รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้โครงงานโรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม


ชื่อเรื่อง : ประเมินโครงการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้โครงงาน โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม

ผู้ประเมิน : นางนิภาพร จิตรสุวรรณ

ปีที่ประเมิน : 2555

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้โครงงาน โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อมใน 8 ด้าน ดังนี้ ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้โครงงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มี จำนวน 117 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะครู 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียน 47 คน ผู้ปกครอง 47 คน ในการประเมินโครงการครั้งนี้ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้โครงงาน โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้โครงงาน โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม โดยภาพรวมและรายด้าน มีดังนี้ โดยภาพรวม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.63 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.46 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ ประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.85 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.36 ) อันดับรองลงมาคือ ประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.82 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.39 ) และอันดับรองลงมาคือ ประเมินด้านความพึงพอใจ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.82 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.38 ) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอันดับต่ำสุด คือ ประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.47)

หมายเลขบันทึก: 586709เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2015 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2015 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อสังเกตนะคะ นักคณิตศาสตร์ของไทย และครูคณิตศาสตร์ที่เก่ง ๆรุ่นใหญ่นี่ไม่เคยเรียนคณิตศาสตร์แบบโครงงานหรือแบบที่มีกิจกรรมวุ่นวายเหมือนที่ครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนกำลังทำกันอยู่นะคะ เขาใเรียนอย่างมีสมาธิและ

แก้โจทยปัญหาเยอะ ๆ วิเคราะห์ พิสูจน์ให้ได้ แน่นอนต้องจำ และเข้าใจก่อนด้วย

น่าสนใจว่าเด็กรุ่นใหม่ที่ผ่านกระบวนการใหม่ ๆแปลกแหวกแนว จะเก่งกว่ารุ่นเก่า ๆหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบระดับชาติมันต่ำเตี้ยกว่าที่ผ่านมาเสียอีก ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ตามหลักความน่าจะเป็น ข้อสองแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือกเดาอย่างเดียวก็น่าจะได้ 20 เปอร์เซ็นต์แล้ว ต้องหาสาเหตุกันแล้วค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท