Lean 1 การลดความสูญเปล่า


Lean คือการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าโดยการกำจัดความสูญเปล่าในการทำงาน

Lean 1

การลดความสูญเปล่า

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

21 กุมภาพันธ์ 2558

บทความเรื่อง การลดความสูญเปล่า หรือ Lean นี้ ได้ทำมานานแล้ว และมีการทำไว้หลายตอน แต่ละตอนจะจบในตัวเอง ที่นำมาเผยแพร่อีกครั้งเป็นเพราะหลักการเรื่อง Lean ยังคงใช้ได้ในปัจจุบัน เพื่อการพัฒนากระบวนการทำงาน และเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน

ผู้ที่สนใจเอกสาร Lean 1 แบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/lean-1-31361763

Lean ที่แปลเป็นไทยว่า ปราศจากไขมัน ผอมบาง เพรียว มัธยัสถ์ ประหยัด ตระหนี่ เป็นหัวข้อการบริหารที่โด่งดัง ในต้นทศวรรษที่ 21 จนมีการมารวมเข้ากับกระบวนการ Six Sigma จนกลายเป็น Lean Six Sigma (LSS)

Lean คือ อะไร?

  • Lean คือการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าโดยการกำจัดความสูญเปล่าในการทำงาน ('Lean' is a way of working which identifies and eliminates waste to deliver improved value and service, based on identified customer requirements.)

กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า (Value Adding Activity)

  • การกระทำใด ๆ ที่ทำให้เปลี่ยนรูปร่างจากวัตถุดิบหรือข้อมูล ไปเป็นสินค้าหรือบริการตามที่ลูกค้าต้องการ
  • ถามตัวเองว่า "กิจกรรมใดที่ลูกค้าจ่ายเงิน ?"
  • ถ้าลูกค้าจ่าย ถือว่าเป็นงานที่เพิ่มคุณค่า (Value Adding)

งานที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value Adding Activity)

  • การกระทำใดๆ ที่ใช้เวลา ทรัพยากร หรือพื้นที่ แต่ไม่ทำให้เปลี่ยนรูปร่างจากวัตถุดิบหรือข้อมูล ไปเป็นสินค้าหรือบริการตามที่ลูกค้าต้องการ

คำนิยาม

  • Lean production เป็นวิธีการที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ บริษัทโตโยต้านำมาใช้ หรือบางทีเรียกว่า สายการผลิตของโตโยต้า Toyota Production System (TPS)
  • เป้าประสงค์ ของ lean production คือ "to get the right things to the right place at the right time, the first time, while minimizing waste and being open to change".
  • Ohno วิศวกรของโตโยต้าผู้คิดระบบนี้พบว่านอกจากลดการสูญเปล่าแล้ว วิธีนี้ยังเพิ่มคุณภาพให้กับสายการผลิตและผลผลิต

Toyota เน้นที่การลดระยะเวลา

  • เพื่อให้ผลผลิตปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาด (ตามความต้องการของลูกค้า)
  • การใช้ lean production ทำให้บริษัทส่งสินค้าตามความต้องการ ลดสินค้าคงคลัง ใช้ประโยชน์พนักงานได้เต็มที่ เป็นองค์กรแนวราบ และใช้ทรัพยากรได้ถูกจุด

ประวัติของ Lean

  • Henry Ford ผลิตรถยนต์รุ่น T ด้วยระบบสายพานลำเลียง ทำให้สามารถผลิตได้จำนวนมากในระยะเวลาสั้นลง ที่มีต้นทุนถูก แต่มีรุ่นให้เลือกน้อย ไม่ถูกใจลูกค้า (ไม่ประสบผลสำเร็จในระยะยาว)

Toyota Production System

  • Kiichiro Toyoda (เคยทำโรงงานทอผ้ามาก่อนจะผลิตรถยนต์) พร้อมด้วย Taiichi Ohno ในปี 1930s พบว่า การใช้นวัตกรรมแบบเรียบง่ายก่อให้เกิดความต่อเนื่องของกระบวนการและทำให้มีผลผลิตหลากหลายรูปแบบ
  • ระบบใหม่นี้ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนจากการเน้นที่เครื่องจักรมาเป็นความต่อเนื่องของการผลิต ทำให้มีต้นทุนต่ำลง หลากหลายผลิตภัณฑ์ คุณภาพสูง ระยะเวลาสั้นลง ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

หลักการของ lean

  • กำหนดคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ
  • ระบุกระบวนการให้คุณค่านั้นโดยพยายามค้นหาความสูญเปล่าในขั้นตอนต่าง ๆ
  • ทำให้กระบวนการผลิตใหม่มีความไหลลื่น
  • สร้างระบบในการดึงระหว่างขั้นตอนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • พยายามให้เกิดความสมบูรณ์แบบในเรื่องการลดระยะเวลาและขั้นตอน

Lean ในปัจจุบัน

  • Toyota เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ตัวอย่างที่มียอดการขายมากที่สุดในโลก
  • lean แผ่ขยายไปทั่วโลก นอกจากใช้ในโรงงานแล้ว ยังมีการใช้กับการขนส่งสินค้า การขายปลีก งานบริการ ร้านค้าย่อย งานบริการสุขภาพ การก่อสร้าง การวางระบบ และงานราชการ

Lean manufacturing

  • เป็นวิธีการที่ประหยัดทุกอย่าง - คน สถานที่ เครื่องมือ และเวลา ในการผลิตสินค้าใหม่ ๆ
  • Lean manufacturing เป็นกระบวนการที่ดัดแปลงมาจาก Toyota Production System (TPS)
  • มีต้นคิดมาจากการสูญเปล่า 7 ประการของโตโยต้า (Toyota seven wastes) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า และมุมมองใหม่ ๆ ในการดำเนินการ

กระบวนทัศน์ มุมมองแบบเดิม และ มุมมองแบบใหม่

มุมมองแบบเดิม

  • มุ่งเน้นที่องค์กร (Organization)
  • จู่โจมคนงาน (Worker)
  • จัดสรรค่าใช้จ่าย (Allocate)
  • การกระทำซับซ้อน (Complicate)
  • ไม่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาด
  • มองระยะสั้น (Short Term)

มุมมองแบบใหม่

  • มุ่งเน้นที่ลูกค้า (Customer)
  • จู่โจมความสูญเปล่า (Waste)
  • กำจัดค่าใช้จ่าย (Eliminate)
  • ทำได้ง่ายๆ (Simplify)
  • เรียนรู้จากการทำ (Learn by do)
  • มองระยะยาว (Long Term)

ภาพรวม Lean

  • Lean คือเครื่องมือ TPS ที่ช่วยในการพบและกำจัดความสูญเปล่า (muda), เพื่อพัฒนาคุณภาพ ลดระยะเวลา และลดค่าใช้จ่าย
  • Lean ใช้เครื่องมือได้หลายรูปแบบเป็นต้นว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (kaizen), คำถามทำไม 5 ครั้ง (5 Whys) และการป้องกันความผิดพลาด (poka-yoke)
  • ทำให้มีการมองว่าเป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการวิธีหนึ่ง
  • เครื่องมือ Lean รวมถึง: กระบวนการดึง คุณภาพเป็นเลิศในครั้งแรก กำจัดความสูญเปล่า การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความอ่อนตัว การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบ ระบบอัตโนมัติที่คอยเตือนบุคลากร กระบวนการไหลของงาน และการควบคุมด้วยสายตา

ประเภทของความสูญเปล่า

  • เป้าประสงค์คือ การกำจัดความสูญเปล่าที่ Toyota แบ่งเป็น : muda or non value-added work, muri or overburden and mura or unevenness.

ความเชื่อมโยง

  • ประการแรก Muri เน้นที่ การเตรียมและการวางแผนของกระบวนงาน ต่อมา Mura เน้นที่การลงมือปฏิบัติที่หน้างาน คือปริมาณและคุณภาพของงาน ประการสุดท้าย Muda การค้นพบ โดยดูจากความแปรปรวนของงานภายหลังจากงานสำเร็จแล้ว

การเชื่อมโยงของ 3 concepts

  • เป็นบทบาทของฝ่ายบริหารที่จะดูความสูญเปล่า Muda เพื่อกำจัดที่สาเหตุรากเหง้าและนำมาเชื่อมโยงกับ Muri และ Mura เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป (Muda – waste – and Mura – inconsistencies – must be fed back to the Muri, or planning, stage for the next project.)

The original seven muda 'deadly wastes'

  • Overproduction (production ahead of demand)
  • Transportation (moving products that is not actually required to perform the processing)
  • Waiting (waiting for the next production step)
  • Inventory (all components, work-in-progress and finished product not being processed)
  • Motion (people or equipment moving or walking more than is required to perform the processing)
  • Over Processing (due to poor tool or product design creating activity)
  • Defects (the effort involved in inspecting for and fixing defects)

แนวคิดของระบบการผลิตแบบ Lean

  • ระบุคุณค่าของสินค้าหรือบริการ (Value)
  • การแสดงสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping)
  • สร้างการไหลของกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Flow)
  • ใช้ระบบดึงเพื่อหลีกเลี่ยงการผลิตมากเกินพอดี (Pull)
  • มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ (Perfection)

Specify value

  • จุดเริ่มต้นของ lean คือ คุณค่าที่กำหนดโดยลูกค้า (โดยเฉพาะเจาะจงที่ราคาและเวลาหนึ่ง ๆ)
  • ผู้ผลิตส่วนมากมักจะผลิตสินค้าตามต้องการของตนเอง เนื่องจากลูกค้าไม่ได้เรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการ

Identify the value stream

  • ระบุกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ที่จะทำให้ค้นพบความสูญเปล่าที่มีมาก

Flow

  • กระบวนการไหลของงาน มีความสำคัญยิ่งกว่าการผลิตแบบเป็นอุตสาหกรรมของ Henry Ford

Customers pull

  • ควรให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงให้เกิดกระบวนการผลิต ดีกว่าผลิตสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการ
  • อีกนัยหนึ่ง กระบวนการต้นน้ำควรให้ลูกค้าที่อยู่ปลายน้ำเป็นผู้กำหนดการผลิต
  • (Pull = build to order rather than target driven Push)

Pursue perfection

  • ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในการลดความสูญเปล่าในเรื่อง เวลา สถานที่ ต้นทุน ความผิดพลาด มีความพยายามที่ไม่หยุดจนกระทั่งผลผลิตเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริง ๆ
  • ท้ายสุด ความสมบูรณ์แบบ จะเป็นความคิดที่ไม่เพ้อเจ้อ

จุดเริ่มต้น

  • ยินดีต้อนรับสู่ lean
  • เมื่อเริ่มเดินทาง โปรดระลึกว่าหนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ผลลัพธ์ที่ได้มีค่ามหาศาลนัก

ความคิดแบบ Lean

  • หนทางการเพิ่มคุณค่าด้วยการทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยการจัดลำดับที่ดี ไม่ติดขัด เมื่อมีผู้ร้องขอ
  • ความคิดแบบ lean เป็นการทำงานเน้นที่เนื้องานที่จำเป็นจริง ๆ โดยลดความพยายามแรงงาน ลดเครื่องมือ ลดเวลา ลดสถานที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

การทำ Lean ให้สำเร็จ

  • การทำให้สำเร็จนั้นต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลง 'change agent' มีผู้ฝึกสอน sensei (teacher) ที่รู้เทคนิค พนักงานที่มุ่งมั่นกระตือรือร้น ระบบผู้ส่งมอบและระบบบริหารการขายสินค้าที่ดี ที่กระตุ้นผู้จัดการในการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องทุกครั้ง

จะเริ่มอย่างไรดี ? ขึ้นกับบริบทขององค์กร แต่มีขั้นตอนที่แนะนำ คือ

  • ค้นหา change agent
  • หาความรู้เรื่อง lean
  • ค้นหา crisis
  • ลืม strategy ไว้ชั่วคราว
  • ทำแผนที่การเพิ่มคุณค่า (value streams)
  • เริ่มให้เร็วที่สุด
  • ต้องการผลลัพธ์ด่วน
  • เมื่อมีแรงส่ง ขยายขอบเขต

มีขั้นตอนการลงมือทำหรือไม่?

  • มี 5 ขั้นตอนคือ
  1. ระบุคุณค่า (specify value)
  2. ร่างกระบวนการสร้างคุณค่า (map the value stream)
  3. สร้างความลื่นไหล (make the remaining steps flow)
  4. ให้ลูกค้าดึง (let the customer pull)
  5. ทำให้สมบูรณ์แบบ (and then pursue perfection relentlessly)

ใช้ Lean นอกจากโรงงานได้หรือไม่?

  • ได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นงานให้บริการ การรักษาพยาบาล หรือหน่วยงานของรัฐ
  • เพราะนี่คือแนวคิด
  • เป็นระบบของมนุษย์ เน้นที่ลูกค้า ลูกค้าเป็นแรงผลักดัน (พนักงานในหรือนอกหน่วยก็นับเป็นลูกค้าเช่นกัน)

อะไรคือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้?

  • จุดมุ่งหมายของ lean คือ การเพิ่มคุณค่าโดยกำจัดความสูญเปล่า ไม่ใช่เครื่องมือในการลดต้นทุน
  • ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจในหลักการ
  • ผู้นำต้องเข้าถึง สังเกตงานด้วยตนเอง มีความเพียรไม่หยุดหย่อน
  • ความท้าทายคือความสำเร็จในขั้นตอนหนึ่ง ทำให้ค้นพบปัญหาที่ท้าทายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เปรียบเทียบ Lean กับ Six sigma ?

  • สุดท้าย เราพยายามไปสู่จุดหมายเดียวกัน นั่นคือ กระบวนการที่สมบูรณ์แบบ The perfect value stream
  • วิธีการต่างกันมักถกเถียงในรายละเอียดหรือแนวคิด
  • Lean เชื่อมโยงกับ Six Sigma เพราะเป็นวิธีการที่ลดความแปรปรวนของกระบวนงาน

เปรียบเทียบ Lean กับ Theory of Constraints (TOC)?

  • เป็นทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวคิดว่า ทุกองค์กรมีกระบวนการที่เป็นคอขวดอยู่

จะชักชวนนายกับพรรคพวกอย่างไรดี?

  • เป็นการยากที่จะแบ่งแยกว่าปรับปรุงคนหรือเทคนิค
  • วิธีแก้ปัญหาคือลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง แล้วท้าทายทีมงานในการปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น
  • ดังนั้นการเรียนรู้โดยดูของจริง learning to see เป็นความท้าทายว่า คุณมี lean อยู่ระดับใด

บัญญัติสิบประการ ของ lean (The ten rules of lean production)

1.กำจัดความสูญเปล่า (Eliminate waste)
2. ลดสินค้าคงคลัง (Minimize inventory)
3. ทำให้เกิดความลื่นไหล (Maximize flow)
4. ใช้แรงดึงจากลูกค้า (Pull production from customer demand)
5. ทำตามความต้องการของลูกค้า (Meet customer requirements)
6. ทำสิ่งที่ถูกต้องในครั้งแรก (Do it right the first time)
7. มอบอำนาจให้พนักงาน (Empower workers)
8. ออกแบบการเปลี่ยนที่รวดเร็ว (Design for rapid changeover)
9. เป็นหุ้นส่วนกับผู้ส่งมอบ (Partner with suppliers)
10. สร้างวัฒนธรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Create a culture of continuous improvement)

การปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่า : ECRS

  • Eliminate (การจำกัด : what, why)
  • Combine(รวม : when)
  • Re-arrange (ลำดับใหม่ : where)
  • Simplify(ปรับปรุงใหม่ : how)

หลักการของ Lean

  • ระบุลูกค้า customers–recipients, clients, payers &/or other stakeholders (e.g. owners of interfacing processes)
  • ระบุคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ value in customer terms
  • ระบุกระบวนการสร้างคุณค่าที่เป็นอยู่ (value stream) -as it really is, not as it is supposed to be
  • ค้นหาและกำจัดความสูญเปล่า waste-all steps should directly contribute to satisfying the need of the customer
  • ทำให้กระบวนการลื่นไหล flow โดยให้ ลูกค้าเป็นผู้ดึง 'pull' (i.e. Demand from the customer).

การเดินทางของ Lean

1. เข้าใจ & เตรียมตัว (Getting ready: Champion; baseline)

2. สร้างความผูกพัน (Getting people excited ('home grown' sticks better); the way we work; encouraging behaviors; communication)

3. วางแผน (Identify gap (current v future); prioritize work areas; develop training; agree metrics / forecasting)

4. ลงมือปฏิบัติ (Deliver transformation –culture & performance; sustain via alignment with priorities (business as usual)

ปัจจัยความสำเร็จ

  • การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก่อให้เกิดความแตกต่าง
  • รวมทุกคนที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน
  • เป็นการกระตุ้นพนักงาน ประหยัดเวลาและเงินตรา
  • ผู้นำมุ่งมั่นและมีส่วนร่วม
  • เห็นผลลัพธ์เร็ว
  • การปรับปรุงนับเป็นวันไม่ใช่รอเป็นเดือน

สรุป Lean คือ ทำสิ่งที่ถูกต้อง ถูกที่ ถูกเวลา ในครั้งแรก โดยสูญเปล่าน้อยที่สุด และพร้อมปรับเปลี่ยน

*****************************

หมายเลขบันทึก: 586561เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2015 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2015 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท