การจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง


บทคัดย่อ

ชื่อผลงานการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2

ผู้วิจัยพัชราภรณ์ บัวคงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปีที่วิจัย2554

การจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2)เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติกลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นเด็กอายุระหว่าง4-5 ปีที่กำลังเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองจำนวน 9 แผน มีค่าเฉลี่ยคุณภาพและความเหมาะสมรายด้านอยู่ระหว่าง 3.33 -5.00และค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ3.86 มีค่าประสิทธิภาพ(E1/E2) ก่อนนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายเท่ากับ 79.08/80.99แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ0.81การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการทดลองเป็นรายคู่ด้วยการทดสอบเครื่องหมาย

ผลการวิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1.ผลการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเทียบกับเกณฑ์ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)เท่ากับ 80.51/81.48สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75

2.ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่านักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองหลังการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.ผลการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2เป็นรายด้านพบว่าคะแนนพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองหลังการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

หมายเลขบันทึก: 582552เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท