ลุงเหมย
ข้าราชการครูบำนาญ นายชุมพล บุญเหมย

พระปริตธรรม ตอน โมรปริตร



โมรปริตร คือ ปริตรของนกยูง เป็นพระปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า แล้วน้อมพระพุทธคุณมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มีประวัติว่า.....สมัยหนึ่งพระโพธิสัสตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง อาศัยอยู่บนเขาทัณฑกหิรัญบรรพตในป่าหิมพานต์ พระโพธิสัตว์ได้เพ่งดูพระอาทิตย์ในเวลาพระอาทิตย์อุทัย แล้วร่ายมนต์สาธยายสองคาถาแรกว่า...อุเทตะยัง เป็นต้น แล้วจึงออกแสวงหาอาหาร ครั้นกลับจากการแสวงหาอาหารในเวลาอาทิตย์อัสดง ก็เพ่งดูพระอาทิตย์พร้อมกับร่ายมนต์สาธยายสองคาถาหลังว่า...อะเปตะยัง เป็นต้น นกยูงทองจึงแคล้วคลาดจากภยันตรายทุกอย่างด้วยมนต์บทนี้

วันหนึ่งพรานป่าจากหมู่บ้านใกล้เมืองพาราณสีได้พบนกยูงทองโดยบังเอิญ จึงบอกความนั้นแก่บุตรของตน ขณะนั้นพระนางเขมาเทวีพระเจ้าพาราณสีทรงพระสุบินว่า พระนางเห็นนกยูงทองแสดงธรรมอยู่ จึงกราบทูลพระสวามีว่า...ทรงประสงค์จะฟังธรรมของนกยูงทอง ท้าวเธอจึงรับสั่งให้พรานป่าสืบหา พรานป่าที่เคยได้ยินคำบอกของบิดาได้มากราบทูลว่า นกยูงทองมีอยู่จริงที่เขาทัณฑกหิรัญบรรพต ท้าวเธอจึงมอบหมายให้เขาจับนกยูงทองมาถวาย

พรานป่าคนนั้นเดินทางไปป่าหิมพานต์ แล้ววางบ่วงดักนกยูงทองไว้ทุกแห่งในที่แสวงหาอาหาร แม้เวลาผ่านไปถึง ๗ ปี เขาก็ยังจับไม่ได้ เพราะนกยูงทองแคล้วคลาดบ้าง บ่วงไม่แล่นบ้าง จนในที่สุดพรานป่าคนนี้ก็ต้องเสียชีวิตอยู่ในป่านั้น ส่วนพระนางเขมาเทวีก็ทรงพระประชวรสิ้นพระชนม์ เพราะเสียพระทัยที่ไม่สมประสงค์ พระเจ้าพราราณสีจึงทรงพิโรธ ใด้รับสั่งให้จารึกอักษรลงในแผ่นทองว่า...ผู้กินเนื้อนกยูงทองที่เขาทัณฑกหิรัญบรรพต จะไม่แก่ ไม่ตาย ....ต่อมาภายหลังพระองค์สิ้นพระชนม์ พระราชาองค์อื่นที่ครองราชย์สืบต่อมาได้พบข้อความนั้น จึงส่งพรานป่าไปจับนกยูงทอง แต่ไม่มีใครสามารถจับได้ กาลเวลาได้ล่วงเลยจนเปลี่ยนพระราชาถึง ๖ พระองค์

ครั้นถึงสมัยพระราชาองค์ที่ ๗ พระองค์ก็รับสั่งให้พรานป่าหหหไปจับนกยูงทองนั้นอีก พรานคนนี้ฉลาดหลักแหลม สังเกตุการณ์อยู่หลายวันก็รู้ว่า....นกยูงทองไม่ติดบ่วงเพราะมีมนต์ขลัง ก่อนจะออกหาอาหารก็จะทำพิธีร่ายมนต์ จึงไม่มีใครสามารถจับได้ เขาคิดว่าจะต้องจับนกยูงทองก่อนที่จะร่ายมนต์ จึงได้นำนางนกยูงตัวหนึ่งมาเลี้ยงให้เชื่อง แล้วนำไปปล่อยไว้ที่เชิงเขา โดยดักบ่วงอยู่ใกล้ ๆ จากนั้นได้ทำสัญญาณให้นางนกยูงรำแพนส่งเสียงร้อง พระโพธิสัตว์เมื่อได้ยินเนียงนางนกยูง ก็ลืมสาธยายมนต์คุ้มครองคน เผลอตัวบินไปหานางนกยูงโดยเร็ว จึงติดบ่วงของนายพรานที่ดักไว้ นายพรานป่าจึงได้นำพระโพธิสัตว์ไปถวายพระเจ้าพาราณสี

เมื่อพระโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระเจ้าพาราณสีแล้ว ได้ทูลถามว่า...เพราะเหตุใดพระองค์จึงจับหม่อมฉันมา...ท้าวเธอตรัสว่า " เพราะมีจารึกว่าผู้กินเนื้อนกยูงทอง จะไม่แก่ ไม่ตาย"

พระโพธิสัตว์ทูลว่า " ผู้กินเนื้อหม่อมฉัสนจะไม่ตาย แต่หม่อมฉันจะต้องตายมิใช่หรือ

ท้าวเธอตรัสว่า " ถูกแล้ว เจ้าจะต้องตาย "

พระโพธิสัสตว์ทูลว่า " เมื่อหม่อมฉันจะต้องตาย แล้วผู้ที่กินเนื้อหม่อมฉันจะไม่ตายได้อย่างไร " ท้าวเธอตรัสว่า..." เพราะเจ้ามีขนสีทอง จึงทำให้ผู้ที่กินเนื้อเจ้าไม่ตาย "

พระโพธิสัตว์ทูลว่า " หม่อมฉันมีขนสีทองก็เพราะภพก่อนเคยเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในพระนครพาราณสีนี้ ได้รักษาเบญจศีลเป็นนิจและชักชวนให้ราษฎรรักษา "

หลังจากนั้นพระโพธิสัตว์ได้ทูลเรื่องที่พระองค์เคยฝังราชรถที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่สระมงคลโบกขรณี พระเจ้าพาราณสีได้รับสั่งให้ไขน้ำออกจากสระแล้วกู้
ราชรถขึ้นมา จึงทรงเชื่อคำพระโพธิสัตว์ หลังจากนั้น พระโพธิสัตว์ได้ถวายโอวาทพระราชาให้ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท แล้วก็บินกลับไปยังป่าหิมพานต์ตามเดิม

อุเทตะยัง จักฺขุมา เอกะราชา หะริสฺสะวัณฺโณ ปะถะวิปฺปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสฺสามิ หะริสฺสะวัณฺณัง ปะถะวิปฺปะภาสัง

ตะยาชฺชะ คุตฺตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพฺพะธัมฺเม เต เม นะโม แต จะ มัง ปาลายันฺตุ

นะมัตฺถุ พุทฺธานัง นะมัตฺถุ โพธิยา นะโม วิมุตฺตานัง นะโม วิมุตฺติยา

อิมัง โส ประริตฺตัง กัตฺวา โมโร จะระติ เอสะนา.....

— อะเปตะยัง จักฺขุมา เอกะราชา หะริสฺสะวัณฺโณ ปะถะวิปฺปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสฺสามิ หะริสฺสะวัณฺณัง ปะถะวิปฺปะภาสัง

ตะยาชฺชะ คุตฺตา วิหะเรมุ รัตฺติง —

เย พฺราหฺมะณา เวทะคู สัพฺพะธัมฺเม เต เม นะโม แต จะ มัง ปาลายันฺตุ

นะมัตฺถุ พุทฺธานัง นะมัตฺถุ โพธิยา นะโม วิมุตฺตานัง นะโม วิมุตฺติยา

อิมัง โส ประริตฺตัง กัตฺวา โมโร วาสะมะกัปฺปะยิ.....

ก็จบไปแล้ว ๓ ตอนแล้วนะครับ....บันทึกไว้ด้วยนะ เอาไว้สวดเพื่อป้องกันภัยต่าง ๆ ตามที่มีคติเกริ่นไว้ข้างต้นบทสวด ต่อไปก็จะเป็นตอนที่ ๔ อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งก็มีตำนานของที่มาพระมงคลสูตรนี้ด้วย ขเอชิญสดับคำพรรณาที่ได้คัดลอกมาน้อมกราบท่านดังนี้ครับ

อาฏานาฏิยปริตร คือ ปริตรของท้าวกุเวร ผู้ครองนครอาฏานาฏา เพราะเป็นพระปริตรที่ท้าวกุเวรได้นำมากราบทูลพระพุทธเจ้า ประปริตรนี้กล่าวถึงพระนามของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น รวมทั้งอ้างอานุภาพพระพุทธเจ้าและเทวานุภาพมาพิทักษ์ให้มีความสวัสดี มีประวัติว่า......สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชกูฏ แขวงกรุงราชคฤห์ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรฐ , ท้าววิรุฬหก , ท้าววิรุฬปักษ์ , และท้าวกุเวร ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าในมัชฌมยามแห่งราตรี ขณะนั้นท้าวกุเวรได้กราบทูลว่า....อมนุษย์บางพวกเลื่อมใสพระองค์ บางพวกไม่เลื่อมใส แต่ส่วนใหญ่มักไม่เลื่อมใส เพราะพระองค์ตรัสสอนให้ละเว้นจากอกุศลกรรม มี ปาณาติบาต เป็นต้น แต่พวกเขาไม่สามารถจะละเว้นได้ จึงไม่พอใจคำสอนที่ขัดแย้งกับความประพฤติของตน เมื่อภิกษุไปปฏิบัติธรรมในป่าเปลี่ยว อมุษย์เหล่านั้นอาจรบกวนได้ จึงขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องคุ้มครอง คืออาฏานาฏิยปริตรไว้ แล้วประทานแก่พุทธบริษัทเพื่อสาธยายคุ้มครองตน และเพื่อให้อมนุษย์เกิดความเลื่อมใสพระศาสนา หลังจากนั้นท้าวกุเวรได้กราบทูลเป็นคาถาว่า....วิปัสฺสิสฺสะ จะ นะมัตถุ เมื่อท้าวมหาราชเหล่านั้นเสด็จกลับแล้ว พระพุทธเจ้าจึงนำมาตรัสแก่พุทธบริษัทในภายหลัง
อาฏานาฏิยปริตรที่ปรากฏในฑัฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีทั้งหมด ๕๓ พระคาถา แต่พระปริตรที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นบทสวดที่โบราณจารย์ปรับปรุงเพิ่มเติมในภายหลัง โดยนำคาถามาจากพระบาลี ๖ บทแรก แล้วเพิ่มคาถาอื่นที่กล่าวที่กล่าวถึงพระพุทธคุณและเทวานุภาพ เพื่เป็นสัจจวาจาพิทักษ์คุ้มครองผู้สวด สำหรับคาถาสุดท้าย ( ข้อ ๒๘ ) นำมาจากในคัมภีร์ธรรมบท ผู้รู้บางท่านกล่าวว่าพระเถระชาวสิงหลในสมัยก่อนเป็ดนผู้ปรับปรุงเพิ่มเติมพระปริตรนี้

๑. วิปัสฺสิสฺสะ จะ นะมัตฺถุ จักขุมันฺตัสฺสะ สิรีมะโต
สิขิสฺสะปิ จะ นะมัตถุ สัพฺพะภูตานุกัมฺปิโน

๒. เวสฺสะภุสฺสะ จะ นะมัตฺถุ นะหาตะกัสฺสะ ตะปัสฺสิโน
นะมัตฺถุ กะกุสันฺธัสฺสะ มาระเสนาปะมัทฺทิโน

๓. โกนาคะมะสัสฺสะ นะมัตฺถุ พฺราหฺมะณัสฺสะ วุสีมะโต
กัสฺสะปัสฺสะ จะ นะมัตฺถุ วิปฺปะมุตฺตัสฺสะ สัพฺพะธิ

๔. อังคีระสัสสฺสะ นะมัตฺถุ สักฺยะปุตฺตัสฺสะ สิรีมะโต
โย อิม้ง ธัมฺมัง เทเสสิ สัพฺพะทุกฺขะปะนูทะนัง

๕. เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสฺสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณาถะ มะหันตา วีตะสาระทา

๖. หิตัง เทวะมะนุสฺสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชฺชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง

๗. เอเต จัญฺเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏิโย
สัพเพ พุทธาสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา

๘. สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชฺเชหุปาคะตา
สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัง ฐานะมุตฺตะมัง

๙. สีหะนาทัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา
พฺรัหฺมะจักกัง ปะวัตเตนฺติ โลเกอัปฺปะฏิวัตฺติยัง

๑๐. อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฺฐาระสะหิ นายะกา
พาตฺติงสะลักขะณูเปตา สีตานุพฺยัญชะนาธะรา

๑๑. พฺยามัปฺปะภายะ สัปฺปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา

๑๒. มหัปฺปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา

๑๓. ทีปา นาถา ปะติฏฺฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
คะตี พันธู มะหัสฺสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน

๑๔. สะเทวะกัสฺสะ โลกัสฺสะ สัพเพ เอเต ปะรายะณา
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตฺตะเม

๑๕. วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา

๑๖. สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
เตหิ ตฺวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะยะเภหิ จะ

๑๗. สัพพะโรคา วินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกฺกันโต นิพพุดต จะ ตุวัง ภะวะ

๑๘. เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตฺตาพะเลนะ
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ

๑๙. ปุรัตถิมัสฺมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ

๒๐. ทักขิณัสฺมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มหิทธิกา
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ

๒๑. ปัจฉิมัสฺมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ

๒๒. อุตตะรัสฺมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ

๒๓. ปุรัตถิเมนะ ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรูฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง

๒๔. จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสฺสิโน
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะดรเคนะ สุเขนะ จะ

๒๕. อากาสัฏฐา จะ ภูมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเขนะ สุเขนะ จะ

๒๖. อิทธิมันโต จะ เย เทวา วะสันตา อิธะ สาสะเน
เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะดรเคนะ สุเขนะ จะ

๒๗. สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัตฺวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ

๒๘. อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

ก็เป็นอันว่า....อาฏานาฏิยปริตร.....ก็ได้เอวังไปอีกบทหนึ่ง....อย่าลืมจดบันทึกไว้เอาไว้สวดมนต์เป็นประจำนะครับ...ขอบารมีธรรม สัจธรรม ศีลธรรม จงตั้งมั่นในดวงจิตของกัลยาณธรรมและรัตนมิตรทุกท่าน ให้ถึงซึ่งความสุข ความเจริญ คิดหวังสิ่งใดจงสัมฤทธิ์ผลทุกประการ...สาธุครับ (ต่อไปจะเป็นบทตำนานโกพชฌังคปริตรและบทสวดครับ อดใจรอนิดหนึ่งนะครับ )




หมายเลขบันทึก: 587606เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2015 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท