เมื่ออเมริกามาล้วงตับไทย..


คุณสินีจาก RDI หรือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่นเล่าให้ฟังว่า วันนี้มีฝรั่งมาหาคนหนึ่ง ซึ่งมาพบทุกปี เป็นเจ้าหน้าที่จากหอสมุดรัฐสภาแห่งอเมริกา (Library of Congress : LC)

มาทำไม: เขามา Shopping เอกสารที่สถาบันแห่งนี้ผลิตขึ้นและบรรจุไว้ในห้องสมุดของสถาบันและประกาศไว้ใน Website ของสถาบัน LC เขามีนโยบายรวบรวมเอกสารต่างๆทั่วโลกที่มีคุณค่า ที่เขาคัดสรรแล้วเอาไปใส่ไว้ในห้องสมุดรัฐสภา คุณคนนี้ที่มาหาคุณสินี มีหน้าที่รับผิดชอบคัดสรรเอกสารทุกชนิดในประเทศไทย ลาว พม่า เวียตนาม เขมร เพื่อส่งไปเข้าระบบที่ LC แน่นอนเขามีกรอบความคิด มีหมวดสาระ และหลักการที่คัดสรรเอกสารต่างๆ มิใช่กวาดเอาไปหมด ไม่ใช่

เอกสารที่ฝรั่งท่านนี้คัดสรรคงมีความหมายมากสำหรับเขา เพราะแต่ละปี สถาบันมีเอกสารออกมามากมาย เขาใช้เวลามหาศาลที่นั่งดูรายการเอกสาร และเปิดดูสาระ แล้วตัดสินใจเอา หรือไม่เอาเอกสารชิ้นนั้นๆ เขาทำงานมหาศาลจริงๆ

หากมีต้นฉบับมากกว่า 1 เล่มก็ขอไป หากมีเพียงเล่มเดียวก็จะหอบเอาไปทำสำเนา แล้วทยอยส่งไป LC

วิเคราะห์: คุณสินียกตัวอย่างเอกสารที่เขาคัดสรรแล้วให้ผมฟัง ผมก็ทึ่งในวิสัยทัศน์ของเขาว่าทำไมเขาถึงเลือกชิ้นนั้น ที่เป็นเอกสารเรื่อง "กรณีตัวอย่างความสำเร็จในการทำกิจกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง"เขาเอาเอกสารนี้เอาไปใส่ใน LC เลยหรือนี่ มีความหมายมากจริงๆ

ทำให้ผมนึกถึงเรื่องสงครามเวียตนามที่อมเริกันแพ้สงครามทั้งที่มียุทโธปกรณ์ทางทหารที่ดีที่สุดในโลก และเวียตนามไม่มีอาวุธที่จะไปสู้ได้เลย แต่เวียตนามชนะสงคราม ผมรู้จักกับทหารอเมริกันที่ผ่านสงครามนั้นมาเล่าให้ฟังว่า อเมริกันตั้งคำถามนี้แล้วส่งนักสังคมวิทยา-มานุษยวิทยามาเวียตนามมาศึกษา และก็พบข้อมูลมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อกองทัพ และวงการวิชาการของเขา.....

เรื่องกรณีตัวอย่างความสำเร็จในการทำกิจกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง นั้นเป็นเรื่องหลักคิดการหาทางออกของงานพัฒนาท่ามกลางกระแสทุนนิยม เรื่องการพัฒนาสังคมตามกระแสทุนนั้น มีการวิภาควิจารณ์มานานแล้วว่า ส่งผลกระทบต่อระบบสังคมมากมายในหลายด้าน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงพระราชทานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงลงมาให้ประชาชนนำไปปรับใช้ เพื่อให้อยู่ได้ท่ามกลาวกระแสทุน

เรามีกรณีตัวอย่างมากมายที่นำแนวคิดของในหลวงไปปฏิบัติแล้วประสบผลสบผลสำเร็จ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาหลายโครงการ เห็นความสำเร็จของชาวบ้านที่โครงการพัฒนาต่างๆนั้นไปสนับสนุนให้ชาวบ้านได้ดำเนินการ และสำเร็จจึงสรุปบทเรียนและทำเป็นเอกสารขึ้นมาในหลายรูปแบบทั้งหนังสือ วารสาร งานวิจัย และ VDO และอื่นๆ เพื่อเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ

และแล้วฝรั่งท่านนี้ก็ตัดสินใจเลือกกรณีตัวอย่างหนึ่งเอาไปใส่ไว้ใน LC จริงๆมีหลายกรณีที่ RDI ได้จัดทำขึ้น แต่กรณีที่เขาเลือกนั้นคือ กรณีของพ่อแสน วงษ์กะโซ่ แห่งบ้านเลื่อนเจริญ ต.ดงหลวง อ.หลวง จ.มุกดาหาร

บัดนี้ผลงานพ่อแสนสามารถไปศึกษาได้ที่ หอสมุดรัฐสภาอเมริกา หรือLibrary of Congress แล้ว สำหรับท่านที่สนใจว่าพ่อแสนคือใคร มีผลงานอะไรบ้าง สามารถเข้าไปดูส่วนหนึ่งได้ที่

http://lanpanya.com/bangsai/archives/tag/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%88

สำหรับท่านที่อยากรู้จัก หอสมุดรัฐสภาอเมริกา สามารถเข้าไปดูความยิ่งใหญ่ได้ที่นี่

http://www.dek-d.com/board/view/1620100/

และที่นี่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2

หมายเลขบันทึก: 586859เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2015 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2015 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมว่า คนไทยเองก็ถือเอาฝรั่งเป็นมาตรฐานสากลเอามากๆนะ โดยเฉพาะพวกป.โท เอก ที่ต้องเขียนงานวิจัยที่อาศัยตำราฝรั่ง ยัดเยียดให้คนอ่าน นัยว่า แน่น น่าเชื่อถือ พออ้างชื่อฝรั่งๆ ดูแล้วมันเป็นกลิ่นไอวิชาการ

พวกที่ไปเรียน ไปจบที่ตะวันตก สุดท้ายก็ต้องเขียนตะวันออกให้ฝรั่งเป็นข้อมูลอย่างง่ายๆ เหล่านั้นคือ มหาเอกสาร ที่ฝรั่งได้จากนักเรียนไทย ที่ส่งรายงานเขา ส่วนผู้จบออกมาก็ก๊อบปี้ขี้ฝรั่งมาทั้งนั้น คิดว่าเท่ เก๋โก้ โดยไม่สนใจตะวันออกว่า เราเองก็มีสไตล์ มีแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์อยู่

ดูแล้วที่อ.บางทรายนำเสนอนี้ มันสะท้อนให้เห็นว่า ฝรั่งมีนัยแอบแฝงภูมิปัญญาเราหรือไม่ เขาฉลาดหรือละเมิดภูมิทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ หรือเราภูมิใจมีฝรั่งสนใจตนเอง อีกอย่างดูแล้วแนวโน้มคนเอเชียกำลังตกอยู่ใต้คติที่ว่า "ฝรั่งคือนาย" (เจ้าเล่ห์) ทำไมไม่เชื่อในหลวงหรือคนในครอบครัวตัวเอง ที่รู้ ที่เห็นมาตั้งแต่แบเบาะละ

มองได้หลายมุมครับท่าน ส.รตนภักดิ์

มองในเชิงวิชาการแท้ๆ ก็เป็นการลงทุนของเขาที่มาเด็ดยอดของเราไป เขาไม่จำเป็นต้องมาทำวิจัย มาลงทุนสนับสนุนงานวิจัย แต่ตระเวนมา shopping ความรู้ที่มีนักวิชาการของสถาบันการศึกษาต่างๆจัดทำไว้แล้ว อันไหนที่เขาพึงพอใจ เข้ากรอบเข้าประเด็นเข้าสาระที่เขามีอยู่ก็คว้าเอาไป แน่นอนเขามีหนังสือมาตามระบบราชการถูกต้อง มองมุมนี้ก็เป็นประโยชน์สำหรับเขา ลงทุนให้บุคลากรผู้ชำนาญการของเขามาค้นหาแล้วส่งกลับไป เขาระบบห้องสมุดเขา แค่นี้เขาก็ได้ความรู้มหาศาลแล้วจากส่วนหนึ่งของกลุ่มอาเซียน

มองในแง่การเอาไปใช้ในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวงานพัฒนาสังคมในบ้านเรา ว่าก้าวหน้าไปทางไหน ด้วยแนวคิดอะไร ผลเป็นอย่างไร ซึ่งแนวคิดเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ต่อไปว่า หากการพัฒนาแนวทางนี้เป็นกระแสหลักขึ้นในประเทศไทย ในอาเซียน จะกระทบต่อเขาอย่างไรบ้าง และในอนาคตเขาควรมีท่าทีอย่างไรต่อกระแสงานพัฒนาแบบนี้ ก็เข้าหลัก "รู้เขารู้เรา...." เขาก็สามารถกำหนดนโยบายอะไรใหม่ๆออกมาระหว่างอเมริกากับประเทศไทยหรือกลุ่ม อาเซียน

หากมองเจาะไปถึงระบบธุรกิจข้ามชาติ ที่เขามาครอบเรามานานนั้น แนวงานพัฒนาแบบพึ่งตนเองนั้น ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี นี่คือธุรกิจการเกษตร แนวคิดงานพัฒนาแบบพึ่งตนเองบ้านเราหันหน้ากลับไปสนับสนุนพืชพันธุ์พื้นบ้าน ดั้งเดิม งั้นก็กระทบระบบธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชของเขา รวมไปถึงเมล็ดพันธุ์พืชที่เป็น GMO อีกมากมาย...

แนว คิดการพัฒนาแบบใช้ธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ ดัดแปลงธรรมชาติ ที่พ่อแสนกระทำอยู่นั้น ก็ไม่ตอบสนองระบบธุรกิจที่เป็นวัฒนธรรมบริโภคของเขาที่แพร่เข้ามาครอบหัวใจ คนหนุ่มสาวในปัจจุบัน และคนเมืองทั้งหมดที่ระบบต้องอิงธุรกิจแบบทุน ....

เหล่านี้ก็คิดอ่านกันได้อีกหลายมุมมองครับ

ผม เห็นด้วยกับท่าน ที่นักวิชาการของบ้านเราจำนวนมาก ไปรับกรอบและสาระวิชาการที่มีพื้นฐานไม่สอดคล้องกับเงื่อนไข สภาพต่างๆของสังคมบ้านเรา เราไปเอาปรัชญาการศึกษาเขามาใช้กับสังคมตะวันออกแบบของเรา มันเลยหลุดจากฐานเดิมของเขาแม้ว่าความรู้หลายอย่างก็เป็นประโยชน์

วัฒนธรรม เรากินข้าว แต่เด็กบ้านเราไม่รู้จักเรื่องราวของข้าวบ้านเราแล้ว ไม่รู้จักพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของเราแล้ว หรือแม้แต่ข้าวขาวดอกมะลิ หรือที่เราเรียกข้าวหอมมะลิ 105 นั้นเป็นข้าวของเราที่เป็นชั้นหนึ่งของโลก (อาจจะตกไปแล้ว) ทำไมเอามะลิ 105 ไปปลูกที่ภาคเหนือ ถึงไม่หอมเท่ากับปลูกที่อีสาน..... เด็กไม่รู้

เรากินข้าวไรซ์เบอรรี่ที่กำลังมาแรง ทำไมไรซ์เบอรรี่ที่สุพรรณถึงสู้ข้าวไรซ์เบอรรี่ที่ปลูกที่ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ ไม่ได้ ข้าวที่ปลูกที่อีสานถึงอร่อยกว่า เพราะอะไร

ส่วนตัวผมไม่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่อย่าลืมราก จะเชื่อมต่อกับรากเหง้าได้อย่างไร มิใช่ทิ้งรากเหง้า แล้วรับของใหม่มาหมด ผมไม่เห็นด้วยครับ

แต่น่าคิดว่า ฝรั่งมังค่าลงมาล้วงลูกถึงแก่นความรู้ระดับรากหญ้าเช่นนี้ ขณะที่สถาบันการศึกษาไทย คิดอย่างไรบ้าง เห็นอะไรบ้างกับกรณีเช่นนี้.....และจะทำอไรบ้างกับกรณีเช่นนี้...

น่าคิดนะครับ...

I clicked on < http://lanpanya.com/bangsai/archives/tag/พ่อแสน-วงศ์กะโซ่ > and read and followed two 'great examples of land carers' in the true spirit of "sufficiency" that we often talked about but failed to practice.

I salute แสน-วงศ์กะโซ่. He is a real leader in landcare.

มีดอกงิ้วและหนอนมาฝาก

แลรักที่มามอบให้(พ่อแสน)..ยินดีที่ได้รู้จักท่านนี้..ผ่านบางทราย..จ้า....

ขอบคุณ SR ครับ

ขอบคุณ ยายธี ครับ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ดอกไม้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท