บทสาขาที่ 2 เรื่องที่ 2.4 พิธีการไหว้ครูดนตรีไทย


พิธีการไหว้ครูดนตรีไทย

บทที่ 1

(ตัวอย่าง...อย่างไรย่อมต้องผ่านการแก้ไขเพื่อให้ดีขึ้น)

ความสำคัญของปัญหา

ก่อนอื่นต้องแยกคำว่า

พิธีการไหว้

การไหว้ครู

ครูดนตรีไทย

คำว่าพิธีการไหว้ เป็นหมวดใหญ่ และ วิธีการไหว้ นั้นเป็นแขนงแยกย่อยออกมาในแบบวิธีการรูปกริยา หมายถึงการทำความเคารพ ออกเป็นรูปธรรมและรำลึกถึงผู้ที่ต้องการกราบไหว้จะเป็นผู้ล่วงลับก็ดีหรือผู้ยังดำรงอยู่ก็ดีแต่ถ้าเป็น พิธีการไหว้ แล้วจะเพิ่มความมีระเบียบวินัยอย่างมีระดับขั้นตอนถึงขั้นเข้าข่ายประเพณี พิธีการไหว้ก็เป็นพิธีแขนงหนึ่ง

การไหว้ครู คือการไหว้บุพการีที่ประเพณีไทยจัดลำดับครูเป็นคนที่สองนับจากผู้บังเกิดเกล้า แต่เมื่อเชื่อม พิธีการไหว้ ต่อกับประโยคเพิ่มคำว่า พิธีการไหว้ครู ก็ไหว้ครูนั่นเองเพียงแต่จัดให้มีพิธีการไหว้ขึ้น

ไหว้ครูดนตรี เป็นการกระทำความเคารพต่อครูแขนงดนตรี แต่เมื่อเชื่อมประโยคเพิ่มคำว่า ครูดนตรีไทย มาต่อเชื่อม ถือเป็นสรรพนามคำกรรมอย่างแจ้งชัดของประโยคที่ได้ความคือ พิธีการไหว้ครูดนตรีไทย

การไหว้ครูนั้น คำนี้ได้กำหนดไว้เป็นความรู้ถึงการเคราพกราบไหว้ด้วย กาย – วาจา - ใจ จัดได้ว่าเป็นวิชา เพราะผู้กระทำต้องรู้และรับรู้การกระทำของตนเองด้วย เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งของสังคมไทยได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

การไหว้ครูนั้น หมายถึงการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูผู้ประสิทธิ์ประส่าทวิชาดนตรีให้กับผู้ที่ประสงค์ได้เล่าเรียนไปประกอบอาชีพ เพื่อพัฒนาและสร้างความเจริญให้กับสังคม กับศิษย์ผู้นั้นต่อดำเนินชีวิตอยู่และเตือนย้ำให้รู้สำนึกถึงคุณค่าของครูในฐานะศิษย์ที่ดี

การไหว้ครูนั้น ถือว่าครูมีความสำคัญต่อศิษย์ในการแสดงพิธีกรรมสืบต่อมาช้านานเมื่อกล่าวถึงบุพการีนั้นทำหน้าที่เลี้ยงดูให้ลูกมีสุขภาพดีเจริญวัยและแข็งแรงดูแลทุกข์สุขและป้องกันอุบัติเภทภัยอุ้มชูและเป็นผู้ให้กำเนิด ส่วนครูนั้นให้วิชาเพื่อไว้ใช้ต่อการดำรงชีพและดูแลได้เท่าเทียมกันเพียงแค่มิได้ให้กำเนิดแค่นั้น ส่วนผู้ให้กำเนิดเองย่อมเป็นครูพร้อมกันไปด้วยได้เช่นกัน

ครู – บูรพาจารย์ ที่มองศิษย์เป็นนั้นต้องได้รับการคัดสรรว่ามีหน่วยก้านดี และมีแววที่รับวิชาสาขาดุริยางค์ศิลป์ได้ จึงสมควรที่จะถ่ายทอดวิชาให้โดยเฉพาะถ้าครูเป็นถึงบูรพาจารย์แล้วย่อมมองถึงศักยภาพของศิษย์ผู้นั้นได้อย่างสมจริง

คุณลักษณ์ของศิษย์ ที่ครูรับไว้เป็นศิษย์แล้ว ต้องประเมินอย่างทุ่มใจว่ารับได้ในวิชาแขนงนี้อย่างมีใจรักเพราะความรักต่อวิชาแขนงนั้นย่อมสำเร็จแล้วครึ่งหนึ่ง อันหมายถึงให้ความเสียสละเป็นอย่างดีต่อการอดทนและให้เวลาการฝึกฝน อนึ่งวิชาที่นำใช้อย่างถูกทำนองคลองธรรม ย่อมเกิดผลกรรมที่ดีเพราะคุณลักษณ์ของศิษย์ที่มีความศรัทธาต่อวิชาและผู้ถ่ายทอดวิชาให้นั้น ย่อมเป็นผู้ก้าวหน้าในอาชีพการงานอย่างเจริญมั่งคง

คุณลักษณ์ของครู จัดเป็นประเภทมี ก – ข – ค – ง (4 ลักษณะ) ดังนี้

ก. ครู ผู้ที่ถ่ายทอดวิชาดนตรีไทยให้กับศิษย์และอบรมจรรยาวินัยให้เข้าสู่การดำรงชีวิตต่อวิชาชีพอย่างสุจริตชนและสังคมการเป็นอยู่กับชนทุกระดับได้มีต่อไปนี้

ก.1. พระบรมครู หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าองค์พระศาสดา บรมครู – ศาสดา เป็นบุคลคลสูงสุดของความเป็นครูผู้เหนือความเป็นครูทั้งปวงมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ

ก. 2. พุทธิทางปัญญา มี พระปัญญาคุณอันเปรียบปานมิได้ดั่งพระบิดาของศาสดา

ก.3. วุฒิธรรมจิตปัญญา มี พระบริสุทธิ์คุณไร้มลทินดั่งพระจิตแห่งบิดา

ก.4.พระกรุณาธิคุณ มี คุณลักษณ์แห่งการแก้ปัญหาและชี้แนะหาหนทางออกให้อย่างลุล่วงดั่งพระ บุตรแห่งพระบิดาส่งลงมาให้แก้ภาระปัญหานั้นๆและหรือ พระพุทธปัญญา พระธรรมจิต พระศาสดาผู้กรุณาธิคุณ

ข. ครู เป็นคำรวมธาตุ แล้วธาตุคืออะไร ธาตุ เฉพาะ ณ ที่นี้หมายถึงการเปรียบเทียบสารแต่ละชนิดหนึ่งเดียวนั้นเป็นของแท้มิมีสิ่งใดปลอมปน แต่ครูมีลักษณะสมบัติธาตุทั้ง 3 ชนิดดังมี

ข.1 . ครฺธาตุ มีความเป็นไปในลักษณ์การเปรียบเทียบถึงความหนา ความหนัก - หนักนักหนา หมายถึง บุคคลที่เป็นครูดนตรีโดยแท้ต้องตระหนักด้านวิชาความรู้โดยเฉพาะภาษาจิตสุนทรียะศิลป์และประมาณ – ปะเมินความรู้ตั้งแต่ศักยภาพทางพุทธิปัญญา – ศักยภาพทางวุฒิจิตปัญญาโดยแท้

ข.3 ครธาตุ มีความเป็นไปในลักษณ์การเปรียบเทียบแบบยกย่องส่งเสริมศิษย์ของตัวเองว่ามีคุณศักยภาพดี เมื่อถ่ายทอดวิชาให้โดยไม่ปิดบัง และหลังจากเกิดผลแล้วอย่างแท้จริงนั้น เพื่อสร้างทางให้กับศิษย์ดำเนินแทนต่อจากครูผู้สอนให้เจริญมั่นคงสืบต่อแทนไป

ข.2. คริธาตุ มีความเป็นไปในลักษณ์การเป็นผู้จุดประกาย Motif ต่อสิ่งที่มีอยู่ในตัวศิษย์คือสิ่งเร้า คือความเก่งที่มีเฉพาะตนในทางดำเนินดนตรีกับความที่มีจิตจินตนาการดีในสุนทรียะ – จะริยะ ฝึกฝนวิชาให้จนมีรัศมีบารมีเปล่งปลั่งเข้าระดับร่างกายที่ดีย่อมมีจิตที่ดีได้อาศัย หมายถึง ครู เป็นผู้มีบารมีศิลปะการดนตรีระดับเปล่งประกายถึงวิชาการดนตรีด้วยจิตปัญญาต่อประสบการณ์และสรีระนิยม มีความเชี่ยวชำนาญการปฏิบัติ เชิงเพลง กับการวิธี รวมความแล้วมีวิชาประดับความรู้อยู่ในเรือนกายเรือนใจ เมื่อพิจารณายังได้เห็นประกายรัศมีออกทางกริยา เป็นจริตวิชาทักษะนิยมพบอยู่ในคุณลักษณะซึ่งศาสดาแห่งพุทธศาสนาได้กล่าวแสดงถึงหน้าที่ครูประเภทนี้อย่างโดยรวมและแยกไว้มี 5 คุณสมบัติคือ

ข.2.1 ทำการสอนโดยไม่ปิดบังมอบให้ศิษย์อย่างสิ้นเชิงถ้าศิษย์นั้นรับได้ และยังต้องมองเห็นความถนัดของศิษย์อันเป็นคุณลักษณะเหมาะสมกับกระบวนวิชาต่อพฤติกรรมว่าศิษย์ผู้นั้นโดดเด่นเหมาะสมที่จะมอบวิชาต่อการเสริมเคล็ดวิชาให้

ข.2.2 ตำหนิต่อปัญหาต่อการศึกษาที่เกิดขึ้น ทั้งปฏิบัติกระบวนดนตรีและธรรมจรรยา อภัยต่อความผิดที่ศิษย์กระทำนั้นได้ ให้โอกาสและยกย่องสนับสนุนศิษย์ตนไห้ปรากฏผล

ข.2.3. มีจิตวิทยาทางอุบายด้วยวิธีมุขปาถะเป็นเชิงนำ สังเกตและพิจารณาศิษย์ที่อยู่ตรงหน้าเป็น ด้วยการทดสอบเชิงทำความเข้าใจต่อระดับกระบวนการดนตรีแขนงนั้นๆ

ข.2.4. ต้องรู้และเข้าถึงเชาวน์ปัญญาของศิษย์ที่จะรับเชิงดนตรีได้ เป็นวิธีสืบและสอบสวนด้วยวิธีของกระบวนการดนตรีเชิงยุทธ์ จากพรสวรรค์กับความรักชอบในแนวแบบส่วนตน

ข.2.5. ค้นหาช่องทางที่จะนำความรู้สอดใส่เข้าไปในเชาวน์ปัญญานั้นโดยมิใช่วิธีการสอนสาด ถ้ามีศิษย์ 20 – 30 คนขึ้นไปนั้นมิใช่การสอนดนตรี แต่ถ้าเป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันอนุโลมได้สุดท้ายก็ต้องเรียกไปสอนตัวต่อตัวเมื่อถึงระดับขั้นใช้เชาวน์ปัญญาอยู่ดี

ข.2.6. ทำให้ศิษย์มีศรัทธาเกิด ให้ความจริงปรากฏผล เช่นครูต้องเก่งและดีมีฝีมือจริง ฝึกฝนต่อวิชาที่มีอยู่ในตนปรากฏผลจริงอยู่เสมอเมื่อแสดงตัวอย่างให้ศิษย์เห็นและเป็นคนจริงพร้อมที่ปะทะฝีมือกับศิษย์ได้ทุกเวลา ให้อภัยได้ อธิบายได้ มีเมตตาและให้กำลังใจด้วยการพัฒนาวิชาการดนตรีให้ศิษย์มีความเก่งฝีมือดีอย่างมีคุณธรรม ผลที่ออกมาศิษย์ย่อมเกิดความเชื่อถือและเลื่อมใส

ค. ครู จะต้องสอนเนื้อหาวิชาการดนตรีไปพร้อมกับทฤษฎีปฏิบัติด้วยจิตอันเป็นศิลป์อันเป็นสิ่งยากที่ต้องไปพร้อมกัน – รวมร่วมกันเชิงสร้างสรรค์ ต้องรู้ที่มาของการเป็นดนตรีถือการอนุรักษ์พัฒนาไปอย่างพร้อมกันและเท่าเทียมทัน

ง. ครู ต้องปกป้องคุ้มครองศิษย์แม้ว่าศิษย์ผู้นั้นเข้ามอบตนเพียงแค่วันหรือสองวันก็ตามนั้นต้องถือว่าครูเป็นบุพการีคนที่สองของศิษย์แล้ว

การแสดงดนตรีไทยประกอบ

การแสดงดนตรีไทยประกอบโขน ละคร ลำตัด หนังใหญ่ หนังตะลุง หมอลำ กันตรึม โนราห์ การแสดงภาษายาวีปฏิภาคดนตรีไทยทุกจังหวัดนั้น ก่อนแสดงจะต้องมีพิธีการไหว้ครูเพื่อเป็นมงคลให้แก่ผู้แสดง กับผู้เล่นดนตรีประกอบหรือแก่ตนเอง เพื่อการรำลึกถึงบุญคุณของครูที่ได้สั่งสอนอบรมให้เป็นคนดี มอบวิชาชีพให้เพื่อการดำรงสืบสาน ทั้งยังเป็นกำลังใจใช้ความดีต่อสู้อุปสรรค ความดีในวิชาของครูทำให้ศิษย์สำนึกกตัญญู และนำชิ้นงานนั้นไปแพร่หลาย จึงเกิดมีความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับครูกลายเป็นประเพณีวัฒนธรรมอันยาวนานตามคติโบราญกาลเป็นค่านิยมอย่างสูงส่ง คำว่าศิษย์ที่ดีหมายถึงศิษย์นั้นมีที่มาจากครูท่านนี้หรือมาจากครูท่านนั้นถือว่าเป็นศิษย์มีครูมีสำนัก วัฒนธรรมดนตรีไทยศิษย์ต้องมีครูไว้เชื่อถือ เชื่อฟัง เคารพและศรัทธาเป็นสำคัญ ถึงจะมีวิชาต่อการดำรงชีพ เมื่อจะกระทำการดนตรี การระลึกถึงครูดนตรีนั้น เป็นการย้ำเตือนให้ใช้วิชาชีพที่มอบให้ในทางดีเพื่อตนเองอยู่เสมอ

พิธีการไหว้ครูดนตรีไทย 2

ศิษย์ดนตรีไทยทุกรุ่นได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการไหว้ครูแบบมีพิธีการ จัดรูปแบบวัฒนธรรมจนเข้าขนบประเพณีของชาวนักดรตรีไทย ใช้พิธีกรรมทางพุทธศาสนา สำหรับพิธีกรรมไหว้ครูดนตรีไทยทางพุทธศาสนานั้นไม่มี แต่ให้มีพิธีบูชาพระพุทธยกไว้ให้เป็นประทานเหนือพิธีการไหว้ครูดนตรีไทย และต้องทำพิธีบูชาพุทธศาสนาเป็นสิ่งแรก จากนั้นจึงเข้าศาสนาพราหมณ์เป็นพิธีไทยพราหมณ์ในลำดับต่อไปโดยใช้วันพฤหัสบดีเป็นวันไหว้ครูต่อการดำรงพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทยนั้นสำหรับผู้เล่นเครื่องมือดนตรีไทยย่อมให้ความเคารพอย่างเสมอมา เพราะยึดถือกันว่าครูผู้ประสิทธิประสาทเครื่องมือและวิชาให้

1.เชื่อกันว่าเป็นเทวะศาสตราจารย์องค์วิษณุ หรือพระวิษณุกรรมปางแห่งองค์นารามายานะเป็นช่างผลิตเครื่องดนตรี

2. เทวะศาสตราจารย์องค์ปัญจะสิงขรเป็นนักดนตรีเล่นเครื่องประเภทดีดและเครื่องประเภทสี

3. ครูมนุษย์ พระลัพพาศรี เป็นครูเครื่องดนตรีประเภทตีคือระนาดเอก – ทุ้ม

4.บรมครูเทวะเทพ พระประโคมทับตำแหน่งตะโพนประเภทเครื่องหนังทั้งหมด แต่ตะโพนถือเป็นบรมเครื่องมือดนตรีไทย

5.ครูมนุษย์ พระนาคพิภพเป็นครูเครื่องมือ โลหะที่มีฉัตร เช่น ฆ้องวง - เล็ก – กลาง – ใหญ่ – เหม็ง – หฮุ่ย – ฆ้องแห่

6. ครูมนุษย์ พระศรีลมเฉื่อยหรือพระศรีสมชายในตำแหน่งเครื่องเป่าทุกชนิด เช่น ชลุ่ย – ปี่

ขณะเวลากำลังเข้าพิธีอยู่นั้น ชาวนักดนตรีไทยสามารถนำเครื่องดนตรีส่วนตนหรือเครื่องดนตรีที่อยู่ในความครอบครองนำเข้าเจิมเพื่อเป็นมงคลและทำความเคารพบูชา ขอขมา ขออภัยต่อการที่ได้ล่วงเกินไม่ว่าเวลาใด ทั้งจำได้ และจำไม่ได้ อีกต่อหน้าและลับหลัง ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ถูกชักจูงให้เผลอพลั้งไป ก็ขออโหสิกรรมต่อการกระทำนั้นๆ ด้วยกาย วาจา ใจแล้วนั้นเทอญ ต่อเมื่อพิธีการไว้ครูดนตรีไทยเสร็จสิ้นแล้วเชื่อถือกันว่า "ครู" ให้อภัยแล้ว

ประวัติความเป็นมาของการไหว้ครูดนตรีไทย

มีเพียงหลักฐานบอกเล่ากันสืบต่อมาว่า ดินแดนเสียมหรือดินแดนสยามก่อนที่จะมีชื่อว่าสยาม มีกลุ่มชนหลายหมู่เหล่าได้รวมเป็นกลุ่มเล็กๆตั้งแต่เหนือจรดใต้ และสร้างสมาชิกเผ่าพันธุ์ของแต่ละกลุ่มขึ้น ตั้งหลักแหล่งประกอบอาชีพ กระจายเกาะกันไปตามสมาชิกกลุ่มและไปมาหาสู่ระหว่างผู้รู้จักต่างใกล้กลุ่มด้วยกัน กลุ่มชนต่างๆดังกล่าวนี้มีความเชื่อความคิดเห็นเป็นส่วนตัว แต่มีส่วนน้อย จะมีแต่ผู้นำกลุ่มตั้งระบบขึ้น เริ่มแรก ต่างใช้ความเชื่อเป็นหลักนำพาความคิดโดยเฉพาะเรื่องผี อันเกิดจากความคิดของผู้นำ อย่างผีประจำเผ่าพันธุ์และประจำตัวดังมี ผีแถน ผีฟ้า ผีบุญ ผีพญาแถน ผีบ้าน ผีเมือง ผีตองเหลือง ผีญาติ ผีสิงประจำถิ่น ประจำสถาน ผีไม้ ผีประจำเครื่องใช้ไม้สอย ย๋า สะย๋า ดัดญาณ อีกมากที่ยอมเชื่อและมีไว้คุ้มครองให้มีความร่มเย็นเป็นสุขแก่มวลสมาชิกกลุ่มโดยรวม ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่สวนไร่นา สะดวกต่อการแลกเปลี่ยนกรณีหาที่พึ่งทางใจซึ่งกันและกัน

การแสดงออกต่อความเชื่อเรื่องพิธีกรรม

ส่วนประกอบต่อความเชื่อนั้นดังมี

1.เลี้ยงผี เซ่นผี และทำพิธี

2. เลี้ยงคน หลังจากทำพิธีเลี้ยงผี

3. แสดงการรื่นเริงบันเทิง

พิธีเลี้ยงผีเมื่อเข้าสมัยไทย – ลาว มีการจัดพิธีกระทำประจำในหมู่บ้านตามความเชื่อเช่นเชื่อในผีตนเดียวกัน ต่างร่วมจัดอาหารหวานคาวในพิธีเลี้ยงผีด้วยเครื่องสังเวย บางกรณีใช้เครื่องดีด สี ตี เป่า เข้าพิธีร่วมเซ่นผีขอความคุ้มครองจากภัยไข้ป่า และให้พืชผลเจริญงอกงามดี

หลังจากเสร็จพิธีและขออนุญาตแล้วก็ช่วยกันยกเครื่องสังเวยมาเลี้ยงผู้มาในงานและผู้ร่วมงานจนอิ่มหนำสำราญกันถ้วนทั่ว

ภาคสุดท้าย ได้มีการระเล่นรื่นเริงบันเทิงใจด้วยชายหญิงลำลองออกตอบโต้เป็นโคลงกลอน และสิ่งประกอบด้วยเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มิใช่แค่เพียงนั้น กระบวนพิธีเลี้ยงผียังล้ำเส้นเข้าไสยศาสตร์ใช้ผีให้มีพฤติกรรมตามคำสั่ง และมีบทบาทต่อการให้ช่วยเหลือคนมีเคราะห์ คนป่วย บางกรณีใช้ดนตรีช่วยต่อการอันเชิญ ผีฟ้า ประเภทผีสร้างบุญ ผีมีคุณลงมาสิงคนด้วยการฟ้อนรำเพื่อเชิญมารักษาโรค

เมื่อชาวสยามรับเอาศาสนาพุทธซึ่งเข้ามาจากอินเดีย และใช้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำประเทศ แต่ในขณะเดียวกันได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเข้ามาด้วย ได้เริ่มละทิ้งวิธีการเรื่องผีด้วยการใช้ศาสนาเข้าแทน แต่ก็มิได้ใช้ศาสนาพุทธทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทย เพียงใช้แค่เป็นประธานงาน แล้วใช้ศาสนาฮินดู – พราหมณ์เป็นกระบวนพิธีงาน จัดเป็นประเพณีไหว้ครูดนตรีไทยได้อย่างกลมกลืนสืบร่วมเรื่อยมา

ถึงรัชสมัยเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 1 ค่ำเดือน 6 พุทธศักราช 2397 ได้ทรงเริ่มจัดพิธีไหว้ครูละครหลวงขึ้น ส่วนการจัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทยนั้นยังมิปรากฏเป็นทางการ จนมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพิธีไหว้ครูดนตรีไทย จึงได้เกิดขึ้นจนถึงรัชกาลปัจจุบัน แต่ส่วนมากแล้วพิธีการไหว้ครูดนตรีไทยนิยมใช้วันพฤหัสบดีประกอบพิธีไหว้ เพราะการจัดพิธีทุกครั้งทางศาสนาพราหมณ์จะกำหนดวันทำพิธีไหว้ สันนิฐานว่าอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ที่นับถือองค์พรหมเป็นผู้ร้างทุกสรรพสิ่ง คือองค์ท้าวเทวะเทพที่พราหมณ์นับถือ หรืออีกนามหนึ่งคือเทวะเทพนามพฤหัสบดี ในฐานะปุโรหิตศาสดาตราจาร และยังเป็นที่เคารพนับถือแห่งองค์อินทร์ราชาเจ้าและองค์เทวะอื่นๆรองลงมา

ยังมีเรื่องขานกันมาว่าในศาสตร์ของโหราจารย์มีคัมภีร์ไตรภพลง เรื่องราวเป็นอักษรไว้ได้กล่าวถึงพระอิศวร (จีฟวาย)ทรงนำฤษี 19 ตนมาชุมนุมร่ายเวทย์สร้างองค์เทพพฤหัสบดีอีกชื่อหนึ่งขององค์พรหม ด้วยการป่นผงมงคลจนละเอียดแล้วพรมด้วยน้ำอมฤต (เข้าใจว่าเป็นน้ำปฏิหารย์ มีฤทธิผลแจ้งปรากฏการณ์ มิใช่เหล้า) จนปรากฏเป็นองค์เทวะเจ้าขึ้นนามพฤหัสบดี มีคุณสมบัติจัดไว้อยู่ฝ่ายธรรม ข้างฝ่ายเทวะบุญ ดังนั้นวิชาที่ได้จากองค์พฤหัสบดีพรหมจึงเป็นวิชาฝ่ายคุณธรรม

ความเป็นมาว่าด้วยทางโหราศาสตร์กับภูมิศาสตร์ พฤหัสบดีเป็นดาวพระเคราะห์ หมายถึงดาวที่ไม่มีแสงสว่างจากตัวเองต้องอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์ถึงทำให้มนุษย์ส่องกล้องมองเห็นด้วยตาได้ มีธาตุไฟในเวลากลางวันหมายถึงมีก๊าซทำอันตรายแก่มนุษย์ เป็นดาวที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ก๊าซได้ปกคลุมทั่วพื้นผิวดาวพระเคราะห์ดวงนี้ มีธาตุน้ำในเวลากลางคืน หมายถึงมุมที่ไม่ค่อยโดนแสงอาทิตย์ย่อมมืดสลัวเย็นชื้น เย็นเยือก มีแสงเรือง โทนสีเหลืองอมส้ม หมายถึงให้ความอบอุ่นแก่มนุษย์และชุ่มชื้นในความรู้สึกของมนุษย์เมื่อมองเห็น และเป็นคุณลักษณะทางจิตวิทยาเมื่อครั้งใดที่ได้กล่าวถึง แต่โดยทางภูมิศาสตร์แล้วสายพาดคล้ายเส้นคาดของดาวพฤหัสบดีเป็นอุกาบาทต่างขนาด โคจรรอบดาวพฤหัสบดีอยู่ สัญญาลักษณะที่ชาวนักดนตรีไทยถือเป็นดาววิทยาการให้ความรู้แก่ชาวมนุษย์ ชาวนักดนตรีไทยจึงรับวันพฤหัสเป็นวันครู กำหนดไว้ให้มีลักษณะฤษีรูป สีผิวของร่างกายดังกับสีแก้วไพฑูรย์ อาภรณ์ประดับแก้วมุกดาหารมือถือกระดานชนวนไม่ใช่ Note book มีกวางใส่อาภรณ์ทองเป็นพาหนะ สัญญาลักษณะเทวะแห่งความดี

การจัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทยมี 3 ระดับดังมี

ลำดับที่ 1 .ผู้ที่เป็นนักดนตรีแล้วได้ผ่านกฎระเบียบการรับเป็นศิษย์จากครูดนตรีไทยแล้วเมื่อเข้าร่วมพิธีต้องนำเครื่องบวงสรวงมาสักการบูชามี 12 ชนิดและหรือแบ่งรับหน้าที่ร่วมกันจัดหามาหรือผู้ต้องการเกี่ยวข้องซึ่งมีศรัทธาต่อการไหว้ครูดนตรีไทยดังนี้

1. หน้าสุกรต้มสุก 1 หัว

2. เป็ดต้มสุก 1 ตัว

3. ไก่ต้มสุก

4. บายศรีปากชาม 1 คู่

5. ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว คันหลวง หูช้าง

6. กล้วยพอสุกลักษณะหวี มะพร้าวอ่อน ผลไม้ชื่อเป็นมงคล

7. กับข้าว สำรับคาวหวาน

8. เหล้า

9. ข้าวตอกดอกไม้ กระแจะ ธูปเทียน

10. ผ้าสีชมพูอ่อน ปูหน้าโขน (เศียร)ครู

11. ผ้าขาว ขันล้างหน้า และขันทำน้ำมนต์ เทียนมนต์

12. เงินกำนล 12 บาท สำหรับค่ากำนลทั้ง 12 ข้อ

ลำดับที่ 2 การไหว้ครูดนตรีไทยกำหนดใช้วันพฤหัส เดี๋ยวนี้ใช้วันอาทิตย์แทนได้ เพราะตามหลักโหราศาสตร์ถือว่าเทพพระอาทิตย์เป็นมิตรกับเทพพฤหัส อาจสะดวกเพราะเป็นวันหยุดราชการซึ่งถือเป็นวันแทนครูได้ด้วย ส่วนการไหว้ครูเพื่อรับศิษย์ใหม่นั้น กระทำการได้ทุกวันโดยใช้เพียงแค่ดอกไม้ ธูป เทียน ค่ากำนลครู 12 บาทเพื่อการสร้างนำกุศล อันเป็นมงคลให้กับศิษย์ผู้นั้น เช่น ครูดนตรีไทยนำเงิน 12 บาทไปซื้อของใส่บาตรแล้วอุทิศกุศลให้กับศิษย์ใหม่ผู้นั้นหรือสร้างบารมีทานให้กับศิษย์ใหม่ผู้นั้นก็ได้หลายทาง

ลำดับที่ 3 พิธีไหว้ครูดนตรีพิธีไทย - ตอนที่ 1 จะเริ่มในเย็นวันพุธถือเป็นเวลาการจัดพิธีไหว้ครูมาแต่โบราญด้วยพิธีสวดมนต์เย็น มีเพลงชุดโหมโรงเย็นบรรเลงเป็นมงคลจากวงปี่พาทย์ตั้งวงรอไว้พร้อมที่จะบรรเลง เมื่อเริ่มพิธีทางพุทธศาสนาด้วยการเชิญพระรัตนะไตร ได้จัดตั้งไว้เหนือเศียรครูทุกรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคลทั้งหลายรวมร่วมพิธี เมื่อวงปี่พาทย์ได้ประโคมเพลงรับพระแล้ว พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์และให้เวลาพระสงฆ์ฉัน โดยใช้วงปี่พาทย์บรรเลง เมื่อพระสงฆ์ให้ศีลให้พรแล้วก็นิมนต์กลับโดยใช้เพลงส่งพระด้วยวงปี่พาทย์ซึ่งเตรียมไว้จากสานุศิษย์ที่ชำนาญการให้เสร็จสิ้นก่อนพิธีนี้ก่อน 9 โมงเช้า เมื่อเริ่มพิธีไทย – พราหมณ์ ตอนที่ 2 "ครู"ผู้เป็นมนุษย์ได้ถูกคัดสรรที่มาทำหน้าที่อ่านโองการต่อการทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทยต้องทำน้ำมนต์ให้แก่ศิษย์ดนตรีไทยทั้งหลายนำบูชาพระรัตนะไตรตามแต่ศิษย์ใดอธิฐานตามความต้องการ

เริ่มพิธีไทย – พราหมณ์ ตอนที่ 3 "ครู" ผู้อ่านโองการนำเข้าศาสนาพราหมณ์โดยพิธีบูชาตามคาถากำหนด โดยกล่าวนำเพื่อความพร้อมเพรียงของเหล่าศิษย์ รวมทั้งขอศีลขอพรและขอขมาให้ ณ เศียรครูทั้ง 9 เพื่อให้ อภัย ต่อศิษย์ ที่ได้ประมาทพลาดพลั้งด้วยกายวาจาใจ จากนั้นศิษย์จึงร่วมถวายเครื่องสังเวยที่เตรียมไว้แล้วในข้อลำดับที่ 1(ย้อนอ่านดูรายการ) แล้วอัญเชิญ

  • 1.เศียรองค์เทพอิศวร (ศิวะ – จีฟวาย) ผู้สร้างจุดอวสาน ผู้ทำลาย
  • 2.เศียรองค์เทพ พรหม ผู้สร้างกำเนิดทุกสรรสิ่ง
  • 3. เศียรองค์เทพนารายณ์ (ไม่ใช้รามในพิธีไหว้ครู – แต่ฮินดูเรียกราม) ผู้บริหารดำเนินการคงอยู่
  • 4.เศียรองค์เทพพิฆเนศวร ผู้รักษาข้อมูลทางปัญญาเพื่อมนุษย์
  • 5.เศียรองค์อสูรเทพพิลาป (ปางหนึ่งหรืออีกบทบาทหนึ่งของพระศิวะ - ประธานเทพอสูรแห่งดนตรีแนวเครื่องปี่พาทย์)
  • 6.เศียรองค์มนุษย์เทพองค์ปันจะสิงขร ทำหน้าที่แนะนำให้ท้าวเทพสักกะ (พระอินทร์) ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยการบรรเลงพิณต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้า จนได้รับคำชมเชย (ประธานเทพมนุษย์แห่งดนตรีแนวเครื่องสาย) หนังสือบางเล่มกล่าวว่าเป็นมนุษย์เทพองค์เดียวกันกับองค์เพชรฉลูกรรณ แต่หนังสืออีกบางเล่มกล่าวว่า เป็นคนละองค์แล้วยังเป็นนักบวชหญิง ปางหนึ่งหรืออีกบทบาทหนึ่งขององค์มนุษย์เทพวิษณุกรรมสุกรรมอีกปางหนึ่งหรืออีกบทบาทหนึ่งของเทพนารายณ์
  • 7.เศียรองค์มนุษย์เทพวิษณุกรรมสุกรรม (ปางหนึ่งหรืออีกบทบาทหนึ่งของพระนารายณ์ ประธานเทพองค์อาชีพช่างทั้งมวลและผลิตเครื่องมือ – เครื่องดนตรี)
  • 8. เศียรองค์มนุษย์เทพพระประโคมทับ(ประธานผู้ให้จังหวะ – เวลา และโอกาส)
  • 9.เศียรองค์มนุษย์เทพในคราบนักบวชฤษีนารอด ปางหนึ่งหรืออีกบทบาทหนึ่งของพระนารายณ์ในนาฏศิลปินลีลา

พิธีอ่านโองการ

  • โดยการอ่านโองการเป็นภาษาบาลีในคัมภีร์การไหว้ครูดนตรีไทย เมื่อเสร็จต่อภาคหรือปางจึงขานเพลงตระหน้าพาทย์ต่างๆให้วงปี่พาทย์รับเพราะฉะนั้นวงที่รับงานนี้ต้องมีคุณภาพอย่างระดับสูง และได้เพลงครบพิธีการ เพื่อที่รองรับการสั่งเพลงนั้นๆเพื่อให้สมดังปารถนา ดั่งผู้อ่าโองการโดยเฉพาะเพลงตระหน้าพาทย์ลักษณะวรรณะและตระหน้าพาทย์บอกกริยาเชิญให้เข้าร่วมพิธี รับเครื่องสังเวยและเสด็จกลับดังมีรายการเพลงตระหน้าพาทย์ต่อการทำพิธี พอสังเขป (ห้ามใช้คำนี้) ดังนี้

1. ตระหน้าพาทย์เพลงสาธุการ 2. ตระหน้าพาทย์เพลงสาธุการกลอง

3. ตระหน้าพาทย์เพลงสันนิบาต 4. ตระหน้าพาทย์เพลงเทวาประสิทธ์

5. ตระหน้าพาทย์เพลงเชิญ 6. ตระหน้าพาทย์เพลงนารายณ์บรรทมศิลป์

7.ตระหน้าพาทย์เพลงพระประคนธรรพ 8. ตระหน้าพาทย์เพลงตระบองกัน

9..ตระหน้าพาทย์เพลงพระพิฆเนศวร 10.ตระหน้าพาทย์เพลงดำเนินพราหมณ์

11. ตระหน้าพาทย์เพลงพราหมณ์เข้า 12.ตระหน้าพาทย์เพลงเสมอข้ามสมุทร

13. ตระหน้าพาทย์เพลงเสมอเถร 14. ตระหน้าพาทย์เพลงเสมอมาร

15. ตระเพลงเสมอผี 16.ตระเพลงเสมอไทย

17. ตระหน้าพาทย์เพลงบาทสกุณี 18.ตระเพลงเสมอมอญ

19.ตระเพลงเสมอพม่า 20.ตระเพลงเสมอลาว . 21.ตระเพลงเสมอแขก 22. ตระเพลงเสมอชวา

23.ตระเพลงเสมอสามลา 24.ตระหน้าพาทย์เพลง

25.ตระหน้าพาทย์เพลงคุกพาทย์ 26.ตระหน้าพาทย์เพลงแผละ (พญาครุฑ)

27. ตระหน้าพาทย์เพลงพระยาเดิน 28. ตระหน้าพาทย์เพลงกราวนอก

29. ตระหน้าพาทย์เพลงกราวใน 30.ตระหน้าพาทย์เพลงกราวกลาง

31.ตระเพลงเหาะ 32. ตระเพลงโล้ (กากีลอยแพ)

33. เพลงช้า – เพลงเร็ว 34. ตระกลม

35.ตระโคมเวียน 36. ตระลงสรง

37. เพลงนั่งกิน 38. เพลงเซ่นเหล้า

39.ตระหน้าพาทย์ใหญ่พระพิลาปเต็มองค์ กระบวนการตระเพลงสูงสุดของพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

40. เพลงโปรยข้าวตอก 41.เพลงมหาชัย

42.ตระเพลงเสมอเข้าที่ 43. ตระหน้าพาทย์เพลงพราหมณ์ออก

44. เพลงเชิด 45. กราวรำ ................จบพิธีกรรม

นำเครื่องสังเวยที่เตรียมไว้ในใบตองไปวางให้ผู้สถิตเจ้าขวัญมงคลจักวารทั้ง 4 ทิศ 4 ชุดและหรือวางให้ผู้สถิตเจ้าขวัญมงคลจักวาร 8 ทิศ 8 ชุดในเขตรั้วบ้านกับอีก 1 ชุดนอกเขตรั้วบ้านสำหรับสรรพวิญญาณที่บกพร่องต่อการสร้างกุศล จากนั้นครูโปรยข้าวตอกดอกไม้ประพรมน้ำมนต์ตามเครื่องมือดนตรีเจิมกระแจะผูกผ้าหน้าโขน (เศียร) หรือเปลี่ยนใหม่ให้พร้อมกับเจิมหน้าให้ศิษย์ที่เข้ามาขอความเป็นมงคล และทำพิธีครอบเศียรโดยใช้เศียรฤษีหรือ แล้วแต่การเห็นสมควรของครูผู้ครอบให้นั้นครอบลงไปบนหัวของศิษย์ ใช้เพลงตระหน้าพาทย์โหมโรงเย็น

สำหรับศิษย์ที่ต้องการให้ครูผู้ครอบทำพิธีให้ ต้องจัดหาเครื่องสังเวยแบบ ในรายการลำดับข้อ 1 โดยให้ศิษย์นำเครื่องดนตรีที่ตนต้องการฝึกฝนเข้ามาหาครูผู้ครอบแล้วกราบ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 หมายถึงพุทธ คือปัญญา ครั้งที่ 2 หมายถึงจิตตะ คือความตั้งใจต่อวิชาที่ได้รับ ครั้งที่ 3 หมายถึง ทักษะฝึกฝนและอดทน ให้อภัยตนในความผิดพลาด และให้กำลังใจแก่ตน กว่าจะค้นพบทางจนสำเร็จเพื่อให้ตนมีความเจริญในฝีมือต่อการดำรงชีพเลี้ยงตน

เริ่มพิธีไทย – พราหมณ์ ตอนที่ 3 คือการครอบครูระดับขั้นพิเศษใช้เพลงหน้าพาทย์ขั้นสูงสำหรับผู้ที่ขอกรรมสิทธิ์จากครูผู้ครอบให้ ในการที่จะเป็นประธานอ่านโองการพิธีการไหว้ครูดนตรีไทย ศิษย์ผู้นั้นต้องท่องวิชาการอ่านตำราคาถาสำหรับไหว้ครูดนตรีไทยนั้นจนคล่องอย่างเข้าใจ ครูผู้ครอบวิชาให้จะทำพิธีให้แก่ศิษย์ผู้ประสงค์ แต่ ศิษย์ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติจรรยาวาสนาบารมี พร้อมที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคมการไหว้ครูดนตรีไทย

ผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

การทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ครูผู้อ่านโองการนั้นต้องแต่งชุดห่มขาว หมายถึงสัญญาลักษณะ"ความดีมีมงคลอย่างสะอาดทั้งมวล" กล่าวคาถาสรรเสริญอัญเชิญครูเทวาสังคีตาอาจารย์ มาชุมนุมในพิธีเพื่อทำพิธีไปตามลำดับขั้นตอน จนครบตามกำหนดพิธีไว้ จากนั้นครูก็ทำพิธีเชิญเทวาสังคีตาจารย์กลับยังถิ่นองค์ สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ผู้อ่านโองการไหว้ครูดนตรีไทยได้สืบทอดกันมาหลายสายหลายตระกูลหลายสำนัก แต่ถ้านอกกรอบการกล่าวดังกล่าวนี้ก็มีผู้มีคุณสมบัติจะริยะวรรณะจรรยาที่สังคมดนตรีไทยคัดสรรแล้วเชิญมารับสืบทอดการอ่านโองการได้ และต้องอยู่ในศีลธรรม มีวัตรปฏิบัติอันงดงามส่งผลให้วงการมีความเชื่อถือศรัทธาภูมใจที่ได้บุคคลมีคุณสมบัติเช่นนี้อยู่ในวงการตน ถ้าขาดสิ่งดังกล่าวนี้ไป ความเคารพศรัทธาจากผู้ร่วมพิธีย่อมเสื่อมถอย ไม่ทำพิธีการไหว้ครูดนตรีไทยศักดิ์สิทธิ เพราะการรับมอบนั้น ครูผู้มอบถ้าขาดความตระหนักและคัดสรรต่อวัตรปฏิบัติ ความไม่เหมาะสมทั้งปวงของผู้อ่านโองการคนใหม่ย่อมเกิดขึ้นและพิธีวัฒนธรรมไทยแขนงนี้ย่อมไม่เกิดความขลัง

คุณสมบัติวัตรปฏิบัติของผู้อ่านโองการ ผู้ดำเนินการวิจัยต้องการที่จะค้นคว้าถือเป็นสาระสำคัญคือ ต้องการนาย ก.ไก่ ฮูกสกุล ซึ่งมีศิลป์ประเพณี ปัจจุบันกำลังทำหน้าที่อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทยนี้อยู่ โดยผู้ดำเนินงานวิจัยเลือกบุคลากรผู้นี้ไว้ในกรณีศึกษา โดยอาศัยความรู้ที่เคยเป็นนักดนตรีไทย และประสบการณ์ของผู้ดำเนินการเอง จากการสัมภาษณ์ และการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมตามที่ปรากฏทางสังคมวัฒนธรรมดนตรีไทยแขนงนี้ และต้องการที่จะศึกษาความมีค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ อุดมการณ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมจากวิธีและกระบวนการเรียนรู้ในวัฒนธรรมแขนงดนตรีไทย

ผู้อ่านโองการที่ผู้ดำเนินการต้องการค้นคว้าหาคุณสมบัติวัตรปฏิบัตินั้นถือเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ดำเนินการต้องการครูไก่ ฮูกสกุล บุคคลมีศิลป์ประเพณี ปัจจุบันทำหน้าที่รับอ่านโองการในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยอยู่แล้ว กรณีเลือกบุคคลากรเพื่อศึกษา ผู้ดำเนินการได้อาศัยความรู้ดนตรีไทย และประสบการณ์ของผู้ดำเนินการเองเข้าวิจัย จากการสัมภาษณ์ และเฝ้าสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏทางสังคมดนตรีไทยอันเป็นวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ อุดมการณ์ ประสบการณ์ตามสภาพแวดล้อม และจากกระบวนการเรียนรู้ในขนบของสังคมดนตรีไทยแขนงเดิม

วัตถุประสงค์ต่อการวิจัย

1. เพื่อศึกษาชีวิตประวัติของผู้ได้อ่านโดรงการพิธีไหว้ครูดนตรีไทย คือครูไก่ ฮูกสกุล

พิธีไหว้ครูดนตรีไทยตามวัฒนธรรมไทยแนวอนุรักษ์ เป็นงานการวิจัยทางคุณภาพ ผู้ดำเนินงานวิจัยเลือกบุคลากรผู้นี้เข้ามาศึกษา ท่านได้เป็นถึงครูดนตรีไทย คือครูไก่ ฮูกสกุล ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดรตรีไทย โดยรับวิชามาจาก หมอกลองกล่ำ กลิ้งตระกูล บุตรของขุนเขี่ยสะเดาะเคาะสนั่นครืนครั่นวง มือระนาดเอกประจำกรมหน้า (แกลบ กลิ้งตระกูล) ซึ่งผู้ดำเนินงานได้ใช้ความรู้และประสบการณ์เองเข้าสัมภาษณ์สังเกตพฤติกรรม ประเพณี ความเชื่อถือจากสังคมดนตรีไทย ผลงานที่มีมาอุดมการณ์ ทัศนคติจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง

  • ซื่อครูไก่ ฮูกสกุล
  • หมอกลองกล่ำ กลิ้งตระกูล
  • ขุนเขี่ยสะเดาะเคาะสนั่นครืนครั่นวง มือระนาดเอก (แกลบ กลิ้งตระกูล) ทั้ง 3 จุดดังกล่าวนี้เพื่อเป็นแบบและตัวอย่างต่อการเข้าใจสำหรับต้องการทำวิทยานิพนธ์ .
  • คำว่าหมอกลอง หมายถึงยศของชาวบ้านตั้งให้ คือนายทุนและหัวหน้าวงกลองยาว มีลูกน้องแล้วตั้งวงรับงานเป็นอาชีพ

วัตถุประสงค์ต่อการวิจัย

2. เพื่อศึกษาคุณสมบัติของผู้ได้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทยคือครูไก่ ฮูกสกุล

2.1 คุณวุฒิทางดนตรีไทย ต้องเก่งและดีอย่างมีระดับสามารถทำการสอนทางดนตรีไทยได้ทุกระดับและต้องได้รับพิธีครอบครูขั้นที่ 1 แรกเริ่มด้วยการครอบฉิ่งหมายถึง ให้รู้จักความสม่ำเสมอในวัตรปฏิบัติ ให้รู้จักเวลาอย่างมี กาลและการ ที่สมควรและมิควร ให้รู้จักโอกาส ในสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ รู้จักครรลองของทำนองครองธรรมอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในการเปรียบเทียบต่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน พิธีครอบครูขั้นที่ 2 ถ้าเป็นกลุ่มประเภทเครื่องสายต้องได้ครอบโขนครู ทำพิธีกราบเครื่องมือที่ศิษย์ต้องการเล่นโดยครูผู้อ่านโองการจับมือศิษย์ต่อเพลงจะเข้หางยาวหรือตับต้นเพลงฉิ่ง ถ้าเป็นศิษย์กลุ่มประเภทวงเครื่องตีเช่น วงปี่พาทย์ เริ่มต้นด้วยการต่อเพลงสาธุการ ส่วนพิธีครอบครูขั้นที่ 3 ขั้นสูงสุด สำหรับผู้ที่คัดเลือกให้อ่านโองการได้รับการครอบหน้าพาทย์ขั้นสูงสุดคือ ตระเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราบ

2.2 วุฒิวัยทางดนตรีไทย ศิลปินดนตรีไทยซึ่งได้รับมอบการอ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทยต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผ่านการอุปสมบทแล้ว ต้องเป็นผู้มีความรู้ทางทักษะทฤษฎีเป็นอย่างดี ความสามารถทางดนตรีในฝีมือเชิงศิลป์อย่างมีประสบการณ์ และที่สำคัญ ต้องมีบารมีให้กับผู้มีความศรัทธาไว้เลื่อมใส เคารพเชื่อถือ กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

2.3 ธรรมวุฒิเมตตา ต้องมีความรู้สึกต่อการรับผิดชอบชั่วดี ตัดสินใจได้โดยใช้ความถูกต้อง เหมาะสม ดีงามอย่างมีศิลป์ ให้ได้ถึงจิตแห่งเมตตาธรรมประจำตนอย่างเสมอด้วยศิลป์ปัญญาธรรม อันดีชอบ

2.4 ประสิทธ์วุฒิศิลปิน ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้อ่านโองการอย่างเหมาะสม ประสิทธิประสาทความรู้ให้กับศิษย์อย่างเต็มความสามารถที่มีอยู่ ถ้าศิษย์รับได้ถ้ารับได้ไม่หมดก็รับศิษย์ต่างสำนักที่รับวิชาได้ให้มารับเพื่อการสืบสาน และเมื่อถึงเวลาย่อมต้องทำพิธีครอบครูและดูแลผู้รับช่วงดั่งพี่เลี้ยง ต่อเมื่อเห็นสมควรแล้ว ทำแทนได้แล้วย่อมต้องให้ทำแทนต่อไป เพื่อการแพร่หลายและสืบสานวัฒนธรรมพิธีการไหว้ครูดนตรีไทย

วัตถุประสงค์ต่อการวิจัย

3. เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนเป็นเสมอวัตร

หนังสือพจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายว่า

คำว่า "วัตร" หมายถึง การดำเนิน – วิธีทำเดิม (ทำซ้ำ – ปฏิบัติซ้ำ) ระดับอย่างดีตามลำดับ มีข้อกำหนดเป็นระเบียบแบบแผน

คำว่า "วัตรปฏิบัติ" คือ กระบวนการวิธีอันดีอันเป็นพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอที่ให้คุณประโยชน์ทั้งส่วนตัวและสังคม ตามระเบียบแบบข้อกำหนดให้ไว้ได้ครบ สมกับเป็นผู้ได้อ่านโองการทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

เพราะฉะนั้น คุณสมบัติ ของผู้อ่าโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทยต้องมีความประพฤติดี มีพฤติกรรมปฏิบัติดีได้อย่างเสมอ มีความซื่อสัตย์สุจริตตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมแห่งจะริยะบรรณจรรยาเพื่อดำรงบารมีอย่างมีคุณธรรมโดยไม่หวังฐานะ ผลที่เกิดนั้นทำให้พิธีการไหว้ครูดนตรีไทยเกิดความศักดิ์สิทธิ์ ส่วนการสอดคล้องกับพระพุทธศาสนาที่นำมาร่วมกันนั้นเป็นประเพณีที่ดี และเป็นวิธีจากครูโบราญได้จัดกำหนดไว้ เพื่อเตือนให้ผู้อ่านโองการได้รู้จักธรรมปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสดา และในสายทางของดนตรีนั้น ย่อมให้รู้โครงสร้างของศิลปะ ติดต่อติดตามศิลป์นั้นอย่างรู้ล่วงหน้าเพื่อศิลปินอย่างใกล้ชิดและรู้เท่าทัน

ขอบเขตในการวิจัย

1. เพื่อศึกษาชีวิตประวัติของผู้ที่ได้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

2. ความคิดและความต้องการของผู้ที่ได้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

3. ความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นศิลปินไทย

4. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับดนตรีและงานเพลง

ผู้ดำเนินการวิจัยได้ค้นคว้าจากหนังสือและสื่อดังนี้

1.ค้นคว้าหาข้อมูลจากสื่อ Google

2. ค้นคว้าหาข้อมูลภาพและเสียงแล้วนำมาแปลเป็นอักษรภาษาไทยจากYou tube

3. จากหนังสือเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 25 ปี แห่งวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2537.

4. จากประสบการณ์ตน

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ทราบชีวิตประวัติของผู้ที่ได้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

2. ทราบความคิดและความต้องการของผู้ที่ได้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

3. ทราบความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นศิลปินไทย

4. ทราบถึงความสัมพันธ์เกี่ยวกับดนตรีและงานเพลง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

กราบขอขมากรรมประพฤติที่ได้รับการสั่งสอนจากพระบรมครู ซึ่งได้ทิ้งพระธรรมชาติ สอนให้ศึกษา จนถึงครูน้อยคอยบรรจุ เป็นบุญคุณอันหาที่เปรียบมิได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม กระผมนายณัฐนพ อินทาภิรัต สำนึกบุญคุณอยู่เสมอ มีความต้องการที่จะต้องตอบสนองแทนคุณ แต่ คงไม่ได้ในส่วนที่มวลครูมอบให้ กระผมรับใช้ชาติด้วยการทำตนไม่เป็นที่เดือดร้อนต่อสังคมไทย ดำเนินชีวิตไปตามกติกาของกฏหมายและใช้ศีลห้าประคองตัวปฏิบัติตามระดับปัญญาที่ตนมีต่อความรู้ได้ รับมา ศึกษา ส่งไป และตอบสนองคืนให้ แต่ไม่ใช่วิชาหมวดสำเร็จรูป หลังจากนี้คิดว่าได้ตอบสนองตามความประสงค์แล้ว....อิสสระทางปัญญาย่อมมีเป็นได้...สบายใจสำหรับวงการศึกษาดนตรีไทย

ขอขอบพระคุณต่อวงการศึกษาดนตรีไทย..สังคมดนตรีไทย

หมายเลขบันทึก: 581229เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2015 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท