Innovation, Intelligent Risks, and Strategic Opportunities


"การสร้างนวัตกรรม" หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือประสิทธิผลขององค์กร รวมทั้งสร้างมูลค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Innovation, Intelligent Risks, and Strategic Opportunities

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

7 มีนาคม 2558

Innovation, Intelligent Risks, and Strategic Opportunities มีความสัมพันธ์กัน คือ การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ต้องอาศัย Intelligent Risks และ Strategic Opportunities เป็นปัจจัยประกอบ ซึ่งในเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) ปี พ.ศ. 2557 – 2558 ได้มีการบรรจุไว้ดังที่ได้สกัดออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/innovation-intelligent-risks-and-strategic-opportunities

INNOVATION: การสร้างนวัตกรรม

  • "การสร้างนวัตกรรม" หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือประสิทธิผลขององค์กร รวมทั้งสร้างมูลค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างนวัตกรรมเป็นการรับเอาความคิด กระบวนการ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจ/กิจการ ซึ่งอาจเป็นของใหม่หรือนำมาปรับเพื่อการใช้งานในรูปแบบใหม่
  • ผลลัพธ์ของการสร้างนวัตกรรมเป็นการฉีกแนวหรือการเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดดในด้านผลลัพธ์ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการ การสร้างนวัตกรรมใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน กระบวนการในการระบุโอกาสเชิงกลยุทธ์ และความเต็มใจที่จะดำเนินการตามความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด
  • การสร้างนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จในระดับองค์กรเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการแบ่งปันความรู้ การตัดสินใจที่จะดำเนินการ การดำเนินการการประเมินผล และการเรียนรู้
  • แม้ว่าการสร้างนวัตกรรมมักเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แต่การสร้างนวัตกรรมสามารถเกิดได้ในทุกกระบวนการที่สำคัญขององค์กร ซึ่งอาจได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดดหรือการเปลี่ยนแปลงแนวทางหรือผลผลิต
  • การสร้างนวัตกรรมอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของโครงสร้างองค์กร หรือรูปแบบธุรกิจ/กิจการเพื่อให้บรรลุงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

INTELLIGENT RISKS: ความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด

  • "ความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด" หมายถึง โอกาสที่จะได้รับประโยชน์มีสูงกว่าโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย หรือหากไม่นำโอกาสนั้นมาพิจารณาจะบั่นทอนความยั่งยืนขององค์กร
  • ความกล้าเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด องค์กรต้องสามารถยอมรับความล้มเหลว และองค์กรต้องยอมรับว่าไม่สามารถคาดหวังให้เกิดนวัตกรรม หากดำเนินการเฉพาะเรื่องที่มีโอกาสสำเร็จเท่านั้นในระยะเริ่มต้น องค์กรต้องลงทุนในเรื่องที่มีโอกาสสำเร็จ และในขณะเดียวกันต้องตระหนักถึงความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น
  • ระดับของความเสี่ยงที่จะรับได้อาจแตกต่างกันตามจังหวะและระดับของภัยคุกคาม และโอกาสในธุรกิจ สำหรับธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือกระบวนการใหม่หรือรูปแบบทางธุรกิจใหม่ องค์กรจำเป็นต้องลงทุนด้านทรัพยากรมากกว่าธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงช้า ซึ่งในธุรกิจประเภทหลังนี้องค์กรยังคงต้องเฝ้าติดตามและสำรวจการเติบโตและการเปลี่ยนแปลง แต่โดยส่วนมากมีแนวโน้มที่จะใช้ทรัพยากรน้อยกว่า

STRATEGIC OPPORTUNITIES: โอกาสเชิงกลยุทธ์

  • "โอกาสเชิงกลยุทธ์" หมายถึง ภาพอนาคตที่เกิดจากการคิดนอกกรอบ การระดมสมอง การใช้ประโยชน์จากความบังเอิญ กระบวนการวิจัยและสร้างนวัตกรรม การประมาณการอย่างฉีกแนวจากสภาพปัจจุบัน และแนวทางอื่นๆ เพื่อมองอนาคตที่แตกต่างออกไปจากเดิม
  • การเกิดความคิดที่นำไปสู่โอกาสเชิงกลยุทธ์ มักเกิดจากสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความคิดอย่างอิสระโดยไม่ถูกชี้นำ
  • การเลือกว่าจะดำเนินการตามโอกาสเชิงกลยุทธ์ใด ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk) ด้านภาระการเงิน และด้านอื่นๆ จากนั้นจึงตัดสินใจอย่างรอบคอบ (ความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด – Intelligent Risks)

เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2557 – 2558

Innovation in OP (OP = Organizational Profile – โครงสร้างองค์กร)

1. ลักษณะองค์กร (Organizational Description):

  • ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (Organizational Relationships)
  • (3) ผู้ส่งมอบและพันธมิตร (Suppliers and PARTNERS) ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือเหล่านี้มีส่วนร่วมอะไรในการสร้างนวัตกรรมให้แก่องค์กร

2. สภาวการณ์ขององค์กร (Organizational Situation):

  • ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน (Competitive Environment)
  • (2) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Changes) การเปลี่ยนแปลงที่สร้างโอกาสสำหรับการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือคืออะไร

Innovation in Item 1.1

1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง (Senior Leadership): ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร ให้อธิบายวิธีการที่ผู้นำระดับสูงสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความผูกพันกับลูกค้า การสร้างนวัตกรรม และผลการดำเนินการที่ดี (HIGH PERFORMANCE)

1.1ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ (Vision, Values, and Mission)

  • (3) การสร้างองค์กรที่ยั่งยืน (Creating a SUSTAINABLE Organization) ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรที่จะทำให้องค์กรมีความยั่งยืน ผู้นำระดับสูงดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
  • สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม ยอมรับความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด (INTELLIGENT RISK taking) การบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC OBJECTIVES) และความคล่องตัวขององค์กร (Organizational Agility)

1.1ข. การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์กร

  • 1.1ข(2) การทำให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการทำให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ปรับปรุงการดำเนินการ ทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและยอมรับความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด รวมถึงการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร

Innovation in Item 2.1

2.1 การจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Development): องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำกลยุทธ์

. กระบวนการการจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Development PROCESS)

  • (2) นวัตกรรม (INNOVATION) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดโอกาสเชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC OPPORTUNITES) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการตามโอกาสเชิงกลยุทธ์หรือความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด (INTELLIGENT RISK) ในประเด็นใด โอกาสเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรคืออะไร

Innovation in Category 3

หมวด 3 การมุ่งเน้นลูกค้า (Customer Focus)

ในหมวดการมุ่งเน้นลูกค้า เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันกับลูกค้าเพื่อความสำเร็จด้านตลาดในระยะยาว ครอบคลุมถึงวิธีการที่องค์กรรับฟัง เสียงของลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และใช้สารสนเทศลูกค้าเพื่อปรับปรุงและค้นหาโอกาสในการสร้างนวัตกรรม

Innovation in Item 4.1

4.1 การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร (Measurement, Analysis, and Improvement of Organizational Performance): องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการวัด วิเคราะห์ และปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร

. การวัดผลการดำเนินการ (PERFORMANCE Measurement)

  • (1) ตัววัดผลการดำเนินการ (PERFORMANCE MEASURES) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับองค์กร การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการสร้างนวัตกรรม
  • (2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Data) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับปฏิบัติการและระดับกลยุทธ์ รวมทั้งการสร้างนวัตกรรม
  • (3) ข้อมูลลูกค้า (CUSTOMER Data) เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นลูกค้ายิ่งขึ้น และเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับปฏิบัติการและระดับกลยุทธ์ รวมทั้งการสร้างนวัตกรรม

. การปรับปรุงผลการดำเนินการ (PERFORMANCE Improvement)

  • (3) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสร้างนวัตกรรม (Continuous Improvement and INNOVATION) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการ ไปใช้จัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และนำไปเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรม

Innovation in Item 4.2

4.2 การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Knowledge Management, Information, and Information Technology): องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดการสินทรัพย์ทางความรู้ขององค์กร สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

. ความรู้ขององค์กร (Organizational Knowledge)

  • (1) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการสร้างนวัตกรรมและกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

Innovation in Item 5.2

5.2 ความผูกพันของบุคลากร (Workforce Engagement): องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันกับบุคลากร เพื่อให้บรรลุความสำเร็จในระดับองค์กร และระดับบุคคล

. ผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (WORKFORCE PERFORMANCE)

  • (3) การจัดการผลการปฏิบัติงาน (PERFORMANCE Management) ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสร้างเสริมยอมรับความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด (INTELLIGENT RISK taking) ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม สร้างเสริมการมุ่งเน้นลูกค้าและธุรกิจ/กิจการ และสร้างเสริมการบรรลุผลสำเร็จของแผนปฏิบัติการอย่างไร

. การพัฒนาบุคลากรและผู้นำ (WORKFORCE and Leader Development)

  • (1) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนา (LEARNING and Development System) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาขององค์กรดำเนินการสนับสนุนการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กรและการสร้างนวัตกรรมอย่างไร

Innovation in Item 6.2

6.2 ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ (Operational Effectiveness): องค์กรมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีการบริหารจัดการการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิผลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

. การจัดการนวัตกรรม (INNOVATION Management)

  • องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดการนวัตกรรม องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการพิจารณาโอกาสเชิงกลยุทธ์ที่องค์กรกำหนดว่าเป็นความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างฉลาด (INTELLIGENT RISKS) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทำให้ทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการดำเนินการสนับสนุนโอกาสเหล่านี้ องค์กรมีวิธีการพิจารณายุติโอกาสเชิงกลยุทธ์ในเวลาที่เหมาะสมเพื่อไปสนับสนุนโอกาสที่มีลำดับความสำคัญเหนือกว่าอย่างไร

Innovation in Item 7.1

7.1 ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ (Product and Process Results): ผลการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์และประสิทธิผลของกระบวนการเป็นอย่างไร

. ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน (WORK PROCESS EFFECTIVENESS RESULTS)

  • (1) ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ (PROCESS EFFECTIVENESS and Efficiency) ระดับปัจจุบันและแนวโน้มของตัววัดหรือตัวชี้วัดที่สำคัญของผลการดำเนินการด้านการปฏิบัติการของกระบวนการทำงานและกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ รวมทั้งผลิตภาพ รอบเวลา และตัววัดอื่นๆ ที่เหมาะสมด้านประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และนวัตกรรมของกระบวนการเป็นอย่างไร

***************************************************

คำสำคัญ (Tags): #innovation#tqa#criteria
หมายเลขบันทึก: 587155เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2015 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2015 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท