แผนการเงินในแบบแผนการเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน


  • สัปดาห์นี้ ก็เริ่มเข้าสู่กลางเดือนที่ 2 ของปีแล้วนะครับ ไม่น่าเชื่อว่าเวลาจะผ่านไปเร็วมาก แต่ผมก็ยังรู้สึกเหมือนเพิ่งได้หยุดยาวเที่ยวเล่นพักผ่อนอยู่เลย และแน่นอนว่าเทศกาลความสุขช่วงต้นปีคงไม่หมดกันง่ายๆ เพราะสัปดาห์นี้ ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลแห่งความรักอีกครั้ง หรือที่หลายท่านเรียกกันจนติดหูว่า "วันวาเลน์ไทน์" ( Valentine's Day) สำหรับคู่รักหลายท่านคงเตรียมตัวสวีทไปทานข้าวมื้อหรู ซื้อดอกไม้ ซื้อช็อคโกแลต มอบเป็นของขวัญให้กันตามธรรมเนียม แต่คนโสดก็ไม่ต้องเสียใจไปนะครับ ให้ลองคิดซะว่า การเป็นโสดทำให้เรารวยขึ้นได้นะครับ เพราะไม่ต้องเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในช่วงเทศกาล ยังไงก็มีเงินเก็บออมเพิ่มขึ้นชัวร์ๆ


ส่วนเรื่องที่จะมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คงไม่ค่อยเกี่ยวกับเทศกาลแห่งความรักสักเท่าไหร่นะครับ แต่จะเป็นการให้ทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่าย และการเลือกเก็บออมของผู้ที่เข้าสู่ช่วงวัยทำงานและเป็นลูกจ้างของบริษัท หรือลูกจ้างรัฐวิสาหกิจต่างๆ และไม่ได้ประกอบธุรกิจส่วนตัวเอง หรือที่เรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" นั่นเองครับ

สำหรับมนุษย์เงินเดือน แน่นอนว่าต้องมีความหลากหลายทางเงินเดือนสูง มีรายได้ตั้งแต่ไม่ถึงหมื่นบาท จนถึงหลายแสนบาท บางคนเก็บทั้งชีวิตเพิ่งถึงล้านบาทก็มี แต่บางคนเก็บเงินได้ปีละเป็นล้าน นั่นก็เพราะว่ามันมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนเป็นประเภทจิตอ่อน ชอบตามกระแสสังคม รสนิยมสูงกว่ารายได้ ร้านต้องหรู เข็มขัดต้องแบรนด์ ทำให้เงินหมดไปอย่างรวดเร็ว จนใกล้จะเกษียณแล้วยังไม่มีเงินออม หรือบางคน รายได้ไม่สูงแต่มีวิธีบริหารจัดการเงินที่แตกต่างกัน ไม่กิน ไม่เที่ยว ไม่มีภาระ จึงทำให้ผลลัพธ์ต่างกันไปด้วย

ยกตัวอย่างเช่น น.ส.เก็บเก่ง หญิงโสดวัย 25 ปี ไม่ค่อยมีภาระเยอะ มีรายรับต่อเดือน 30,000 บาท ก่อนเงินเดือนออก ก็เตรียมวางแผนการเงินไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกเดือน โดยแบ่งเงินออกเป็น 4กอง ดังนี้

  • กองแรก 10,000 บาท: รายจ่ายประจำ ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าห้อง ค่าโทรศัพท์
  • กองที่สอง 10,000 บาท : ค่าอาหาร ค่าท่องเที่ยว ค่าเสื้อผ้า ค่าของใช้
  • กองที่สาม 5,000 บาท : เงินออมสำหรับการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน เช่น ออมในประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคง ออมในกองทุน LTF/ RMF แบบมีปันผล พร้อมยังได้ลดหย่อนภาษีไปในตัว
  • กองที่สี่ เงินส่วนที่เหลือทั้งหมด ประมาณ 3,000 บาท: สำรองไว้เป็นเงินสด เงินเผื่อฉุกเฉิน
คำสำคัญ (Tags): #anw2
หมายเลขบันทึก: 587536เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2015 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2015 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท