แนวทางและขั้นตอนการพัฒนามหาวิทยาลัย


เอกสารหน้าเดียวที่ผมกล่าวถึงนั้น ผมยังคงนำขึ้นมาทบทวนอยู่เสมอ หลายคนอาจจะยังไม่มีโอกาสได้รับรู้ ผมจึงขอนำเอาเนื้อหามาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ครับ

         เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2547 มีการประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 112 (2/2547) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารมิ่งขวัญ ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก

         วันนั้นผมต้องเข้าร่วมประชุมด้วยเนื่องจากมีวาระที่ผมต้องนำเรื่องของผม 2 เรื่อง ไปขอความเห็นชอบ คือเรื่อง นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร (2547-2550) และอีกเรื่องเป็นแนวทางการดำเนินงานด้าน QA (2547-2550)

         ประธานในที่ประชุมวันนั้นคือ ท่านอดีตนายกสภามหาวิทยาลัย (ฯพณฯ องคมนตรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย)

         ตัวผมเองมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยน้อยมาก นับครั้งได้เลย คือเพียง 3 ครั้ง ครั้งแรกท่านอธิการบดีพาไปแนะนำตัว เพื่อขอความเห็นชอบ แต่งตั้งให้ผมเป็นรองอธิการบดี เมื่อวันเสาร์ที่ 17 มกราคม 2547 ครั้งนี้ (20 มี.ค.47) เป็นครั้งที่ 2 ครั้งล่าสุดก็นานแล้ว (นำผลประเมินคณบดีเข้าไปนำเสนอ)

         การประชุมเมื่อวันที่ 20 มี.ค.47 ผมชอบวาระแจ้งเพื่อทราบเป็นพิเศษ เนื่องจากท่านนายกสภาฯ ได้แจกเอกสารหน้าเดียวเกี่ยวกับ “แนวทางและขั้นตอนการพัฒนามหาวิทยาลัย” และบรรยายเพิ่มเติมให้เข้าใจตรงกัน ผมคงเข้าใจไม่ผิดว่า ในการประชุมทุก ๆ ครั้งท่านจะมีอะไรดี ๆ มาฝากที่ประชุมเสมอ ทำให้นึกเสียดายที่ตัวเองไม่ค่อยได้เข้าไปเรียนรู้

         เอกสารหน้าเดียวที่ผมกล่าวถึงนั้น ผมยังคงนำขึ้นมาทบทวนอยู่เสมอ หลายคนอาจจะยังไม่มีโอกาสได้รับรู้ ผมจึงขอนำเอาเนื้อหามาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ครับ

         "แนวทางและขั้นตอนการพัฒนามหาวิทยาลัย

         1. โครงสร้างความรับผิดชอบ (Responsibility) และความรับผิดรับชอบ (Accountability) 4 ช่วงชั้น

         1.1 เจ้าของ : รัฐ – ประชาชน
           (1) แผนระยะยาว เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
           (2) แผนระยะยาว เพื่อการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
           (3) แผน 5 ปี เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
           (4) แผน 5 ปี เพื่อพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
           (5) แผนพัฒนาการอุดมศึกษาแห่งชาติ

         1.2 สภามหาวิทยาลัย
           (1) กำหนดนโยบายเชิงเป้าหมาย และให้ความเห็นชอบนโยบายเชิงบริหาร รวมทั้งแผนและยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัย
           (2) กำกับดูแล – ติดตาม – ประเมินการบริหารมหาวิทยาลัย
           (3) ให้การส่งเสริมและสนับสนุนคณะผู้บริหาร
           (4) กำหนดมาตรฐานการบริหารงาน
           (5) หน้าที่อื่นตามกฎหมาย

         1.3 คณะผู้บริหาร : อธิการบดี และผู้บริหารทุกระดับ
           (1) รับผิดชอบการบริหารงานตามนโยบายเชิงเป้าหมาย
           (2) กำหนดนโยบายเชิงบริหาร รวมทั้งการเสนอแผนและยุทธศาสตร์การบริหารงาน
           (3) ติดตาม – กำกับดูแล – ประเมินการปฏิบัติงาน
           (4) ให้การส่งเสริมสนับสนุนแก่ผู้ปฏิบัติงาน
           (5) หน้าที่อื่นตามกฎหมาย

         1.4 ผู้ปฏิบัติงาน : ข้าราชการและพนักงานของมหาวิทยาลัย
           (1) รับผิดชอบและรับผิด รับชอบงานในหน้าที่
           (2) พัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง

         2. สถานภาพปัจจุบัน

         2.1 ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐและกำลังเตรียมการเพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (กำลังรอร่างกฎหมายผ่านรัฐสภา)

         2.2 ปรับปรุงแผนแม่บท และระบบเกี่ยวกับการบริหารวิชาการ

         2.3 ปรับปรุงแผนแม่บท และระบบเกี่ยวกับการบริหารด้านกายภาพ

         2.4 ปรับปรุงระบบและออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

         2.5 ปรับปรุงระบบและออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินและการคลัง

         2.6 ปรับปรุงระบบและออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา

20 มี.ค. 47"

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 5853เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2005 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท