โครงการป้องกันและลดจำนวนการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายกถวายแด่พ่อหลวงของแผ่นดิน


วันนี้หลังจากถวายสัตย์ปฏิญาณ และร่วมลงนามถวายพระพรแล้ว นายประยุทธ อ่อนพานิช ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ จังหวัดนครนายก ร่วมปรึกษาหารือกับ ฝ่ายคดี นายพิทักษ์ ทองแสง พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ และนายอาทิตย์ เจริญสังข์ พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ ในการจัดทำโครงการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ คือ
1. ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและลดจำนวนการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายกถวายแด่พ่อหลวงของแผ่นดิน
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประยุทธ อ่อนพานิช ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครนายกและคณะ
3. หลักการและเหตุผล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าดังเป็นที่ประจักษ์ ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและวันพ่อแห่งชาติ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครนายกจึงได้จัด "โครงการป้องกันและลดจำนวนการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายกถวายแด่พ่อหลวงของแผ่นดินโดยมีเหตุผลสนับสนุนโครงการ ดังต่อไปนี้ คือ
นโยบายของกรมพินิจไม่สามารถลดจำนวนการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจากสภาพของสังคมแม้ว่ากรมพินิจจะพยายามทำโครงการเป็นจำนวนมากขึ้นก็ตามโดยกลยุทธ์ของกรมพินิจในการลดจำนวนเด็กและเยาวชนที่เป็นยุทธศาสตร์การบริหารราชการกรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 มี 4 กลยุทธ์ดังนี้คือ
1.กลยุทธ์การป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
2.กลยุทธ์การลดจำนวนเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
3.กลยุทธ์การลดจำนวนเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
4.กลยุทธ์การลดจำนวนเด็กและเยาวชนกระทำผิดซ้ำ
(ที่มา:ยุทธศาสตร์ 5 + 1 ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน)
ซึ่งการป้องกันการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเป็นกลยุทธ์หลักที่ต้องให้ความสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากสถานศึกษา ไปยังองค์กรเครือข่ายในชุมชน เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการป้องกันปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนร่วมกัน ให้มีความเข้มแข็งครอบคลุมและต่อเนื่อง โดยให้เครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน บำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมและการกระทำความผิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกับเด็กและเยาวชนต่อไปโดยแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน มี2 แนวทาง ดังนี้คือ
(1) เด็กและเยาวชนในระบบการศึกษา โดยการให้ร่วมมือกับสถานศึกษา โดยมอบหมายผู้อำนวยการสถานพินิจฯเข้าไปในสถานศึกษา โดยขอโอกาสพูดคุยกับนักเรียนในช่วงของการประชุมนักเรียนเพื่อให้ความรู้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เป็นการลดความเสี่ยงในการกระทำผิดของเด็กนักเรียน
(2) เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ให้หารือกับหน่วยงานเครือข่ายภายนอก อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ป.ป.ส. ว่ามีแนวทางในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและเยาวชนในเชิงป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนอย่างไร และร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป(ที่มา:นโยบายเน้นหนักของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558หน้า 12) และยังเป็นนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา ด้านการพัฒนาพฤตินิสัย แก้ไข ฟื้นฟู ผู้กระทำผิดและป้องกันการกระทำผิด ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของกรมคุมประพฤติและกรมพินิจ ในด้านแผนงานด้านการแก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชน
จากแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายก ซึ่งผู้อำนวยการสถานพินิจฯนครนายกและคณะได้ดำเนินการมาโดยตลอด ด้วยการทำโครงการเชิงรุก ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ตามสถานศึกษาต่างๆภายในจังหวัดนครนายกทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ปากพลี บ้านนา และองครักษ์ โดยสามารถลดจำนวนเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดทางอาญาได้
จากสถิติของฝ่ายคดี สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครนายก พบว่าค่าเฉลี่ยในปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกส่งตัวมาดำเนินคดีอาญา 174 คดี เป็นเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษาจำนวน 42 คดี คิดเป็น 24 .39% และจำนวนเยาวชนที่ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนในระบบการศึกษา132 คดี คิดเป็น 75.61% (พิทักษ์ ทองแสงและอาทิตย์ เจริญสังข์, 2557)
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนในระบบการศึกษา ดังนั้นผู้อำนวยการสถานพินิจฯนครนายกและคณะ จึงทำโครงการดังกล่าว โดยมีเป้าหมายไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา และยังคงเฝ้าระวังโดยจัดทำโครงเชิงรุก ชื่อ "โครงการส่งเสริมและสร้างภูมิคุ้มกันแก่นักเรียนในสถานศึกษา เพื่อป้องกันการกระทำความผิด " อย่างต่อเนื่องต่อไป
4. วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันและลดจำนวนการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายก
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดจำนวนการกระทำผิดเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายก
3. เพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครนายกเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
5. กลุ่มเป้าหมาย
1. เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปีในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในระบบการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ (ก.ศ.น.) ทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง ปากพลี บ้านนา และองครักษ์
2. เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปีในสถานศึกษาของจังหวัดนครนายกทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง ปากพลี บ้านนา และองครักษ์
3. เจ้าหน้าที่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครนายก
6. การดำเนินกิจกรรม
1. จัดโครงการพินิจสัญจร โดยไปพบปะ พูดคุย ให้ความรู้กับและแจกเอกสาร/วารสารของสถานพินิจแก่ประชาชนของจังหวัดนครนายกทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง ปากพลี บ้านนา และองครักษ์
2. จัดกิจกรรมตามสถานศึกษาของจังหวัดนครนายกทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง ปากพลี บ้านนา และองครักษ์ โดยมุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี โดยการบรรยายให้ความรู้
3. เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ (ก.ศ.น.) ทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง ปากพลี บ้านนา และองครักษ์ โดยการบรรยายให้ความรู้
4. การบรรยายให้ความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้ คือ
- กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน
- ความรู้เรื่อง โทษและพิษภัยจากยาเสพติดและวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด
- ความรู้ในการเลือกคบเพื่อน การใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของเด็กและเยาวชน และการสร้างความมั่นใจให้กับเด็กและเยาวชน
- การให้ความรู้ในเรื่องเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและพิษภัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การแนะแนวทางการศึกษาต่อเพื่อการประกอบอาชีพและการประกอบอาชีพอิสระ
4. การเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครนายกเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดย
- การจัดโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเจ้าหน้าที่ ฯ
- โครงการจัดทำแผนป้องกันการหลบหนีของเด็กและเยาวชนการก่อจลาจล การป้องกันอุทกภัย วาตภัยและอัคคีภัย
7. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
8. สถานที่ดำเนินการ
จังหวัดนครนายกทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง ปากพลี บ้านนา และองครักษ์
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ลดจำนวนการกระทำผิดของผู้เยาว์ เด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายก
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการลดจำนวนการกระทำผิดผู้เยาว์ เด็กและเยาวชนในจังหวัดนครนายก
3. ศักยภาพของเจ้าหน้าที่ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครนายกที่มีความพร้อมจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านภาษาอังกฤษและรู้จักการวางแผนป้องกันการหลบหนีของเด็กและเยาวชนการก่อจลาจล การป้องกันอุทกภัย วาตภัยและอัคคีภัย

หมายเลขบันทึก: 586184เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2015 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2015 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท