บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 เรื่อง ระบบการศึกษาของประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียน


ชื่อ นางสาวโชติรส เจษฎาสิริ รหัสนักศึกษา 57D0103105

สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction) ปริญญาโท ภาคพิเศษ

วัน/เวลา วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2557 เวลา 8.40 น. – 11.00 น.

เรื่อง ระบบการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน

*การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

ก่อนการเรียนในชั่วโมงที่จะมาถึง ได้ลองสืบค้นคำว่า "สังคมแห่งการเรียนรู้" จากอินเตอร์เน็ต พบว่า คำๆนี้แพร่หลายในวงการการศึกษาอย่างมาก ทั้งในระบบและนอกระบบ และทำให้ทราบว่าตอนนี้ได้มีสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว

*ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

ระบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์

เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์เคยตกอยู่ใต้อาณานิคมของสเปนและอเมริกาทำให้ชาวฟิลิปปินส์ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ดังนั้นจึงได้เปรียบชาติอื่นในอาเซียนเรื่องของภาษา ระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์แต่เดิมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้เวลา 10 ปี แต่ได้ปรับมาเป็น 12 ปีเท่ากับประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน โดยหลักสูตรที่เปลี่ยนไปนั้นถูกเรียกว่า K-12 program วัตถุประสงค์หลักของการจัดการศึกษาถูกจัดขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการทำงานและการเป็นนักลงทุนในอนาคต การเรียนการสอนของนักเรียนชาวฟิลิปปินส์จะเรียนแบบ 2 ภาษา คือ การเรียน Filipino (ภาษาฟิลิปปินส์มีทั้งสิ้น 12 ภาษา ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง) โดยเรียนภาษาที่เป็น Mother tongue และเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในชั้นประถม 4 ซึ่งการเรียนภาษาอังกฤษจะถูกใช้ในการจัดการเรียนการสอนของทุกๆวิชา

ระบบการศึกษาในประเทศเวียดนาม

การจัดการศึกษาในเวียดนามจะแบ่งการเรียนการสอนแต่ละระดับออกอย่างชัดเจน เช่น ระดับอนุบาลจะแยกออกเป็นโรงเรียนหนึ่ง ระดับประถมศึกษาก็จะเป็นอีกโรงเรียนเช่นกัน ส่วนระดับมัธยมศึกษาในแต่ละตำบลจะมีโรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง แต่ละอำเภอจะมีโรงเรียนสาธิต(ม.ต้น)อีก 1 แห่ง แต่ละอำเภอจะมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 1-2 แห่ง และ มีโรงเรียนสาธิตประจำจังหวัด 1 แห่ง การจัดห้องเรียนถูกแบ่งตามความสามารถของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีการแบ่งสายการเรียนตามความสามารถดดยแบ่งเป็น 4 สายคือสาย A ถึงสาย D มีการเรียนในรายวิชาที่แตกต่างกันออกไป นักเรียนส่วนใหญ่นิยมเรียนสาย B ได้แก่วิชา คณิตศาสตร์ เคมี และชีววิทยา

การตัดสินผลการเรียนจะมีการให้เกรดโดยคิดเป็นคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีระดับคุณภาพ 3 ระดับคือ ผ่าน ดี ดีเยี่ยม ในการเรียนของนักเรียนหากมีวิชาใดที่ผลการเรียนมีคะแนนต่ำกว่า 3.5 คะแนน จะถือว่าสอบตก และจะต้องเรียนวิชาอื่นๆใหม่ด้วย จึงส่งผลให้นักเรียนเรียนอย่างตั้งใจและมีความมุ่งมั่นสูง

ระบบการศึกษาในประเทศกัมพูชา

เดิมการจัดการศึกษาของกัมพูชาถูกจัดให้กับผู้ชายเท่านั้น ใช้วัดเป็นสถานที่เรียน ผู้หญิงจะไม่ได้รับการศึกษา แต่ต่อมาใน ปี พ.ศ.2523 – 2533 ได้มีการพัฒนาการจัดการศึกษาทำให้ผู้หญิงได้เข้ารับการศึกษาด้วย ระยะเวลาของหลักสูตรการศึกาขั้นพื้นฐาน คือ 12 ปี เช่นเดียวกับของไทยแต่แตกต่างกันที่เวลาในการเรียน ชั่วโมงในการเรียนของแต่ละวัน โรงเรียนในประเทศกัมพูชาจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน

ระบบการศึกษาในประเทศสิงคโปร์

เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กและเป็นหมู่เกาะ ทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย ดังนั้นสิงคโปร์จึงมีความคิดที่ว่าทรัพยากรมนุษย์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศ จะทำอย่างไรให้ทรัพยากรมนุษย์นี้มีคุณค่ามากที่สุด คำตอบที่ได้ก็คือการศึกษา สิงคโปร์จึงให้ความสำคัญของการจัดการศึกษามาเป็นอันดับแรก ด้านวิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อการศึกษามองว่าผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษานั้นจะต้องมีความมั่นใจในตนเอง มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และจะต้องมีจิตสำนึกที่ดีระบบการศึกษาและตำราเรียนถูกประยุกต์มาจากประเทศอื่นซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าเมื่อนำมาใช้แล้วจะประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน

การเรียนการสอนของสิงคโปร์

1.ในหนึ่งปีการศึกษาจะประกอบด้วย 4 ภาคเรียน เวลาเรียนคิดภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ ภาคเรียนแรกจะเริ่มในวันที่ 2 มกราคมของทุกปี

2.ในกลางปีจะมีหยุดเรียน 4 สัปดาห์

3.วันหยุดในวันสำคัญต่างๆรวมแล้วประมาณ 6 สัปดาห์

จากการกำหนดเวลาเรียนทำให้เห็นว่าสิงคโปร์จะให้เวลาส่วนใหญ่กับการเรียนการสอนทั้ง

การเรียนในห้องเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4.การสำเร็จการศึกษาในชั้น ป.6 จะต้องผ่านการทดสอบที่เรียนกว่า Primary Six Leaving

Examination (PSLE) มีการสอบในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และMother tongue โดยการทดสอบด้านภาษาจะต้องผ่านการสอบทั้ง 3 รูปแบบ คือ

-การสอบแบบ Oral test (Reading / Picture Discussion/Conversation)

-การสอบแบบ Writing (Situational และ Essay)

-การใช้แบบทดสอบ (Grammar, Vocabulary , Comprehension)

หากนักเรียนสอบผ่านการทดสอบนี้จะสามารถเลือกเรียนในโรงเรียนมัธยมได้ 6 แห่ง

5.หลังจากผ่านการทดสอบจากชั้นป.6 เข้าสู่ชั้นมัธยมก็จะมีการแยะนักเรียนออกเป็นกลุ่ม

พิเศษเรียน 4 ปี และกลุ่มเรียนธรรมดา 2 ปี การจัดการเรียนการสอนในช่วงนี้จะช่วยชี้ให้เห็นว่านักเรียนนั้นมีความสามารถด้านใดบ้าง และเหมาะกับอาชีพอะไร ซึ่งเมื่อเรียนจบในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก็จะสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการ

*ความคิดเห็นต่อประเด็นที่เรียน

จากระบบการศึกษาของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนจะเห็นได้ว่าทุกประเทศเน้นการ

เรียนที่ผู้เรียนพร้อมรับการแข่งขัน โดยจะเห็นชัดเจนได้จากประเทศฟิลิปปินส์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความรู้และทักษะในการทำงานและการเป็นนักลงทุนในอนาคต สิงคโปร์เน้นให้มีความมั่นใจในตนเอง มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และจะต้องมีจิตสำนึกที่ดีซึ่งก็เป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี เวียดนามและกัมพูชาก็เช่นเดียวกันคือการมีแนวคิดที่ว่าการศึกษาจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต แต่ละประเทศจะเน้นในเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาก็จะใช้ภาษาอังกฤษเช่นเดียวกัน

*การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการปฏิบัติงาน

การได้มาฟังแนวคิดและระบบการเรียนการสอนของแต่ละประเทศทำให้เห็นถึงความก้าวหน้า

ของประเทศอื่นๆ ซึ่งก็ถือเป็นแรงกระตุ้นและเป็นแรงผลักดันการจัดการเรียนการสอนของตนเอง โดยเฉพาะวิธีการ/แนวคิดสู่ความสำเร็จในการศึกษาของแต่ละประเทศ ที่กล่าวถึงเรื่องการสอนที่ว่า teach less, learn more. เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่อยากจะนำมาปรับใช้มากที่สุด

*บรรยากาศการเรียน

บรรยากาศของห้องอบรมเป็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงแม้จะเป็นการพูดคุยกันคนละภาษาแต่ทุกคนก็พยายามที่จะทำความเข้าใจ เป็นการอบรมที่เป็นกันเอง วิทยากรที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อธิบายภาพการศึกษาได้ชัดเจน ส่วนบรรยากาศของผู้เข้ารับการอบรมก็ให้ความสนใจกับการอบรมนี้มาก เนื่องจากเป็นการอบรมในเรื่องที่ไม่สามารถศึกษาได้จากแหล่งเรียนรู้อื่นหรือหากมีก็คงไม่มีมุมมองและข้อคิดเห็นจากเจ้าของประเทศที่มีต่อการศึกษา

หมายเลขบันทึก: 580488เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท