Palliative Care ปางมะผ้า Team


เป็นความนุ่มนวลอ่อนโยนในบุคลิกภาพของคนทำงานในมิติที่ลึกซึ้ง
เจ้าหน้าที่ทุกคน...กับคนไข้แทบรู้จักกัน ดูแลกันดั่งเป็นเครือญาติ
แม้บางครั้งอาจสื่อสารกันไม่เข้าใจด้วยภาษาที่แตกต่างแต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคของการเยียวยา

มีผู้ป่วยติดเตียงรายหนึ่ง ไม่มีญาติ การรับรู้ปราศจากการตอบสนอง
แต่เมื่อทีมไปยืนอยู่ข้างๆ เตียง...พ่อเฒ่าก็ลืมตาขึ้นมา
เราพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงแนวทางแห่งการเยียวยาเชิงมิติจิตวิญญาณ

ในขณะนั้นมีผู้ป่วยอีกรายนั่งกอดเข้าตาลอยแห้งผากมองมาทางเรา
หลายคนหันไปส่งเสียงทักทาย...ทราบว่า เป็นคนไข้ติดสุรา...
ข้าพเจ้าหันไปสบตา ทักทาย แม้จะเป็นคนละภาษา แต่เมื่อทางทีมยิ้มให้
คนไข้ก็ฉีกยิ้มตอบกลับมา...ด้วยแววตาที่สดใสขึ้น

แม้เป็นเพียง...อณูเล็กๆ...การเยียวยาก็ได้เริ่มต้นแล้ว

ประสบการณ์สุดท้าย...
ที่บ้านอาสึมะ คนที่นี่ชื่อซ้ำกัน ไม่มีนามสกุล บางทีอยู่หมู่บ้านเดียวกัน
และบ้านอาสึมะที่ข้าพเจ้าไปเยือนถึงบ้าน เป็นเผ่ามูเซอ...
มีเด็กในความดูแล 14 คนเป็นเด็กในชนเผ่าที่กำพร้า...
อาสึมะมีอาชีพเย็บกระเป๋าส่งขาย และดูพอจะมีรายได้บ้าง
ข้าพเจ้าถามว่า...ทำไมถึงได้เอาเด็กมาเลี้ยง
อาสึมะตอบว่า..."อยากให้ได้เรียนหนังสือ อยู่บ้านก็ถูกทิ้งขว้าง"

ในห้วงเวลาที่ไม่ต่างกัน
ในใจของข้าพเจ้าเงียบงัน...ที่นี่ทุกคนรักหมอ
ทำให้นึกถึงเรื่องเล่าในรถระหว่างทางมากมายหลายเรื่อง

ข้าพเจ้าส่งข้อความถึง Jay Nawarat ว่า

เจ
พี่เพิ่งกลับมาจากปางมะผ้า ทุกอย่างที่พี่ไปพบ อัดแน่นในใจ
ตื้นตัน น้ำตาซึม ปิติ

คนสาธารณสุขทั้งประเทศทำงานคล้ายกัน … แต่ไม่เหมือนกันมีมิติที่ละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกัน

เจ เคยเห็นไหมคนทำงานที่ลำบากมากๆ แบบชีวิตอาจตายได้ โดยที่ตลอดเวลาของการทำงานเขาลืมนึกถึงเรื่องความทุกข์ ความลำบาก และการเสี่ยงชีวิตของตนเอง
ที่ปางมะผ้ามีเรื่อง R2R เกิดขึ้นมากมาย โดยที่เขาไม่รู้ว่าเขากำลังทำ R2R เขาคิดแค่ว่าทำอย่างไร คนไข้ของเขาจะได้รับการดูแล

ข้างหนึ่งเป็นเหว ข้างหนึ่งเป็นหน้าผา แต่เขาก็พากันเข้าไป ไปหาคนไข้ น้องคนขับรถถามตนเองว่า … ลึกในดอยขนาดนี้ ยังมีคนไข้อยู่เหรอ … หมออนามัยบนดอย ชนเผ่าหลายภาษา พระเจ้าอยู่หัว พระราชินี สมเด็จพระเทพ …สมเด็จย่า พระพี่นาง...แต่ะพระองค์ท่านมีพระมหาเมตตากรุณาเข้าไปช่วยผู้คนยากไร้เหล่านี

เชื่อไหมว่า … เขาไม่รู้สึกว่าเขากำลังทำงานที่ยาก
เขาไม่แสดงท่าทีต่อความทุกข์ยากลำบากของตนเอง

เมื่อมี case refer ครั้งหนึ่งต้องลงจากดอยมาที่เชียงใหม่ เขาต้องใช้เวลามากกว่า ๑๐ ชั่วโมง

ในเคสที่หนัก ต้องจอดรถเป็นระยะ จากโค้ง 1000 กว่าโค้ง...เพื่อปั๊มหัวใจ ดูดเสมหะคนไข้
ทุกคนทำงานช่วยกันไม่มีคำว่างานของเธอ งานของฉัน … หมอสุพัฒน์ ผอ.ทำงานหนักมาก ขึ้นไปตามดอยต่างๆ

คนที่นี่ทำงานเก่งมากสามารถทำให้คนบนดอยมาคลอดที่ รพ.ได้เกือบร้อยเปอร์เซนต์ ยกเว้นสุดวิสัยจริงๆ ที่คลอดระหว่างทาง

สักวันหนึ่ง พี่อยากให้เรื่องราวคนทำงานบนดอย …ได้ถูกถ่ายทอด
ผู้คนมากมายจะได้มีกำลังใจว่า … พวกเขาเหล่านั้นทำงานยากกว่า ลำบากกว่า ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ตามธรรมชาติ แต่เขาทำงานแบบลืมความทุกข์ตัวเอง
เจรู้ไหมว่า อสม. ที่นี่คนคนชนเผ่า เขามาประชุมที่อำเภอ รถตกเขา เสียชีวิตก็มีไม่น้อย อสม.ที่ได้ค่าตอบแทนไม่ถึงหนึ่งพันบาทต่อเดือน

เข้าไปฉีนวัคซีน … ต้องนั่งรถ ต่อด้วยเดินเท้า บางครั้งก็ต้องนั่งเรือ หรือขี่ช้าง …บางพื้นที่ต้องไปนอนค้างคืน … เขาทำทำไม...?

คำสำคัญ (Tags): #r2r#km#ha#ปางมะผ้า
หมายเลขบันทึก: 584418เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2015 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2015 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอชื่นชมกับความเสียสละ ควรนำไปเผยแผ่ให้โลกได้รับรู้และยกย่องมากเลยครับคุณหมอ...

เพราะความรัก ที่เห็นในความรักครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท