สรุปความก้าวหน้าของ 15 ภาคีเครือข่าย เรารักสงขลา (1)


สรุปความก้าวหน้าของ 15 ภาคีเครือข่าย เรารักสงขลา(1)

หลังจากที่ 15 ภาคีเครือข่ายเรารักสงขลา ได้ร่วมกันจัดทำ วิสัยทัศน์สงขลา 2570 ออกมาเป็นที่เรียบร้อย โดยได้วิสัยทัศน์สงลา "สงขลาเมืองเศรษฐกิจสร้างสรร สังคมเป็นสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน" ได้มีการพบปะพูดคุยในภาคส่วนต่างๆในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ในส่วนของจังหวัดในสมัยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา(นายกฤษฎา บุญราช) ได้เรียกกลุ่มทีพบปะพูดคุยโดยการประสานงานของมูลนิธิชุมชนสงขลาว่า "กลุ่มผู้เห็นประโยชน์ส่วนรวม" ในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆในจังหวัดสงขลา เช่นการบุกรุกป่าต้นน้ำผาดำรอยต่อของอำเภอสะเดา อำเภอคลองหอยโข่ง และการป้องกันภัยพิบัติของจังหวัดเป็นต้น ประจวบกับได้เกิดเหตุการณ์ คืนความสุขให้ประชาชน ได้ก่อรูปกระแสการปฎิรูปบ้านเมืองขึ้น "กลุ่มผู้เห็นประโยชน์ส่วนรวม" ได้พบปะพูดคุยในการมีส่วนร่วมในการปฎิรูปจังหวัดสงขลา โดยมีทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ อค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ซึ่งมีลักษณะความเข้มแข็งของท้องถิ่นที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขี้นเป็นผู้บริหารโดยไม่มีการซื้อเสียง และไม่มีการแข่งขัน เป็นฉันทามติจากการพบปะพูดคุยของชุมชนในท้องถิ่น และองค์กรบริหารส่วนตำบลท่าข้ามก็มีประเพณีปฎิบัติในทำนองเดียงกันกับตำบลควนรู นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของทั้งสองแห่งคือท่านนายกฯถั่น จุลนวลจาก อบต.ควนรู และท่านนายกฯสินธพ อินทรัตน์ จากอบต.ท่าข้าม จึงได้จับมือกันในการจะสถาปนา "สภาพลเมือง" ขึ้นในท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของทั้งสองแห่งและขยายแนวคิดสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเกลอในจังหวัดเพื่อขยายผล โดยที่ผู้บริหารได้ถอดหมวกการเป็นผู้บริหารในการเป็นคนๆหนึ่งในสภาพลเมือง เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของสภาพลเมือง ในวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2557 ทางองค์กรบริหารส่วนตำบลควนรู ได้เชิญคณะจากองค์กรบริหารส่วนตำบลท่าข้าม และเหล่ามวลมิตรจากหลายๆแห่ง พบปะพูดคุยกันที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู โดยนำเสนอสภาพลเมืองตำบลควนรู หมายถึงพื้นที่กลางหรือพื้นที่สาธารณะที่บุคคล แกนนำ ผู้นำ กลุ่ม องค์กร เครือข่ายที่มีความหลากหลาย มีจิตอาสาเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน คิดได้ พูดเป็น ทำเป็น มาร่วมพูดคุย ปรึกษาหารือหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและตัดสินใจบนพื้นฐานความรู้ โดยใช้สติปัญญาเป็นฉันทามติร่วมกันซึ่งมีความแตกต่างกับ สภาประชาชนตรงที่คำว่าประชาชนหมายถึงบุคคลทั่วไปใครก็ได้ แต่คำว่าพลเมืองคือพลังหรือกำลังสำคัญของบ้านเมืองที่ต้องคอยปกป้อง ดูแลรักษา และต่างกับศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชนในที่มาและโครงสร้าง โดยองค์ประกอบสภาพลเมืองประกอบด้วย 1. ตัวแทนศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน/สภาองค์กรชุมชน 2.ตัวแทนองค์กรการศึกษา 2 ท่าน 3. ตัวแทนท้องที่ 3 ท่าน 4.ตัวแทนท้องถิ่น 3 ท่าน 5.ตัวแทนสภาท้องถิ่น 2 ท่าน 6.ตัวแทนองค์กรสาธารณสุข 2 ท่าน 7.ตัวแทนองค์กรสตรี 1 ท่าน 8. ตัวแทนสภาวัฒนธรรม 1 ท่าน 9. ตัวแทนภูมิปัญญา 1 ท่าน 10. ตัวแทนองค์กรการเงิน 1 ท่าน 11. ตัวแทนผู้พิการ 1 ท่าน 12. ตัวแทนศูนย์พิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค 1 ท่าน 13. ตัวแทนองค์กรศาสนา 1 ท่าน 14. ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ท่าน 15.ที่ปรึกษา/ทีมวิชาการ 4 ท่าน บทบาท/ภาระหน้าที่ของสภาพลเมืองตำบลควนรู 1. ประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุนและแสวงหาความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วน 2. จัดกระบวนการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับเวทีย่อยเวทีใหญ่ 3. แนะนำ แสดงความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอ ต่อการปฎิรูปในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดและระดับชาติ 4. ร่วมดำเนินการและพัฒนาตำบลเป็นพื้นที่จัดการตนเอง หลังจากนั้นได้เตรียมการนัดวันไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์การบริหารตำบลท่าข้าม ในครั้งต่อไป

หมายเลขบันทึก: 580623เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2014 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท