บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 เรื่อง การจัดการความรู้ (Knowledge Management)


After Action Review

ครั้งที่ 4 เรื่อง การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ชื่อ นางสาวโชติรส เจษฎาสิริ รหัสนักศึกษา 57D0103105

สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction) ปริญญาโท ภาคพิเศษ

วัน/เวลา วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2557 เวลา 8.40 น. – 11.00 น.

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

*ความคาดหวังในการทำกิจกรรม

จากหัวข้อเรื่องที่เรียนรู้ในวันนี้ทำให้ตนเองเกิดประเด็นที่คาดหวังจากการทำกิจกรรม คือ

1.ความรู้คืออะไร เมื่อกล่าวถึงการจัดการความรู้ เราควรที่จะทราบก่อนว่าความรู้คือ

อะไร สิ่งไหนที่เราสามารถเรียกได้ว่านั่นคือความรู้

2.ประเภทของความรู้ เราควรที่จะทราบก่อนว่าความรู้มีกี่ประเภท กี่ระดับเพื่อที่จะ

สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการจัดการความรู้ต่อไป

3.ความสำคัญของการจัดการความรู้

4.กระบวนการในการจัดการความรู้ ในส่วนนี้คาดหวังถึงการนำกระบวนการด้านนี้ไปใช้

ในการจัดการความรู้ของตนเอง และการออกแบบการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นได้

*สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ และความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องนี้

Knowledge Management (KM.) การจัดการความรู้ จากการเรียนรู้ในเรื่องนี้ พบว่า ความรู้

คือสิ่งที่ทำให้เราได้เปรียบคู่ต่อสู้ในการแข่งขัน โดยได้เปรียบในทางความคิด การวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำไปสู่กระบวนการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งความรู้นี้จะช่วยให้เราสามารถไปยังจุดมุ่งหมายได้ก่อน ลักษณะเด่นของความรู้ก็คือ เมื่อเราใช้ความรู้หรือมีการขบคิดมากเท่าไรความรู้จะยิ่งพัฒนาและก้าวหน้าขึ้น

จะทำอย่างไรให้ความรู้เหล่านี้มีการพัฒนาและก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอย่างขยายวงกว้าง มิใช่การพัฒนาเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น จากประเด็นคำถามนี้จึงทำให้เกิดการจัดการความรู้หรือ Knowledge Management ขึ้น ซึ่งการจัดการความรู้ก็คือการจัดการให้มีความรู้ใหม่โดยใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วผสมผสานพัฒนาคู่กับประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น การสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ประสบการณ์ของคนในองค์กรแล้วจึงสังเคราะห์ให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น

การจัดการความรู้ที่ยั่งยืน ก็คือ การที่สมาชิกในองค์กรร่วมกันจัดการองค์ความรู้ ทั้งด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถที่แต่ละบุคคลมี เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆแล้วนำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาองค์กร ความรู้ของคนหนึ่งจะกลายเป็นความรู้ของอีกคนเมื่อมาเรียนรู้ร่วมกัน นี่คือความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในชั่วโมงนี้

*นำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตและการทำงานของตนเอง

ในการทำงานร่วมกันในระดับโรงเรียนจริงๆนั้น มักจะประสบปัญหาที่ว่า เมื่อครูคนที่รับผิดชอบงานไม่มา งานชิ้นนั้นๆจะไม่มีใครสามารถมาทำหน้าที่แทนได้ จากตัวอย่างการจัดการความรู้ดังเช่นอาจารย์หยิบยกขึ้นมานั้น ดิฉันเองก็เคยประสบกับตนเองเช่นกัน มันเกิดขึ้นจริงในระบบสังคมปัจจุบัน คนที่เก่งหรือคนที่มีความสามารถจะมักทำงานอยู่คนเดียว คนอื่นๆแทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีบทบาทหน้าที่เลยก็ว่าได้ คนเก่งชอบทำงานคนเดียว มีความเป็นผู้นำสูงบ้างก็เผด็จการทางความคิด ส่วนคนที่มีแนวความคิดอยู่กลางๆหรือคนที่ไม่ชอบแสดงความสามารถก็มักจะหลบซ่อนตัวเองจากภาระงาน ปิดกั้นตัวเองออกจากทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้การทำงานขาดการพัฒนา มุมมองที่ได้ก็เป็นของคนๆเดียว เมื่อเกิดข้อผิดพลาดก็จะไม่ร่วมกันแก้ปัญหา การเรียนรู้ในหัวข้อนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการร่วมมือกันของบุคลากรในองค์กร ซึ่งจะเป็นแนวคิดที่จะนำไปถ่ายทอดและไปประยุกต์ใช้อย่างน้อยๆก็เริ่มที่ห้องเรียน ให้คนรุ่นใหม่เด็กรุ่นใหม่มีวิธีคิดใหม่ๆเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสิ่งต่างๆต่อไป

หมายเลขบันทึก: 580492เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท