมาหุงต้มกินกัน





เริ่มจากข้าวลืมผัวข้าวพันธุ์พื้นเมืองสารพันประโยชน์ที่มีภาพข่าวให้เห็นบ่อยๆ
ข้าวลืมผัวกิโลกรัมละห้าสิบบาทเป็นราคาที่ไม่สร้างภาระกับทั้งสองฝ่าย สั่งซื้อจากผู้ปลูกโดยตรงจากอีสาน






ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองอีกพันธุ์ซื้อมาจากพี่น้องทางจังหวัดตากในราคากิโลกรัมละสี่สิบบาททั้งข้าวกล้องข้าวขัด



ข้าวเหนียวข้าวขาวพันธุ์พื้นเมือง ต้นใหญ่ต้นสูงรวงใหญ่ให้ผลผลิตต่อไร่มาก เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นธันวาคม
ซื้อมาจากจังหวัดตากเหมือนกันครับ ผู้ปลูกเรียกชื่อต่อๆ กันมาว่าข้าวเหนียวอีขาวใหญ่ ผมซื้อเป็นข้าวสารในราคาสามสิบบาทต่อกิโลกรัมลองนึ่งดู เหมือนข้าวเหนียว กข6 แต่ไม่มีกลิ่นหอมไม่มีรสหวานเท่าข้าว กข6

ผมหามาได้เท่านี้ พันธุ์อื่นๆ หาเพิ่มได้จะมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ ครับปีนี้ทั้งปีผมก็จะกินข้าวหอมมะลิที่มีและข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองที่ซื้อมา พันธุ์ไหนอร่อยก็กินต่อไม่อร่อยก็เปลี่ยนหาพันธุ์ใหม่ครับจากที่ได้อ่านได้พบได้เห็นผมพยายามให้มันเกิดขึ้นจริงกับชีวิตของตัวเอง วันนี้สิ่งนั้นได้เกิดขึ้นกับผมแล้วผมได้กินข้าวพันธุ์พื้นเมืองแล้วครับและยังมีเกษตรกรที่รอขายข้าวพวกนี้อยู่ลองหาซื้อมากินกันดูนะครับเผื่อจะดีจริงตามที่ผมว่าไว้หรือตามที่หลายๆ คนหลายๆ บทความเขียนไว้เล่าไว้ว่าข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษสารพันธ์ประโยชน์ กินข้าวเป็นยา ฯลฯ



หมายเลขบันทึก: 587637เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2015 06:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท