สื่อรัก 6 มิติ


ชื่อเรื่องผลการใช้"สื่อรัก 6 มิติ" ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนว

โรงเรียนวัดหูแร่จังหวัดสงขลาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต2

ผู้เขียน นางพรรณพิศจันทสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ทำการทดลองกับบุคลากรครูโรงเรียนวัดหูแร่ จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนว โรงเรียนวัดหูแร่ ของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังใช้ "สื่อรัก 6 มิติ" (2)เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนว กลุ่มทดลองที่ดำเนินงานโดยใช้ "สื่อรัก 6 มิติ" และกลุ่มควบคุมที่ดำเนินงานแบบปกติ(3)เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนว ของบุคลากรครูกลุ่มทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นบุคลากรครูโรงเรียนวัดหูแร่ ปีการศึกษา 2555จำนวน30คนที่ปฏิบัติหน้าที่งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนวที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ15คนโดยกลุ่มทดลองใช้ "สื่อรัก 6 มิติ"ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนวและกลุ่มควบคุมใช้ แบบปกติในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนวเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) นวัตกรรม "สื่อรัก 6 มิติ" ใช้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนว2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนวแบบปกติ3) แบบวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนวมีค่าความเที่ยงเท่ากับ0.92สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยปรากฏว่า(1) บุคลากรครูโรงเรียนวัดหูแร่กลุ่มทดลองที่ใช้ "สื่อรัก 6 มิติ" ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงกว่าก่อนใช้ "สื่อรัก 6 มิติ" อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01(2) บุคลากรครูกลุ่มทดลองที่ใช้ "สื่อรัก 6 มิติ" มีประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนวสูงกว่าบุคลากรครูกลุ่มควบคุมที่ดูแลผู้เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ (3) บุคลากรครูกลุ่มทดลอง ที่ใช้ "สื่อรัก 6 มิติ"มีประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานแนะแนว หลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 584793เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2015 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2015 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท