AARการเข้าร่วมประชุมSEARCH research Forum on NeuroAIDS


ไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่น้อยไปกว่าแอฟริกาแต่การสำรวจและรายงานเกี่ยวกับNeuro 0n AIDS ยังมีไม่มากนักและอย่างในโครงการPREDICTจะเป็นการทำในกลุ่มเด็กเอชไอวีที่ได้รับยาต้านเชื้อไวรัสโดยมีการวางแผนการวิจัยที่ดีและมีการพัฒนาความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผลงานการวิจัยที่ออกมามีความน่าเชื่อถือและนำไปใช้ประโยชน์ต่อการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการในเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีได้

วันนี้ได้ไปประชุมที่คลินิกนิรนามมา..จากที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่าสืบจากที่คุณหมอจุไรได้ชักชวนให้มาช่วยในการทำงานกับโครงการPREDICTซึ่งในส่วนSEARCH003ที่จะดำเนินการต่อนับตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงกันยายนปีหน้าทางคุณหมอธัญญวดี จะมีSubstudyในการเก็บข้อมูลทางด้านNeuropsycho-developmentขึ้นเพิ่มเติม

 ซึ่งในภาคเช้าฉันได้รับฟังการบรรยายความรู้เกี่ยวกับผลงานการวิจัยทางด้านNeurological Assessment ในผู้ติดเชื้อแถบแอฟริกา(อูกันดาและเอธิโอเปีย)..ซึ่งบรรยายโดย DR.David Clifford การศึกษาในผู้ติดเชื้อเอชไอวีแถวSoutheast asia (อาทิ อินเดีย ไทย) โดยDr.Victor Valcour,มีคุณหมอภาสุรีมาร่วมแชร์ความรู้ในการทำวิจัยและเก็บข้อมูลNeuroAIDSในรพ.พระมงกุฏนอกจากนี้ก็ยังมีคุณหมอและนักศึกษาปริญญาเอกด้านNeurologyที่เป็นคนไทยซึ่งกำลังจัดทำโครงการวิจัยทางด้านNeuroAIDSมาเล่าเรื่องให้ฟัง(ภาคภาษาอังกฤษ).

..ฉันไปด้วยกันกับคุณหมอรุจนี..ในภาคเช้าอันอุดมด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันเช่นนี้ทั้งฉันและคุณหมอรุจนีเราเลยต่างคนต่างต้องตั้งสติฟังและจดข้อมูลได้เป็นช่วงๆโชคดีที่ฉันติดMP3มาไว้อัดเสียงตอนบรรยายและแอบจีบพี่ผู้ประสานงานของHIV-Natให้ช่วยส่งข้อมูลมาให้เพิ่มเติมอีกทีหลัง.

..แหมกำลังจะเริ่มชินกับสำเนียงและภาษาก็บ่ายพอดี

ช่วงบ่ายเขามีการเปลี่ยนที่ประชุมไปอยู่อีกตึกหนึ่งในภาคบ่ายนี้ มีคุณJasper แห่งHIV-NATบรรยายหรืออธิบายภาพรวมของการจะทำการประเมินและเก็บข้อมูลด้านNeuropsychologicalในเด็กที่อยู่ในโครงการPREDICTจำนวน 300รายซึ่งเขาจะทำเปรียบเทียบในไทย(6site) และกัมพูชา(2site)เพื่อศึกษาข้อมูลทั้งทางด้านปริมาณและเชิงคุณภาพ..การประเมินที่เขาต้องการดำเนินการจะมีทั้งที่เป็นCognitive&non-cognitive เกณฑ์การคัดเลือกแบบทดสอบที่จะใช้เขาต้องการให้มีความจำเพาะกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี สามารถใช้ผู้ทำการประเมินทั้งที่เป็นนักจิตวิทยาและที่ไม่ใช่นักจิตวิทยา(อย่างการประเมินCognitiveจะใช้นักจิตวิทยาเป็นผู้ทำ) แบบทดสอบหรือเครื่องมือประเมินที่จะนำมาใช้จะต้องมีลักษณะCulture FreeเขามีการListเครื่องมือประเมินNeuropsychological assessmentมาให้แล้วด้วยหลายตัวที่ฉันได้ยินแต่ชื่อวันนี้ก็ได้เห็นของจริง..มีDr.Robert Paulสาธิตและอธิบายการประเมินพอให้ชิมลางอยู่สี่ห้าTest อาทิ Child Behavioral Checklist (CBCL) , PURDUE Pegboard Test ,Children color trial test part1&2 , Beery VMI , standardized cognitive test ในเด็ก...คราวนี้ปัญหาที่ต้องขบคิดก็คือจะนำมาImplementอย่างไรให้เหมาะสมเพราะการเก็บข้อมูลเหล่านี้ต้องใช้เวลาและจริงๆแล้วการทำการประเมินในเด็กมีความละเอียดอ่อนและควบคุมสภาพการณ์ยากกว่าในคนโตๆมาก..ทางHIV-NATจะจัดให้มีการTrainการดำเนินทดสอบและประเมินซึ่งกำหนดระยะเวลาที่จะอบรมระหว่างอจ.ที่ปรึกษา(อจ.ดร.รพีพรรณจากจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)กับพวกเราเหล่านักจิตวิทยาของแต่ละไซด์วิจัยยังหาข้อสรุปไม่ลงตัวในขณะนี้ อย่างเช่น อจ.อยากให้อบรมในการจะทำประเมินBARLEY Scale of infant Development( สำหรับเด็กอายุตั้งแต่1month-42month)หรือ WPPSI-III และWISC-IIIRเป็นเวลาอย่างน้อยสักสามเดือนซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ หน่วยงานคงไม่อนุญาตให้มาได้..ฉันฝากให้พี่ติ๊นักจิตวิทยารุ่นพี่จากรพ.เชียงรายช่วยคุยต่อเกี่ยวกับระยะเวลาที่จะอบรมว่าตกลงเป็นเวลาใดและนานแค่ไหนดีที่จะเหมาะสมแต่ยังหาสรุปแน่ชัดยังไม่ได้แต่ที่รู้ๆว่ามีงานที่จะต้องค้นหาข้อมูลและการเตรียมตัวเตรียมใจอื่นๆอีกเยอะทีเดียวหลังจากที่ได้มาร่วมฟังประชุมวันนี้ อาทิ จะต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของ Neuropsychological assessment ,neuropathy on HIV/AIDS พัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เป็นต้น ซึ่งอย่างในบันทึกนี้เป็นเหมือนกับเครื่องมือช่วยเตือนความจำให้ฉันมากกว่าที่จะให้รายละเอียดเชิงลึกในเรื่องNeuro on AIDS หลังจากได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วก็จะค่อยทยอยเขียนอธิบายทีละเรื่องและทีละประเด็นที่น่าสนใจเพื่อเป็นการทบทวนให้ตัวเองและเพื่อลปรรกับเพื่อนๆคนอื่น

อยากเล่าถึงสิ่งที่ประทับใจอีกอย่างก็คือทางจนท.HIV-NAT เริ่มตั้งแต่คุณหมอธัญญวดีไปจนถึงผู้ประสานงานทุกท่านที่นอกจากภาษาอังกฤษจะเก่งมากๆแล้ว การเตรียมเอกสารการประชุมและการให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องก็ดีมากทำให้ฉันหายตื่นเต้นกับการได้พบกับอจ.ประพันธ์อย่างใกล้ชิดและความหรูหราของสถานที่ของคลินิกนิรนามไปเสียสนิท..

หมายเลขบันทึก: 58050เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ตามมาเยี่ยมค่ะ     ขอชมว่าขวัญบันทึกได้เห็นภาพและละเอียดดีค่ะ    
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท