ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

บุคคล: คุณธรรม จริยธรรม เสรีภาพกับความรับผิดชอบ


บุคคล: คุณธรรม จริยธรรม เสรีภาพกับความรับผิดชอบ

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

บุคคล :ตาม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 กล่าวไว้ว่า

มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็น ทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย

คุณธรรม หมายถึง ตามพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน ( 2530: 190 )ได้ให้ความหมายของ คุณธรรมว่า คุณธรรมหมายถึงสภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว

จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี

จริยธรรม ตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี

เสรีภาพ ตามพจนานุกรม หมายถึง อำนาจทำอะไรได้ตามใจ, ความเป็นอิสระแก่ตัว

ความรับผิดชอบ ตามพจนานุกรม หมายถึง ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงินรับเป็นภารธุระ

คำ 5 คำข้างต้นนี้ มีความเกี่ยวพันกันอย่างมาก ในการดำรงชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน เนื่องจากโลกยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการติดต่อสื่อสาร ความขัดแย้ง ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง

คุณธรรม จริยธรรม บุคคลที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีความสงบ ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ เพราะหากว่า บุคคลใด ดำรงชีวิตอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม บุคคลนั้น ก็จะได้รับการยกย่อง อีกทั้งเป็นแบบอย่างให้แก่คนในสังคม และอยู่รอดปลอดภัย ไกลคุก ไกลตะราง

เสรีภาพ กับความรับผิดชอบ คำ 2 คำนี้ มีความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออก ในการดำรงชีวิตอยู่ภายในสังคม บุคคลในแต่ละสังคม แต่ละประเทศ บุคคลสามารถมีเสรีภาพ อิสระในการที่จะทำอะไรก็ได้ ภายใต้กฏหมายของประเทศนั้นและสังคมนั้น อีกทั้งควรมีความรับผิดชอบ ทั้งดีและไม่ดีในสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไปด้วย

แต่ในยุคปัจจุบัน บุคคลและองค์กรต่างๆในหลายวงการ มีเสรีภาพมากขึ้น แต่ความรับผิดชอบกลับลดน้อยลง เช่น การใช้สื่อของบุคคล หรือ แม้แต่นักสื่อสารมวลชน เราต้องยอมรับกันว่า สื่อในยุคนี้มีมากมายให้เลือกและมีความง่ายต่อการเข้าถึง ปัจจุบันเรามี สื่อ TV ดาวเทียม สื่อวิทยุชุมชน โดยเฉพาะสื่อออนไลน์สื่อทางอินเตอร์เน็ต เป็นสื่อที่คนทั่วโลกนิยมใช้กัน

บุคคลหรือสื่อมวลชนในยุคนี้ มักจะใช้สื่อทำลายศัตรูของตน โดยเฉพาะกับคนที่ไม่มีอำนาจหรือบุคคลโดยทั่วไป คนจน คนที่ไม่สามารถตอบโต้ได้ แต่สำหรับผู้มีอำนาจทางการเมือง อำนาจทุน อำนาจรัฐ บุคคลหรือสื่อ มักงดเว้นหรือไม่กล้าที่จะไปตรวจสอบ โดยอ้างความรับผิดชอบที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการตรวจสอบนั้น อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อหน้าที่การงานของตนเอง ความปลอดภัยในชีวิต ในทรัพย์สินของตนเอง ของครอบครัว เพราะบุคคลที่มีอำนาจ มักมีอิทธิพล มีเครือข่าย ที่จะตอบโต้

อีกทั้งสื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน มีการนำเสนอข่าวที่มีการเลือกข้าง นำเสนอข่าวที่สร้างความขัดแย้ง และเข้าใจผิดให้แก่ผู้รับข่าวสาร หากใครอยู่ฝั่งเดียวกับตนก็จะชื่นชม แต่หากอยู่ฝั่งตรงกันข้ามก็เลือกที่จะใช้วิธี " สุมไฟใส่ฟืน" ให้เกิดการแตกแยกยิ่งขึ้น

ดังนั้น สื่อควรรับผิดชอบต่อสังคม เพราะสื่อไม่ว่ารูปแบบใดจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ฉะนั้น สื่อสามารถนำพาสังคมไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าในทางบวกหรือทางลบ ไม่ว่าในทางสร้างสรรค์หรือทางทำลาย ไม่ว่าในทางแก้ไขปัญหาหรือการสร้างปัญหา

" โกง ช่วยชาติ " จากการสำรวจโพลล์ของสำนักเอแบคในหัวข้อ " ชีวิตที่พอเพียงกับความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนและประเด็นสำคัญอื่นๆของประเทศ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ จำนวน 1,228 ครัวเรือน พบว่า ร้อยละ 51.2 ยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชันได้ เพราะคิดว่าทุกรัฐบาลก็ทุจริตคอร์รัปชันเหมือนกัน ถ้าทุจริตแล้วทำให้ประเทศรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดีก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ อีกทั้ง ร้อยละ 84.5 มองว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติธรรมดในการทำธุรกิจ

นอกจากนี้ผลของการสำรวจ ยังระบุอีกว่าเยาวชนยอมรับรัฐบาลที่ฉ้อราฏร์บังหลวง เพียงขอให้ทำประโยชน์แก่ประเทศและให้พวกเขาได้รับประโยชน์ไปด้วย

จึงไม่ต้องแปลกใจที่ มีงานสำรวจอีกชิ้นหนึ่งในปี 2552 ของสำนักข่าว AFP รายงานว่าสถาบันที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจหรือเพิร์ก ได้เผยแพร่รายงานประจำปี 2552 เกี่ยวกับการจัดอันดับการคอร์รัปชั่นในภูมิภาคเอเชีย 14 ประเทศ รวมถึงออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา

การสำรวจความเห็นผู้บริหารชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในภูมิภาคดังกล่าว 1,700 คน ปรากฏว่าประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดในเอเชียอันดับ 1 ได้แก่ สิงคโปร์ ได้ 1.07 คะแนน อันดับ 2 ได้แก่ ฮ่องกง 1.89 คะแนน อันดับ 3 ได้แก่ ออสเตรเลีย 2.40 คะแนน อันดับ 4 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 2.89 คะแนน และอันดับ 5 ได้แก่ ญี่ปุ่น 3.99 คะแนน อันดับ 6 ได้แก่ เกาหลีใต้ 4.64 คะแนน อันดับ 7 ได้แก่ มาเก๊า 5.84 คะแนน อันดับ 8 ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน 6.16 คะแนน อันดับ 9 ได้แก่ ไต้หวัน 6.47 คะแนน อันดับ 10 ได้แก่ มาเลเซีย 6.70 คะแนน อันดับ 11 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ 7.0 คะแนน อันดับ 12 ได้แก่ เวียดนาม 7.11 คะแนน อันดับ 13 ได้แก่ อินเดีย 7.21 คะแนน อันดับ 14 ได้แก่ กัมพูชา 7.25 คะแนน อันดับ 15 ได้แก่ ประเทศไทย 7.63 คะแนน และอันดับ 16 (อันดับสุดท้าย) ได้แก่ อินโดนีเซีย 8.32 คะแนน

เราจะเห็นได้ว่า ชาวต่างชาติ รวมทั้งคนไทยเป็นจำนวนมาก ต่างก็รู้ว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นมีเป็นจำนวนมากในประเทศไทย และมีหลากหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็น วงการเมือง วงการราชการ วงการนักธุรกิจ ไม่เว้นแม้กระทั่ง วงการทางศาสนา ดังเราจะเห็นได้จากการวิ่งเต้นซื้อตำแหน่ง การเรียกสินบน การเรียกผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นมีทุกภาค ทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ทั่วประเทศไทย

ซึ่งในความเห็นของกระผม การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องทำการแก้ไขทั้งระบบ อีกทั้งปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น มีลักษณะคล้ายเชือกที่เป็นปม อยู่หลายปม แก้ปมนี้ก็จะไปเจออีกปมหนึ่ง

ดังนั้น บุคคล หากต้องการพบกับความสุข ความสงบ พบกับความเจริญ รุ่งเรือง ก้าวหน้าในชีวิต บุคคลนั้นควรยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต อีกทั้งควรดำรงชีวิตอย่างมีเสรีภาพไม่เกินขอบเขตของกฏหมายกำหนด รวมถึงควรรับผิดชอบในการกระทำของตนที่ดีและไม่ดี


หมายเลขบันทึก: 586800เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท