การสอนภาษาไทยแบบ มปภ.ที่เลือนหายไปนั้น...ช่วยพัฒนาการอ่านการเขียนได้


การสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา(มปภ.)
........การอ่าน เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา เด็กๆควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องการอ่าน การสร้างพื้นฐานการอ่านที่ถูกต้อง ใช้วิธีการสอนภาษาไทยที่ถูกต้อง จะส่งเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดกับเด็กๆ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเป็นกำลังของชาติต่อไปในบันทึกนี้ผู้เขียนขอแนะนำวิธีสอนอ่านที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่ประทับใจมาตลอด แม้ว่าจะเก่าไปบ้างแต่ยังคงประสิทธิภาพที่จะสร้างนักอ่านนักเขียนตัวน้อยๆ ซึ่งบางครั้งวิธีการสอนเก่าๆก็ยังมีความหมาย หากนำมาใช้พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้ดี

..........การสอนภาษาไทยมีหลากหลายวิธีด้วยกันที่ส่งเสริมการอ่าน ซึ่งการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาเป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง ที่มีความเหมาะสมกับการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๒ ช่วยพัฒนาการอ่านได้เป็นอย่างดีอีกทั้งยังพัฒนาการด้านการฟัง การพูด และการเขียนไปพร้อมๆกัน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้เขียนเคยเป็นครูชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๒ เคยได้ใช้วิธีสอนนี้กับนักเรียนผลที่ได้รับเด็กอ่านออก เขียนหนังสือได้

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา รูปแบบที่ ๑ มี ๕ ขั้นตอน

ขั้นที่ ๑ ครูอ่านเรื่องให้นักเรียนนฟัง

ขั้นที่ ๒ นักเรียนเล่าเรื่องย้อนกลับ

ขั้นที่ ๓ ครูและนักเรียนเขียนเรื่องร่วมกัน

ขั้นที่ ๔ นักเรียนทำหนังสือเล่มใหญ่

ขั้นที่ ๕ นักเรียนฝึกทักษะทางภาษา

ข้อดี
..........๑. เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญวิธีหนึ่งที่มี ลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการชัดเจน นักเรียนได้ฝึกปฏิบติเป็นกลุ่ม และรายบุคคล
..........๒. การสอนวิธีนี้ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ในการใช้ภาษาระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียนเป็นสำคัญ กระตุ้นให้นักเรียนกล้าแสดงออก ทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้
..........๓. นักเรียนได้เรียนจากง่ายไปหายาก จากการใช้ของจริงในชีวิตประจำวัน สื่อ และการใช้สัญลักษณ์ เพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
..........๔. หากสอนครบตามขั้นตอน จะทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย
..........๑ การสอนวิธีนี้ค่อนข้างจะยุ่งยาก ใช้เวลาค่อนข้างมากในระยะแรกๆ ของการเรียนเล่มแรกในขณะที่สอนในแต่ละขั้นต้องสอนให้จบตามขั้นตอนก่อนค่อยทำกิจกรรมอื่น หากกำลังสอนครูหยุดทำกิจกรรมอื่นก่อนค่อยมาสอน ครูต้องเริ่มต้นในขั้นตอนนั้นใหม่ทำให้เสียเวลา
..........๒. สิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดาษปรู๊ฟ สี ฯลฯ

...........๓. การสอนวิธีนี้ครูจะต้องอยู่กับเด็กตลอดเวลา หากมีภาระงานอื่นทำด้วยจะทำให้การสอนนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ
..........วิธีการสอนแม้จะเก่าไม่ทันสมัย หากแต่มีความเหมาะสมกับบริบทของเรา ช่วยพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ก็น่าจะนำมาใช้

เสียดายวิธีการสอนนี้เลือนหายไป

(บันทึกโดย อร วรรณดา ๒๕-๑๑-๕๗ )

หมายเลขบันทึก: 581091เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 05:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 05:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับอาจารย์นะคะว่าการสอนอ่านที่ครบตามขั้นตอนต้องใช้เวลา เพราะเป็นความต่อเนื่องของการคิด แต่ถ้าสอนนานๆ ไปเด็กจะคุ้นเคยและคิดได้ไวขึ้น จะสนุกกันทั้งครูทั้งเด็กนะคะ (ดิฉันคิดโดยจินตนาการเป็นเด็กที่ได้เรียนด้วยกระบวนการนี้ค่ะ)

วิธีสอนดีๆ ใช้เวลา แต่คุณค่ามาก หายไปเพราะเรามีหลักสูตรที่เน้นเนื้อหามากกว่ากระบวนการหรือเปล่าคะอาจารย์

ขอบคุณค่ะ คุณ nui ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วยังชอบวิธีการสอนภาษาไทย แบบ มปภ.ค่ะ ชอบกระบวนการทำให้เด็กได้ประสบการณ์เต็มที่ อาจจะช้าในระยะแรกๆแต่เมื่อพวกเขาเข้าใจกระบวนการแล้วจะเรียนไปได้อย่างรวดเร็ว อ่านออกเขียนได้ และในทุกวันนี้ หลักสูตรเรามีเนื้อหามากเกินไปค่ะ...โดยเฉพาะในระดับชั้นประถมต้น...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท