จิตเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน...ประสบการณ์ของคุณหมอกว่า 20 ปีที่ศรีธัญญา


สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะมาถอดความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และ อาจารย์พญ. สมรัก ชูวานิชวงศ์ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานกับผู้ป่วยจิตเวช ในโรงพยาบาลศรีธัญญามานานกว่า 20 ปี โดยความรู้ที่ได้จากอาจารย์มานั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามกันเลยทีเดียว

ท่านผู้อ่านลองทายดูนะคะ... ว่าตัวร้ายในละครจะจบชีวิตลงแบบไหน คนดูถึงจะสาสมและสะใจ คำตอบคือ เป็นบ้า....ใช่ไหมคะ

ทุกวันนี้ละครส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เอาอาการบ้ามาเป็นจุดจบของคนชั่ว คุณรู้ไหมว่าผู้ป่วยจะรู้สึกอย่างไร คงไม่มีใครอยากเป็น แต่เมื่อเป็นแล้ว คนในสังคมก็ไม่ควรดูหมิ่น ควรให้ความเข้าใจและช่วยเหลือให้พวกเขาเหล่านั้นกลับมาใช่ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม ดังคำกล่าวที่ว่า "Their to care : อย่าคิดผลักไส ให้ดูแลกันไป"

คำถามมากมายที่นักศึกษาอยากรู้ อาจารย์หมอสามารถไขข้อข้องใจให้หมด คำถามยอดฮิตตลอดกาลนั่นก็คือ"ผู้ป่วยจิตเภทจะมีโอกาสหายไหมและถ้าหาย จะหายด้วยยาหรือกิจกรรม? " คำตอบ คือ อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ โดยการทานยาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยกิจกรรมเข้ามาช่วย และครอบครัวเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เช่น ครอบครัวต้องให้กำลังใจ ถ้าที่บ้านมีงานให้ทำก็ให้ผู้ป่วยช่วยทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ หรือช่วยขายของ เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยไม่ฟุ้งซ่าน มีกิจกรรมยามว่างทำที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังส่งเสริมความสามารถอีกด้วย

ส่วนข้อสงสัยของดิฉัน คือ ถ้าผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูได้แล้ว ทางรพ.มีหน่วยจัดหางานให้ผู้ป่วยหรือไม่? ซึ่งทางรพ.จะมีการประเมินการทำงานของผู้ป่วย ดูแรงจูงใจ ดูความพร้อม แล้วส่งมาที่กิจการร้านเพื่อน สำหรับให้ผู้ป่วยได้ฝึกขายของ ฝึกทำงานฝีมือ ฝึกการต้อนรับลูกค้า ผู้ป่วยที่มาทำงานที่ร้านเพื่อนก็จะได้รับโอกาสในการมีงานทำเมื่อออกจากรพ.ไปแล้ว เช่น ปั๊ม วัด โรงงาน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ผู้ป่วยจะได้ออกไปใช้ชีวิตในชุมชนและยังมีเงินเลี้ยงชีพตนเองอีกด้วย

ในส่วนของรพ.มีการคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะอาดของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งแปรงสีฟันก็จะมีผู้ล้างทำความสะอาดให้ หลายคนอาจสงสัยว่าถ้าผู้ป่วยที่มีอาการหนัก รพ.จะมีวิธีรับมืออย่างไร? อย่างแรกคือต้องดูจากลักษณะสีหน้า ท่าทาง หรือเรียกว่าเป็นการตรวจสอบ(screening)ก่อนนั่นเอง จากนั้นก็จะมีห้องแยกสำหรับผู้ป่วยที่คิดว่าจะมีอาการคลุ้มคลั่ง อาจมีการใช้กำลัง(external force)จากเจ้าหน้าที่ถ้าผู้ป่วยยังยับยั้งอาการไม่ได้ สุดท้ายก็เป็นการใช้ยาฉีด และยังมีวิธีการรักษาที่เรียกว่า ECT ปัจจุบันนี้การช็อตไฟฟ้าไม่รุนแรงเหมือนเมื่อก่อนแล้ว มีการให้ดมยาสลบก่อนแล้วจึงปล่อยกระแสไปทำให้ไม่ทรมานมากนัก เมื่อรักษาด้วย ECTแล้ว อาการจะสงบลง ถ้ามีความคิดด้านลบ เช่น อยากฆ่าตัวตาย ความคิดเหล่านี้ก็จะหายไป เป็นเรื่องมหัศจรรย์จริงๆเลยค่ะ

นักกิจกรรมบำบัดมีส่วนช่วยผู้ป่วยเหล่านี้ให้สามารถดูแลตนเองได้ ตั้งใจฟังเมื่อผู้ป่วยอยากระบาย ให้กำลังใจและให้เกียรติกับผู้ป่วย อีกทั้งยังร่วมกันตั้งเป้าหมายชีวิต เมื่อออกจากรพ.ไปอยู่บ้านจะทำอะไร ความต้องการของผู้ป่วยคืออะไร ความสำเร็จของการรักษา คือ การที่ผู้ป่วยสามารถยอมรับตนเองได้ ไม่อายที่ต้องกินยา รู้สึกตนเองมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี และสามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข(quality of life)




หมายเลขบันทึก: 584497เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2015 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2015 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บางทีอยากจะตั้งคำถามกับ(สังคม)...ใครบ้า?....

มีดอกไม้มาฝาก..มีรักมามอบให้..(กับคนที่ถูกหาว่าบ้า..)..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท