deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

“อุทาหรณ์ ประตูล็อคอัตโนมัติ”


แตกประเด็น "อุทาหรณ์ ประตูล็อคอัตโนมัติ" โดย คมสัน หน่อคำ


อุทาหรณ์จากความประมาทหรือที่เรียกว่าความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นำมาซึ่งความสูญเสียคนที่รัก
จากข่าวเด็กเล็กติดอยู่ภายในรถยนต์ที่มีให้เห็นและอ่านอยู่เป็นประจำ
มีทั้งสามารถช่วยเหลือได้และที่ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทันจนเด็กต้องขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิตมีให้เห็นเป็นตัวอย่างเป็นประจำ
เป็นเรื่องให้ได้พูดได้วิจารณ์กันอยู่ร่ำไป
เกิดเหตุทีข่าวก็เป็นที่สนใจในสังคมทุกครั้งทุกคราวไปเพราะผู้เสียชีวิตจากการติดอยู่ภายในรถมักจะเป็นน้องหนูเด็กตัวเล็กๆวัยกำลังซนกำลังน่ารักที่ต้องจบชีวิตด้วยความมักง่ายของผู้ใหญ่
มีเรื่องครั้งก็ออกมาพูดมาเตือนกันไปต่างๆนานา จากคนนั้นคนนี้ ต่างคนต่างพูดกันไป
เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งก็ลืมกันไป ซึ่งคนส่วนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเดินทางที่เวลาพาบุตรหลานหรือเด็กตัวเล็กๆเดินทางไปกับรถยนต์
นั้นเวลาต้องการจอดทำธุระหรือกิจกรรมต่างๆที่คิดว่า “ใช้เวลาไม่นาน แปบเดียว
เปิดแฮร์ ให้…..เด็กรอในรถดีกว่า” ด้วยภูมิอากาศของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนก็มักจะเปิดแอร์เย็นฉ่ำและปล่อยให้น้องหนูตัวเล็กๆนั่งรออยู่ภายในรถ
โดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล ด้วยความซุกซนตามประสาเด็กๆและพฤติกรรมชอบเลียนแบบ
เวลารออยุ่ภายในรถก็มักเล่นขี่รถอยู่ หมุนพวงมาลัย เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา บีบแตร
กดปุ๋มโน้นนี่ที่มีอยู่เต็มคอนโซลรถ
ไปตามประสาเด็กๆโดยเฉพาะเด็กผู้ชายที่จะชอบเรื่องรถเป็นพิเศษ
เล่นไปเล่นมาก็เผลอกดปุ๋มล็อคประตูอัตโนมัติขังตัวเองอยู่ภายในรถในช่วงระยะเวลาผู้ปกครองลงจากรถไปทำธุระ
หากโชคดีผู้ปกครองกลับมาเร็วก็สามารถช่วยเหลือได้ทัน แต่ก็จะมีปัญหาประตูล็อคอัตโนมัติไม่สามารถเปิดจากภายนอกได้ต้องกดปลดล็อดจากภายในตัวรถจึงจะเปิดประตูได้
(แน่นอนหลายท่านอาจจะคิดว่าทำไมไม่ใช้กุญแจรถหรือรีโมทปลดล็อคล่ะ????) ซึ่งการติดเครื่องรถยนต์ทิ้งไว้เพื่อเปิดแอร์นั้นจะต้องเสียบกุญแจรถทิ้งไว้และรีโมทก็มักจะติดกับกุญแจรถหรือเป็นอันเดียวกันเลย หากโชคดีน้องหนูที่ติดอยู่ในรถอายุ 5-6 ขวบ
พอพูดจารู้เรื่องก็สามารถบอกให้ปลดล็อคได้ แต่ส่วนใหญ่เด็กที่ติดอยู่มักจะเป็นเด็กที่มีอายุน้อยและไม่ค่อยจะรู้ความ
จึงไม่สามารถปลดล็อคประตูรถได้ เมื่อติดอยู่ในรถนานๆก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์(Co2)จากท่อไอเสียก็จะย้อนกลับเข้ามาภายในรถ ซึ่งก๊าซคาร์บอนที่สูบดมเข้าไปจะจับกับฮีโมโกลบิน
กลายเป็นคาร์บอกซีฮีโมลโกลบิน เมื่อจับแล้ว ออกซิเจนไม่สามารถจับกับฮีโมลโกลบินได้
ท้ายที่สุด เซลล์ก็จะขาดออกซิเจน ทำให้เกิดการระคายเคือง
ปวดศีรษะ เซื่อมซึม เคลิบเคลิ้ม สั่นกระตุก หายใจติดขัด หมดสติไม่รู้สึกตัว
หัวใจเต้นผิดปกติ เนื่องจากมีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ และมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต



การสตาร์ทเครื่องยนต์เดินเบาทิ้งเอาไว้
เพื่อให้ระบบปรับอากาศนั้นสร้างความเย็นสบายตลอดเวลา ความคิดที่รักสบายนี่เอง
ทำให้หลายคนกลายเป็นร่างไร้วิญญาณ เพราะ
แม้เครื่องยนต์และระบบปรับอากาศในห้องโดยสารจะไม่เกี่ยวข้องกัน ทว่าความจริงนี่เป็นจุดเริ่มต้นของความตาย


หมายเลขบันทึก: 580830เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท