เทคโนโลยีสำหรับการจัดการความรู้


เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้เป็นหัวใจสำคัญในการที่จะประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาองค์กร

การจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของการจัดการความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศควรเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมีผู้เชียวชาญกล่าวถึงความหมายไว้ สรุปได้ดังนี้

ทาเคอุชิและโนนากะ (Takeuchi & Nonaka,2004) กล่าวถึงการจัดการความรู้ว่า คือกระบวนการในการสร้างความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง เผยแพร่ความรู้ทั่วองค์กรและนำไปเป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์บริหารเทคโนโลยีและระบบใหม่ๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับกระบวนการจัดการความรู้

1.การสร้างความรู้

เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างความรู้ (Create knowledge) เช่น โปรแกรมแคด (Computer Aided Design ; CAD)

2.การประมวลผลความรู้

หลักการของการประมวลผลความรู้ (Knowledge Processing) คือการแปลงความรู้ให้เป็นรูปแบบที่สามารถเข้าถึงและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสะดวก ซึ่งกิจกรรมมักเกี่ยวข้องกับการประมวลผลความรู้ ได้แก่ การจัดแยกหมวดหมู่ การทำแผนที่ความรู้ การทำแบบจำลองความรู้และการสร้างแฟ้มความรู้

3.การถอดและการให้รหัสความรู้

การถอดและการให้รหัสความรู้ (Knowledge Capture and Codification) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการจัดการความรู้ โดยสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มาสนับสนุน เช่น ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Intelling System; AIS) ซึ่งเป็นสาขาของวิชาคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจต่างๆของมนาย์ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System;Es)

เป็นโปรแกรมที่นำฐานความรู้ (Knoeledge Base) ซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์ของความรู้ที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและโปรแกรมจะทำงานเมื่อมีการป้อนข้อมูลโดยใช้ผู้ใช้ในลักษณะการถามตอบและประมวลคำตอบจากผู้ใช้ป้อนเข้าไป เพื่อหาข้อสรุปหรือคำแนะนำที่ต้องการ

4.การแบ่งปันความรู้

ระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการแบ่งปันความรู้(knowledge Sharing) ขององค์กร เช่น กรุ๊ปแวร์ (Groupware) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือของกลุ่มคน ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการแบ่งปัยสารสนเทศ

ทั้งนี้การแบ่งปันความรู้นั้นมีอุปสรรคและปัญหาในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งประกอบด้วย

4.1 ปัญหาจากผู้ถ่ายทอด เป็นปัญหาที่เกิดจากการ "อมภูมิ" ไม่อยากถ่ายทอดไปให้ผู้อื่น เพราะอาจทำให้ตนเองหมดความสำคัญลงหรือบางทีอาจจะเกิดอาการเบื่อที่จะต้องถ่ายทอดซ้ำๆ ซากๆให้ผู้อื่นได้รับทราบ ทำให้ความรู้นั้นไปถึงผู้รับได้ไม่เต็มที่ เป็นต้น

4.2 ปัญหาจากผู้รับ เกิดจากการไม่ยอมรับในตัวผู้ถ่ายทอด เนื่องจากทำงานในระดับเดียวกัน คิดว่าตนเองมีประสบการณ์มากกว่า ขาดการกระตือรือร้น เป็นต้น

4.3 ปัญหาจากบรรยากาศ เกิดจากการที่ผู้บริหารต้องพยายามสร้างบรรยากาศ โดยเริ่มจากสถานที่ที่ทำให้บุคลารได้เข้าใช้แหล่งในการค้นหาความรู้ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอื่นๆด้วย เช่น ประชุมกันในห้องปรับอากาศ มีน้ำชากาแฟไว้บริการ เป็นต้น

4.4 การติดตามและประเมินความรู้ การจัดการความรู้ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม ในการนำไปปฎิบัติจึงเกิดปัญหาว่าจะทราบได้อย่างไรว่าองค์กรสามารถนำแนวคิดไปใช้อย่างได้ผล

5.ปัจจัยที่นำที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้

สำหรับปัจจัยที่นำระบบการจัดการความรู้ความสำเร็จมีดังนี้

5.1 องค์กรต้องมีวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่นในการจัดการความรู้

5.2 มีจดประสงค์และประโยชน์ต่อองค์กรชัดเจน

5.3 ผู้นำด้านความรู้เป็นคนที่ผลักดันโครงการจัดการความรู้ให้เป็นจริง

5.4 มีกระบวนการจัดการความรุ้ที่เป็นระบบ

5.5 ได้รับการสนันสนุนและพันธผูกพันจากผู้บริหารอาวุโส

5.6 มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี

5.7 โครงสร้างองค์กรสนับสนุนการจัดการความรู้

5.8 บุคลากรภายในองค์กรมีทัศนคติเชิงบวกกับการสร้าง การใช้ และการแบ่งปันความรู้

หมายเลขบันทึก: 582884เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท