สู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ


สังคมแห่งการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นไปได้ อยู่ที่เราจะต้องพยายามสร้างพื้นฐานของจิตใจให้เกิดการสมดุล ลดอคติ การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกื้อกูลคนดีมีความสามารถให้มีโอกาสทำงานเพื่อสังคมโดยรวม

ตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545-2549)

         เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีในสังคมไทยบนพื้นฐานของการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จึงต้องพัฒนาสภาพสังคมไทยที่ พึงประสงค์ โดยมุ่งพัฒนาสู่ "สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ" ใน ๓ ด้าน คือ

  4สังคมคุณภาพ ที่ยึดหลักความสมดุล ความพอดี สามารถสร้างคนทุกคนให้เป็นคนดี คนเก่ง พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกสาธารณะ พึ่งตนเองได้ คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีเมืองและชุมชนน่าอยู่ มีระบบดี มีประสิทธิภาพ ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบบการเมืองการปกครองโปร่งใส เป็นประชาธิปไตย ตรวจสอบได้ และมีความเป็นธรรมในสังคมไทย

         4สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้เท่าทันโลก เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง สามารถสั่งสมทุนทางปัญญา รักษาและต่อยอดภูมิปัญญา ท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

        4สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน ที่ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและคุณค่าของเอกลักษณ์สังคมไทยที่พึ่งพาเกื้อกูลกัน รู้ รัก สามัคคี มีจารีตประเพณีดีงาม มีความเอื้ออาทร รักภูมิใจในชาติและท้องถิ่น มีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง ตลอดจนเครือข่ายชุมชนทั่วประเทศ

         การบรรลุสังคมที่เข้มแข็งดังกล่าว จึงควบต้องคู่ไปกับการพัฒนาหลัก 4  ส่วนได้แก่

         1.       การพัฒนาด้านการศึกษา ต้องสถาปนาการเรียนรู้ให้อยู่ในจิตใจของประชาชนให้ได้ถึงหน่วยย่อยได้แก่หมู่บ้านและครอบครัว เพื่อให้เกิดสังคมภูมิปัญญาในสังคมชนบทให้ได้ การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญ และสื่อการศึกษาที่ดีและเหมาะสมที่เข้าถึงในบ้านก็ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีกลวิธีในการให้ความรู้อย่างไร

         2.       การพัฒนาการด้านสาธารณสุข ได้แก่การพัฒนาด้านองค์ความรู้ในการป้องกันโรค การพึ่งพารักษาตัวเองระดับหนึ่ง  การพัฒนาด้านสถานบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ และการจัดการด้านสาธารณสุขที่ดีจะทำให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองและเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น  บางคนบอกว่าความเจริญด้านการคมนาคมและการสื่อสารทำให้เกิดความล้มเหลวด้านการดูแลตนเองเนื่องจากความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางมายังโรงพยาบาล ดังนั้นระบบบริการสาธารณสุขก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาไปพร้อมๆกัน เช่นสถานีอนามัยประจำตำบลจำเป็นต้องมีการพัฒนาครั้งใหญ่ เพื่อให้เป็นสถานบริการสาธารณสุขปฐมภูมิอย่างแท้จริงเนื่องจากสถานีอนามัยในปัจจุบันไม่มีการพัฒนามานับสิบปีเป็นต้น 

         3.       การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ จำเป็นต้องพัฒนาให้มีการกระจายรายได้ไปสู่ชนบทอย่างแท้จริง รัฐต้องสร้างงานในชนบท หมู่บ้านเพื่อลดการอพยพเข้าเมืองอย่างแท้จริง

         4.       การพัฒนาด้านจิตใจ  ให้มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม การพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านศาสนา ลดความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง   สังคมไทยต้องมีระบบเชิดชูคุณธรรมในทุกภาคส่วน ส่งเสริมคนดีมีคุณภาพ ลดอคติการแบ่งพรรคแบ่งพวกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในทุกองค์กร ลดการยึดติดกับรูปแบบแต่ให้เน้นสาระให้มาก

          สังคมแห่งการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นไปได้ อยู่ที่เราจะต้องพยายามสร้างพื้นฐานของจิตใจให้เกิดการสมดุล ลดอคติ การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกื้อกูลคนดีมีความสามารถให้มีโอกาสทำงานเพื่อสังคมโดยรวม

หมายเลขบันทึก: 58328เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท