Peter Drucker


เป็นการเรียนรู้จากแนวคิดของ Drucker ใน 5 เรื่องคือ การจัดระบบเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ ศิลปะของการบริหารในทางปฏิบัติ การจัดการโดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์และการควบคุมตนเอง การจัดการนวัตกรรม และการจัดการความรู้

เรียนรู้จากกูรูด้านบริหาร

Peter Drucker

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

9 กุมภาพันธ์ 2558

บทความเรื่อง เรียนรู้จากกูรูด้านบริหาร (Peter Drucker) นำมาจากหนังสือเรื่อง Peter Drucker:
The Great Pioneer Of Management Theory And Practice
ประพันธ์โดย Robert Heller จัดพิมพ์โดย Dorling Kindersley Ltd., London 2001, ISBN: 0789451581; 1st edition (April 1, 2000)

Peter F. Drucker

  • Peter Ferdinand Drucker เป็นชาว Austrian-born American เป็นที่ปรึกษา นักการศึกษา และผู้ประพันธ์ตำรา เกี่ยวกับปรัชญาและการปฏิบัติ ในเรื่องการบริหารจัดการยุคใหม่
  • ชาตะ: 19 พ.ย. ค.ศ. 1909, Vienna, Austria
  • มรณะ: 11 พ.ย. ค.ศ. 2005, Claremont, California, United States
  • การศึกษา: Johann Wolfgang Goethe University of Frankfurt am Main
  • รางวัล: Presidential Medal of Freedom

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/peter-drucker-31081428

ทฤษฎีทางธุรกิจ - Drucker เชื่อว่า ทฤษฎีทางธุรกิจ ของบริษัทที่ตั้งขึ้นมา หรือที่กำลังดำเนินการอยู่ขึ้นกับ:

1. สมมุติฐานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Assumptions about the environment of the organization)

2. สมมุติฐานด้านพันธกิจขององค์กร (Assumptions about the specific mission of the organization)

3. สมมุติฐานด้านความสามารถหลัก (Assumptions about the core competencies needed to accomplish the organization's mission)

5 ประเด็นพิจารณา ของบทความนี้

1. การจัดระบบเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ (Organizing for Success in Business)

2. ศิลปะของการบริหารในทางปฏิบัติ (The Art of Management in Practice)

3. การจัดการโดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์และการควบคุมตนเอง (Managing by Objectives & Self-control)

4. การจัดการนวัตกรรม (Harnessing the Power of Innovation)

5. การจัดการความรู้ (Responsible Knowledge Management)

1. การจัดระบบเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ (Organizing for Success in Business)

โครงสร้างแบบกระจายอำนาจ

  • ในปี ค.ศ. 1946 Drucker ประพันธ์หนังสือ 'Concept of the Corporation' กล่าวถึง บริษัท GM (General Motors) ที่ให้ความเป็นอิสระกับแผนกต่าง ๆ (ซึ่งการบริหารลักษณะนี้ ยังไม่เป็นที่นิยมในขณะนั้น) อย่างไรก็ตาม ยังมีการตัดสินใจสำคัญ ๆ ที่แผนกต้องอาศัยสำนักงานใหญ่คือ การเงิน ราคาขาย ค่าแรง และการลงทุน
  • Drucker เชื่อว่าการกระจายอำนาจเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ
  • เขาเป็นคนค้นคิดคำศัพท์ 'profit center' คือ แผนกต่าง ๆ ที่มีความรับผิดชอบสูงต่อผลลัพธ์

ชุมชนปกครองตนเองในโรงงาน

  • Drucker เชื่อในเรื่อง การมอบอำนาจ (empowerment) และแนะนำให้ GM จัดตั้ง ชุมชนปกครองตนเองในโรงงาน (self-governing plant community) ที่สมาชิกมีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจ เพื่อทำให้พนักงานมีความภูมิใจในการทำงาน
  • เขาวิจารณ์การทำงานแบบสายพาน ว่าเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะความเร็วขึ้นกับคนที่ทำงานที่ช้าที่สุด และการทำงานซ้ำ ๆ ทำให้ผลิตภาพลดลง

ทฤษฎีทางธุรกิจ

  • Drucker ระบุว่า ทฤษฎีทางธุรกิจ (theory of a business) คือ ชุดของสมมุติฐานที่องค์กรสร้างขึ้น และดำเนินการตามนั้น ประกอบด้วย:
    • สมมุติฐานเรื่อง สิ่งแวดล้อม พันธกิจ และความสามารถหลัก ต้องเป็นจริง
    • สมมุติฐานทั้งสามต้องเข้ากันได้ดี
    • ทฤษฎีทางธุรกิจนี้ ต้องรู้และเข้าใจทั่วทั้งองค์กร
    • ทฤษฎีทางธุรกิจ ต้องทดสอบสม่ำเสมอ และเปลี่ยนแปลงได้ถ้าจำเป็น

มาตรการป้องกันความล้มเหลวของทฤษฎีทางธุรกิจ มี 2 ประการคือ:

  • การท้าทายสถานะปัจจุบันที่ว่าดีแล้ว (Challenge the status quo) ทุก 3 ปี องค์กรต้องท้าทายทุกผลิตภัณฑ์ ทุกบริการ ทุกนโยบาย ทุกช่องทางจำหน่าย ด้วยคำถามว่า ถ้าเราต้องเริ่มใหม่ เราจะทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม
  • ให้ศึกษาความเป็นไปของโลกภายนอก (Study what is going on outside the business) "การเปลี่ยนแปลง น้อยครั้งนักที่จะเกิดในองค์กรเอง หรือลูกค้าขององค์กร"
  • Drucker เชื่อว่า ถ้าองค์กรยังคงยึดถือวัตถุประสงค์เดิม ๆ ขององค์กร จะทำให้ล้าสมัย องค์กรต้องทบทวนปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อม พันธกิจ และความสามารถหลัก อย่างสม่ำเสมอ

จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Ideas into Action)

  • ให้ใช้เวลาในการตัดสินใจอย่างพอเพียงและรอบคอบ ในเรื่องที่มีผลกระทบกับบุคคล
  • มั่นใจว่าบุคลากรทุกคน เข้าใจในธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่
  • ศึกษาโลกภายนอก รวมถึงลูกค้าและที่ไม่ใช่ลูกค้า
  • ถ้าธุรกิจโตเร็วมาก ให้ทบทวนสมมุติฐานใหม่
  • มองและเรียนรู้จากความสำเร็จ ของผู้อื่นและของตนเอง
  • และเรียนรู้จากความล้มเหลว โดยเฉพาะของตนเอง

2. ศิลปะของการบริหารในทางปฏิบัติ (The Art of Management in Practice)

ขอบเขตการบริหาร

  • Drucker กล่าวว่า การบริหารเป็นศิลปะไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ที่อาศัยการบูรณาการของความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน
  • แม้ว่าเขาจะมีพื้นฐานเป็นนักสถิติ และให้ความสำคัญด้านการเงิน แต่เขาคิดว่า การบริหาร คือ การบูรณาการของระเบียบวินัย (an integrating discipline)
  • Drucker เชื่อว่าทุกองค์กรมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่างกัน คือ มีหลักการที่เหมือนกัน ต่างกันตรงรายละเอียดการปฏิบัติ และทุกองค์กรมีปัญหาเหมือนกัน คือ เรื่องของคน
  • เขามีความเชื่อว่า การบริหารคือ การนำองค์กรที่มีเป้าประสงค์หลักโดยการใช้ความเข้มแข็งและความรู้ของบุคลากร เพื่อเพิ่มผลผลิต

ความสำคัญของลูกค้า

  • Drucker กล่าวว่า ธุรกิจ ควรเป็นการจัดระบบเพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
  • เรื่องทำนองนี้ปรากฏอยู่ทั่วไปในงานประพันธ์ของเขาว่า พื้นฐานหลักของธุรกิจ คือ ค่านิยมที่มุ่งเน้นลูกค้า และการตัดสินใจของลูกค้า ดังนั้น นโยบายและกลยุทธ์ต้องเริ่มต้นที่จุดนี้ (The foundations have to be customer values and customer decisions. It is with those that management policy and management strategy increasingly will have to start.)

หน้าที่หลัก 5 ประการของผู้จัดการ

1. ผู้จัดการเป็นคนตั้งวัตถุประสงค์ (A manager sets objectives) และสื่อสารวัตถุประสงค์นี้ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับรู้

2. ผู้จัดการเป็นผู้จัดระบบ (A manager organizes) เขาเป็นคนตัดสินใจ ว่า งานประกอบด้วยอะไรบ้าง และมอบหมายให้ใครทำหน้าที่อะไร

3. ผู้จัดการเป็นผู้สร้างแรงจูงใจ (A manager motivates people) โดยการกำหนดค่าชดเชย การเลื่อนขั้น สร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากร

4. ผู้จัดการเป็นผู้วัดผลงาน (A manager measures performance) เขาเป็นผู้กำหนดผลงานของแต่ละบุคคล และทำให้มีความสอดคล้องกับหน่วยงานและขององค์กร

5. ผู้จัดการมีการพัฒนาตนเองและผู้อื่น (A manager develops himself and others)

การประเมินตนเอง (Assess Yourself)

  • เราคือใคร ? (Who am I?)
  • อะไรคือจุดแข็งของเรา? (What are my strengths?)
  • เราทำงานอย่างไร? (How do I work?)
  • เราขึ้นกับใคร? (Where do I belong?)
  • เรามีส่วนช่วยอะไรบ้าง ? (What is my contribution?)

การประเมินหน่วยงาน (Assess Your Unit)

  • หน้าที่ของหน่วยคืออะไร? (What is its role?)
  • ทรัพยากรของหน่วยมีอะไรบ้าง? (What are its resources?)
  • หน่วยทำงานอย่างไร ? (How does it function?)
  • เราทำหน้าที่อะไรในหน่วย? (What is my function within it?)
  • ผู้อื่นทำหน้าที่อะไรในหน่วย? (What are the functions of others?)

การวิเคราะห์รายงานป้อนกลับ

1. เมื่อตัดสินใจทำอะไร ให้บันทึกความคาดหวังของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

2. ทบทวนผลลัพธ์ตามกำหนดห้วงเวลาเป็นระยะ เทียบเคียงกับความคาดหวังที่ตั้งไว้

3. ใช้รายงานป้อนกลับเป็นตัวแนะนำและตัวกระตุ้น เพื่อเสริมจุดแข็งและกำจัดจุดอ่อน

การวัดผลงาน

  • Drucker แนะนำให้ใช้ การตรวจสอบทางธุรกิจ (business audits) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ไม่เพียงแต่ใช้ตัววัดด้านการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้ตำแหน่งในตลาด และความสามารถด้านนวัตกรรม ประกอบการพิจารณาด้วย
  • เขายังแนะนำว่า ผู้จัดการควรรู้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของ ห่วงโซ่ทางธุรกิจทั้งระบบ (entire economic chain) รวมถึงราคาที่คิดกับลูกค้าด้วย

เครื่องมือการวินิจฉัยธุรกิจ :

1. สารสนเทศพื้นฐาน (Foundation information) เช่น เงินสดหมุนเวียน ยอดขาย และอัตราส่วนทางการเงินทั้งหลาย ที่ใช้ค้นหาและแก้ปัญหา

2. สารสนเทศด้านผลผลิต (Productivity information) เช่น ค่าแรง การวิเคราะห์การเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจที่คุ้มกับการลงทุน รวมถึงการเทียบเคียงกับคู่แข่งขัน

3. สารสนเทศด้านความสามารถหลัก (Competence information) ได้แก่ ตัววัดผลความสามารถด้านนวัตกรรม และความสามารถหลักขององค์กร

4. สารสนเทศด้านการจัดสรรทรัพยากร (Resource-allocation information) คือ ตัววัดผลตอบแทนการลงทุน ระยะเวลาการชำระหนี้ ค่าเสื่อมราคา

จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Ideas into Action)

  • ทำให้มั่นใจได้ว่า มีการสื่อสารที่ดีทั่วทั้งองค์กร
  • ใช้ประโยชน์จากรายงานป้อนกลับ เพื่อเสริมจุดแข็ง
  • ควบคุมประสิทธิภาพการทำงานด้วย การตรวจสอบทางธุรกิจ (business audit)
  • ศึกษาค่าใช้จ่าย จนถึงราคาที่ลูกค้ายอมจ่าย
  • ใช้ตัววัดผลหลาย ๆ ตัว ไม่ใช่เพียงตัวเดียว
  • ตั้งความคาดหวังกับผลงานของบุคลากร และทำงานอย่างเป็นระบบ
  • พัฒนา ความฉลาดทางธุรกิจ (business intelligence) ที่เกี่ยวกับคู่แข่งขันที่แท้จริง และคู่แข่งขันในอนาคต ทั่วทั้งโลก

3. การจัดการโดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ และการควบคุมตนเอง (Managing by Objectives & Self-control)

ระบบการบริหารจัดการแบบบูรณาการ - 6 ขั้นตอนของการบริหารแบบมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ (MBO: Management by Objectives) ซึ่งเป็นระบบบริหารจากบนลงล่าง ที่นิยมกันมาก คือ

1. ระบุวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยรวม

2. วิเคราะห์เป้าหมาย และมอบหมายงานให้ผู้จัดการแต่ละส่วนรับผิดชอบ

3. ตั้งมาตรฐานของผลงาน

4. ทำข้อตกลง และระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

5. ระบุเป้าหมายของแต่ละบุคคล ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร

6. จัดระบบสารสนเทศ เพื่อตรวจสอบการบรรลุผลของแต่ละวัตถุประสงค์

มุมมองของผลลัพธ์ที่สำคัญ - ในหนังสือ The Practice of Management (1954) Drucker กล่าวถึง 8 ตัววัดผลที่สำคัญคือ:

  • Marketing
  • Innovation
  • Human Organization
  • Financial Resources
  • Physical Resources
  • Productivity
  • Social Responsibility
  • Profit Requirements

การบริหารตนเอง - Drucker ให้คำแนะนำดังนี้

  • การตัดสินใจที่มีประสิทธิผล (On effective decision-making): ให้แยกเหตุการณ์เป็น ที่เกิดซ้ำกับที่ไม่เคยเกิดมาก่อน เหตุการณ์ที่เคยเกิดให้แก้ด้วยระบบ เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิด ให้แก้เป็นเรื่อง ๆ ไป
  • การปรับปรุงผลงาน (On improving performance): ให้รู้จักตัวตนว่าถนัดการรับสารสนเทศแบบใด ว่าเป็นแบบรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือแบบปากเปล่า ไม่ต้องเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองถนัด
  • การรู้ตนเอง (On knowing yourself): ให้ทำงานในองค์กรที่มีค่านิยมที่ตรงกับของตนเอง โดยถามว่า เรามีส่วนช่วยในเรื่องอะไรได้บ้าง

จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Ideas into Action)

  • ไม่มีสิ่งที่ถูกต้องที่สุดเพียงอย่างเดียว ในการบริหารบุคคล
  • เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จัดสรรทรัพยากรให้กับโอกาส ไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหา
  • รู้พันธกิจขององค์กร และมีความเชื่อมั่น
  • รู้ว่าตนเองสมควรทำอะไร อย่างไร แล้วลงมือทำ
  • รู้จักตนเองว่าเป็นคนตัดสินใจ หรือเป็นผู้ให้คำแนะนำ
  • เรียนรู้วิธีการบริหารตนเอง และช่วยผู้อื่นได้เรียนรู้ด้วย
  • ถามตนเองว่าสมควรทำอย่างไร มากกว่าทำตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

4. การจัดการนวัตกรรม (Harnessing the Power of Innovation)

การค้นหาการเปลี่ยนแปลง - โอกาสที่เกิดขึ้นภายในองค์กรหรืออุตสาหกรรม มี 4 ประการคือ

  • สิ่งที่ไม่ได้คาดหวัง (The unexpected) ได้แก่ ความสำเร็จ ความล้มเหลว หรือเหตุการณ์ภายนอก ที่ไม่ได้คาดหวังไว้
  • ความไม่สอดคล้องกัน (The incongruity) ระหว่างความเป็นจริงที่เกิดขึ้น กับความเป็นจริงที่น่าจะเป็น (ought to be)
  • นวัตกรรมที่เกิดจากความต้องการของกระบวนการ (Innovation based on process need)
  • การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอุตสาหกรรมหรือการตลาด ที่ไม่มีใครเฉลียวใจ (Changes in industry structure or market structure that catch everyone unaware)

แหล่งของการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก - Drucker ระบุ 3 แหล่งของการเปลี่ยนแปลงคือ:

  • การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร (Demographics or population changes)
  • การเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้ อารมณ์ และความหมาย (Changes in perception, mood and meaning)
  • ความรู้ใหม่ ทั้งที่เป็นวิทยาศาสตร์และไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (New knowledge, both scientific and non-scientific)

หลักการของนวัตกรรม - Drucker เชื่อว่า นวัตกรรมเป็นผลจาก การวิเคราะห์ ระบบ และการทำงานหนัก เขาได้แนะนำ 5 สิ่งที่ควรทำ คือ :

1. การวิเคราะห์โอกาส

2. ออกไปดู ถาม แล้วฟัง

3. ทำให้เรียบง่าย ใส่ใจตลอดเวลา

4. เริ่มเล็ก ๆ ก่อน ทำทีละอย่างโดยเฉพาะเจาะจง

5. มุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านตลาด

รู้ธุรกิจอย่างทะลุปรุโปร่ง - Drucker แนะนำให้ใช้ 4 คำถาม คือ:

1. ผลิตภัณฑ์นี้ จะยังคงเติบโตอีกนานหรือไม่?

2. ผลิตภัณฑ์นี้ จะธำรงอยู่ในตลาดได้อีกนานเท่าใด?

3. อีกนานหรือไม่ที่ผลิตภัณฑ์นี้ จะเสื่อมความนิยม และด้วยอัตราเร็วเท่าใด?

4. เมื่อใดที่ผลิตภัณฑ์นี้ จะล้าสมัย?

คำตอบเหล่านี้จะระบุช่องว่าง ระหว่างวัตถุประสงค์ของบริษัทและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง นวัตกรรมจะมาช่วยปิดช่องว่างนี้ได้

การจัดการกับความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น - 4 หัวข้อในการจัดการกับความเสี่ยง

1. การมุ่งเน้นตลาด (Market focus) มีความอ่อนตัวพอ ที่จะระบุความผิดพลาด แล้วรีบเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

2. พยากรณ์ด้านการเงิน (Financial foresight, especially in planning for cash flow and capital needs ahead) อย่าเน้นผลกำไรอย่างเดียว ให้จัดลำดับความสำคัญคือ มีรูปแบบการควบคุม การมีเงินสดหมุนเวียน และมีเงินลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของธุรกิจ

3. สร้างทีมบริหารให้พร้อม ก่อนเกิดสถานการณ์เสี่ยง

4. การตัดสินใจของผู้ก่อตั้ง เป็นสิ่งสำคัญ ต้องคำนึงถึงด้วย

กลยุทธ์แบบนักลงทุน :

1. คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก (Fustest with the Mostest) คือ มุ่งเป็นผู้นำตลาดตั้งแต่แรกเริ่ม

2. ทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้าทำ (Hitting Them Where They Ain't) ไม่ว่าเป็นการลอกเลียน หรือก้าวล้ำกว่าผู้ที่เป็นต้นแบบ เช่นเดียวกับหลักการที่ญี่ปุ่นใช้

3. หาจุดเฉพาะ (ecological niche) แล้วเป็นผู้ผูกขาดในตลาดที่เป็นเฉพาะนั้น (obtaining a practical monopoly in a small area.)

4. เปลี่ยนคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ตลาด หรือ อุตสาหกรรมโดยใช้

a) คุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้

b) กลยุทธ์ด้านราคา

c) จากการปรับตัวของลูกค้าด้านสังคมและเศรษฐกิจ

d) ส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่าในสายตาของลูกค้า

5. การจัดการความรู้ (Responsible Knowledge Management)

การพัฒนาในอนาคต

  • Drucker กล่าวว่าแนวโน้มผู้สูงวัยจะมากขึ้นในโลกตะวันตกและญี่ปุ่น เขาจึงทำนายว่า:
  • อายุการเกษียณจะเพิ่มเป็น 75 ปี ก่อน ค.ศ. 2010
  • เศรษฐกิจจะโตได้ จากผลผลิตของบุคลากรที่มีความรู้ (knowledge workers)
  • จะไม่มีประเทศใดเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจในโลกแต่ผู้เดียว

การเพิ่มบทบาทของการบริหารจัดการ

  • Drucker เชื่อว่าการบริหารจัดการ จะขยายตัวไปสู่องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และองค์กรทางสังคม โดยเฉพาะ การศึกษา และการรักษาพยาบาล เพราะทั้งสองกลุ่มนี้ ยังคงมีการใช้วิธีการดำเนินการ มากกว่าใช้การบริหารจัดการ (both of which are today over-administered and undermanaged)
  • เขาให้ความเห็นว่า การให้ความสำคัญด้านสังคม ยังติดตามด้านเศรษฐกิจไม่ทัน การบริหารจัดการ จึงต้องมีบทบาทมากกว่านี้ ในกลุ่มดังกล่าว

ความรับผิดชอบด้านจริยธรรม

  • Drucker กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ากลัวที่ผู้บริหารยังมีความโลภ มีการให้เงินรางวัลกับผู้บริหารที่ไล่พนักงานออก เพื่อลดค่าใช้จ่าย ว่าทำได้ดี เขาไม่พอใจกับการบริหารในยุคนั้น และเห็นว่า การให้เงินรางวัลผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากมาย เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
  • เขามีความเชื่อว่า ในศตวรรษที่ 21 ภาคส่วนที่จะมีการเติบโตมากขึ้น คือ องค์กรไม่แสวงหากำไร ได้แก่ การศึกษา การรักษาพยาบาล และ การศาสนา

สรุป เป็นการเรียนรู้จากแนวคิดของ Drucker ใน 5 เรื่องคือ การจัดระบบเพื่อความสำเร็จทางธุรกิจ ศิลปะของการบริหารในทางปฏิบัติ การจัดการโดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์และการควบคุมตนเอง การจัดการนวัตกรรม และการจัดการความรู้

*********************************************

คำสำคัญ (Tags): #drucker#peter drucker
หมายเลขบันทึก: 585650เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2015 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท