เปลี่ยน "ความรู้ระยะสั้น" ให้กลายเป็น "ความรู้ระยะยาว"


หลังจากปิดเทอมช่วงปีใหม่ วันนี้เป็นการเปิดเรียนวันที่ 3 ฉันได้เรียนรู้เรื่อง "หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Base Practice)" ซึ่งดิฉันคิดว่ามันเป็นความรู้ใหม่ที่สำคัญ และสามารถใช้ได้ทุกวิชาชีพ ไม่เฉพาะแต่ นักกิจกรรมบำบัด

ฉันได้เห็นความจริงที่ว่า ในการเรียนในมหาวิทยาลัยทุกวันนี้เป็นความรู้ที่เรียนว่า ความรู้มาเร็วไปเร็ว (Fast Knowledge) เป็นเพียงแค่ข้อมูลที่เรารับเข้ามา แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราจะลืมข้อมูลเหล่านี้อย่างรวดเร็ว เพราะข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ผ่านการสืบค้น หรือลงมือกระทำจริงๆ

จะทำอย่างไรให้กลายเป็น ความรู้ที่ใช้ได้จริง (Slow Knowledge)

- ขั้นตอนที่ 1 (Slow1) คือการสืบค้น ถ้าเราได้ข้อมูล หรือ กรณีศึกษามา 1 เคส ขั้นตอนนี้เราต้องทำการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากวารสารในเรื่องนั้นๆ ทำให้เรารู้ลึกมากขึ้น ในตัวโรคนั้นๆ

- ขั้นตอนที่ 2 (Slow2) คือการสอบถามจากผู้รู้ เมื่อได้ข้อมูลที่มาจากวารสาร ในขั้นตอนที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เราก็จะต้องสอบถามจากผู้รู้ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ หรือ การลงมือกระทำกับเคสนั้นจริงๆ จะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในกรณีศึกษาเหล่านั้น

- ขั้นตอนที่ 3 (Slow3) คือการบันทึกลงในสมุดบันทึกของตนเอง ขั้นตอนนี้จะทำให้ข้อมูลเหล่านั้น กลายเป็นความรู้ที่แท้จริง ใช้เวลาทบทวนแค่ระยะสั้นก็สามารถจดจำเรื่องราวเหล่านั้นได้

ทั้ง 3 ขั้นตอนเหล่านี้ หากเราได้ลงมือปฏิบัติและบันทึกอย่างเป็นกิจวัตรแล้ว จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนจากข้อมูลในกระดาษ ให้กลายเป็นความรู้ที่นำไปใช้ได้จริง และนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป

รูปภาพจาก : http://www.mind-expanding-techniques.net/memory-types.html

หมายเลขบันทึก: 583566เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2015 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2015 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท