เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการจัดการความรู้


เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ ประกอบด้วยกระบวนการหลัก ๆ คือ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ และการเรียยนรู้

เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับความรู้ชัดแจ้งหรือความรู้เปิดเผย

1.การจัดเก็บความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในรูปเอกสาร

เป็นการจั ดเก็บความรู้หรือข้อมูลขององค์กรในรูปแบบง่าย ๆ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและนำไปใช้

2.สมุดหน้าเหลือง (Yellow Page)

สมุดหน้าเหลืองเหมือนกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองที่เราคุ้นเคยกัน แต่แทนที่เนื้อหาในสมุดจะบันทึกรายละเอียดของคนหรือประกอบการต่าง ๆ สมุดหน้าเหลืองจะเป็นการบันทึกแหล่งที่มาของความรู้ ประเภทความรู้ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านขององค์กร

3.ฐานความรู้ (Knowledge Bases)

เป็นการเก็บข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่องค์กรมีไว้ในระบบฐานข้อมูลและให้ผู้ต้องการใช้ค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับความรู้ฝังลึกหรือความรู้โดยนัย

1. การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อทำงานร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำหนดขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่า การทำงานในแต่ละเรื่องต้องอาศัยผู้มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญจากหลาย ๆ ด้านมาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และทำงานร่วมกันจึงจะประสบความสำเร็จ

2. ระบบพี่เลี้ยง เป็นวิธีการในการถ่ายทอดความรู้ฝังลึกหรือความรู้ซ่อนเร้น

3. การสับเปลี่ยนงาน เป็นการย้ายบุคลากรไปทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ภายในสายงานเดียว

4. เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดประชุมหรือการกิจกรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะอย่างสม่ำเสมอ

5. การระดมสมอง เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ ที่มีกระบวนการเพื่อรวบรวมความเห็น ปัญหาหรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว

6. แผนที่ความคิดหรือแผนที่ความรู้ เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมอง ที่กว้างและชัดเจน

7. เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นเทคนิคของการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง เป็นเทคนิคเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนเริ่มทำงาน

8. การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ หรือการเรียนรู้ระหว่างทำงาน จัดเป็นเครื่องมือที่เชื่อในแนวคิด "ตีเหล็กที่กำลังร้อน"

9. การค้นหาสิ่งดี ๆ รอบตัว เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารแนวใหม่ที่เป็นวิธีการเชิงบวก เป็นกระบวนการค้นหาส่วนที่ดีที่สุดในบุคคล องค์กร ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม

10. การเสวนา คำว่า dialogue ในภาษาไทย มีผู้นำมาใช้แตกต่างกันไป อาทิ เสวนา สุนทรียสนทนา สนทนาแลกเปลี่ยน สนทนาวิสาสะ วาทวิจารณ์ เป็นต้น

11. การเล่าเรื่อง เป็นเครื่องมือดึงความรู้จากการปฏิบัติ หรือเป็นวิธีแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก ซึ่งผูกพันอยู่กับประสบการณ์ หรือ การปฏิบัติที่ดีที่สุด

12. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ CoP มีชื่อเรียกในภาษาไทยหลากหลาย เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแนวปฏิบัติ
และชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นต้นเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ ประกอบด้วยกระบวนการหลัก ๆ คือ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ และการเรียยนรู้

เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับความรู้ชัดแจ้งหรือความรู้เปิดเผย

1.การจัดเก็บความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในรูปเอกสาร

เป็นการจั ดเก็บความรู้หรือข้อมูลขององค์กรในรูปแบบง่าย ๆ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและนำไปใช้

2.สมุดหน้าเหลือง (Yellow Page)

สมุดหน้าเหลืองเหมือนกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองที่เราคุ้นเคยกัน แต่แทนที่เนื้อหาในสมุดจะบันทึกรายละเอียดของคนหรือประกอบการต่าง ๆ สมุดหน้าเหลืองจะเป็นการบันทึกแหล่งที่มาของความรู้ ประเภทความรู้ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านขององค์กร

3.ฐานความรู้ (Knowledge Bases)

เป็นการเก็บข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่องค์กรมีไว้ในระบบฐานข้อมูลและให้ผู้ต้องการใช้ค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

เครื่องมือการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับความรู้ฝังลึกหรือความรู้โดยนัย

1. การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน เป็นการจัดตั้งทีมเพื่อทำงานร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำหนดขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่า การทำงานในแต่ละเรื่องต้องอาศัยผู้มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญจากหลาย ๆ ด้านมาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และทำงานร่วมกันจึงจะประสบความสำเร็จ

2. ระบบพี่เลี้ยง เป็นวิธีการในการถ่ายทอดความรู้ฝังลึกหรือความรู้ซ่อนเร้น

3. การสับเปลี่ยนงาน เป็นการย้ายบุคลากรไปทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ภายในสายงานเดียว

4. เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดประชุมหรือการกิจกรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะอย่างสม่ำเสมอ

5. การระดมสมอง เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ ที่มีกระบวนการเพื่อรวบรวมความเห็น ปัญหาหรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว

6. แผนที่ความคิดหรือแผนที่ความรู้ เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมอง ที่กว้างและชัดเจน

7. เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นเทคนิคของการจัดการความรู้อย่างหนึ่ง เป็นเทคนิคเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อนเริ่มทำงาน

8. การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ หรือการเรียนรู้ระหว่างทำงาน จัดเป็นเครื่องมือที่เชื่อในแนวคิด "ตีเหล็กที่กำลังร้อน"

9. การค้นหาสิ่งดี ๆ รอบตัว เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารแนวใหม่ที่เป็นวิธีการเชิงบวก เป็นกระบวนการค้นหาส่วนที่ดีที่สุดในบุคคล องค์กร ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม

10. การเสวนา คำว่า dialogue ในภาษาไทย มีผู้นำมาใช้แตกต่างกันไป อาทิ เสวนา สุนทรียสนทนา สนทนาแลกเปลี่ยน สนทนาวิสาสะ วาทวิจารณ์ เป็นต้น

11. การเล่าเรื่อง เป็นเครื่องมือดึงความรู้จากการปฏิบัติ หรือเป็นวิธีแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก ซึ่งผูกพันอยู่กับประสบการณ์ หรือ การปฏิบัติที่ดีที่สุด

12. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ CoP มีชื่อเรียกในภาษาไทยหลากหลาย เช่น ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแนวปฏิบัติ
และชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #ความหมาย
หมายเลขบันทึก: 582880เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท