บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6 วันที่ 5 ตุลาคม 2557


หัวข้อ การจัดการความรู้ในสถานศึกษา (Knowledge Management : KM)

"เพาะชำโมเดล" โดย นายศักดิ์เดช กองสูงเนิน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)

ความรู้และความเข้าใจที่ได้จากเรียนและการศึกษาเพิ่มเติม

ท่าน ผอ.ศักดิ์เดช กองสูงเนิน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ได้นำเสนอ "เพาะชำโมเดล" ซึ่งเป็นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization:LO) จะเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายขององค์กรจำเป็นต้องอาศัยความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรหลักที่มีความสำคัญเพราะยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆมาทดแทนอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนจะเจริญก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องต้องอาศัยบุคลากรในโรงเรียนและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นผู้นำขอผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีลักษณะภาวะความเป็นผู้นำที่จะทำให้โรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ดังนี้

1. มีความสามารถในการดำเนินเรื่อง การจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาโรงเรียน การประเมินและนำผลการประเมินมาปรับปรุงโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง การแสวงหาความคิดและความสามารถของครู นักเรียนและบุคลากร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

2. นำโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆและมีความยั่งยืน

3. ปกครองดูแล บุคลากรด้วยคุณธรรม จริยธรรม

4. จูงใจบุคลากรให้พัฒนาผลงานของตนให้ดีขึ้น

5. สร้างวิสัยทัศน์ ค่านิยมของโรงเรียนและสร้างพันธะผูกพันต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียน

6. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของบุคลากรทุกคน

7. ทำงานโดยอาศัยกลุ่มหรือคณะบุคคลเป็นที่ตั้ง

8. มีความจริงใจ เข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

9. ให้รางวัล ยกย่อง ชมเชยบุคลากร นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้นการจัดการความรู้จึงมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ความรู้ประเภทแรก คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge ) เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่อยู่ในในหนังสือเรียน สื่อตำราเรียน

ความรู้ประเภทสอง คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวตน (Tacit Knowledge ) เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้วิจารณญาณ ไหวพริบปฏิภาณเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละท่าน ความรู้สองประเภทนี้จึงมีส่วนสำคัญทำให้งานบรรลุผลสำเร็จเช่นกัน

สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคมได้นำเสนอโมเดลปลาทูมีดังนี้

1. ส่วนหัวปลาซึ่งหมายถึง (Knowledge Vision) หรือ KV คือวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างไร ถ้าประเด็นไม่ตรงกับเป้าหมายทิศทางขององค์กรก็แสดงว่าปลาตัวนี้หลงทิศทาง

2. ส่วนถัดมาคือ ตัวปลา เรียกว่า (Knowledge Sharing) sinv KS ส่วนนี้สำคัญเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือว่าเป็นหัวใจของการจัดความรู้ เป็นกระบวนการที่หลายท่านทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะการที่คนเราจะแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวเองออกมา จะต้องอาศัยความผูกพัน เริ่มจากบรรยากาศที่เป็นมิตร ความไว้วางใจ การแบ่งปันจึงจะเกิดสีสัน

3. สำหรับส่วนหางปลา คือ ส่วนที่เรียกกว่า (Knowledg Asset) หรือ KA หมายถึงคลังความรู้เปรียบเสมือนถัง ที่เราเอาความรู้ที่ได้มาใส่ไว้แล้วใช้ระบบจัดเก็บเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่างแท้จริง

เพื่อให้การจัดความรู้เหมาะสมกับบริบทโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จึงกำหนดการจัดความรู้ เรียกว่า เพาะชำโมเดล มีรายละเอียดดังนี้

เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) เป็นเรื่องที่เล่ากระตุ้นความสนใจและนำไปสู่ความรู้ เรื่องเล่าของความสำเร็จ (Best Practice) เรื่องที่เล่าควรจะมีปัญหาที่พบ ความผิดพลาด วิธีการแก้การสกัดขุมความรู้ได้วิธีการที่ปฏิบัติประสบความสำเร็จที่ได้จากเรื่องเล่าเร้าพลังนำมาสังเคราะห์ให้เป็นแก่นความรู้

บันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ประเมินว่าสมาชิกในองค์กรมีความรู้อยู่ในสถานะที่เป็นผู้พร้อมให้

บันทึกแลกเปลี่ยนเยนรู้ บันทึกความก้าวหน้าของบุคลากรที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทบทวนหลังการปฏิบัติ เป็นกิจกรรมที่ประเมินว่า มีความคาดหวังอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ตามคาดหวังหรือไม่

KV (Knowledge Vision) วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ ต้องมีความชัดเจนในระดับที่เหมาะสมมองเห็นทิศทางและขอบเขตร่วมกัน

M (Mind) ใจ มีคำกล่าวที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" มีนัยสำคัญว่า คนเราจะทำสิ่งใดดีหรือไม่ดี ทำได้หรือไม่ได้ สำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนมาจากใจเป็นอันดับแรก

3 S (Share Show Support)

Share คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Show คือ การจัดการความรู้ช่วยให้ทีมการจัดการความรู้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของทีม แต่ละทีมเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้

งบประมาณ วัสดุ เวลา บุคลากรตามความเหมาะสม แหล่งข้อมูลค้นคว้า

KA (Knowledge Asset) คลังความรู้ การจัดการความรู้ต่อเนื่องมีการต่อยอดความรู้เป็นอย่างดีระบบ คลังความรู้มี 2 คือ คลังความรู้เป็นระบบเอกสาร เป็นการรวบรวมเรื่องเล่า ขุมความรู้ แก่นความรู้ และคลังความรู้โดยใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีมีความสำคัญ เข้าถึงได้ง่ายกระจายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้กว้างขวางทั่วโลก โดยใช้ Blog เป็นการบันทึกเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จโดยบันทึกลงในระบบอินเตอร์เน็ตจึงเชื่อมโยงไปยัง www.gotoknow.org

L (Learn) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นหัวใจหลักการจัดการความรู้ของโรงเรียนเน้นที่บุคลากรที่สามารถเพิ่มค่าได้ถ้าเพิ่มความรู้ เช่น ขณะที่ฟังเรื่องเล่าเร้าพลัง จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานที่ดี ที่ประสบความสำเร็จของสมาชิก บนพื้นฐานบริบทที่ต่างกันและความสำเร็จที่ต่างกันและวิธีการ (How to) การบันทึกเรื่องเล่า บันทึกขุมความรู้ แก่นความรู้ การเรียนรู้เป็นทีม

4=4 เพื่อให้การจัดการความรู้มีพลังเป็นเครื่องมือในการบริหารและขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาประกอบไปด้วย 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานแผนและงบประมาณ กลุ่มงานบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป

8=8 การจัดการความรู้ด้านวิชาการซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญของโรงเรียนประสบความสำเร็จจึงให้ความสำคัญของการจัดการความรู้ 8 กลุ่มสาระประกอบด้วย กลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศิลปะ พลศึกษาและสุขศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ

4=4 โรงเรียนเปิดทำการสอนสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2และช่วงชั้นที่ 3 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มช่วงชั้น โดยเน้นการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการปกครองสายชั้น คุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยของนักเรียน

สรุปได้ว่าโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ได้นำเครื่องมือที่สำคัญมาใช้ในการจัดการความรู้ มีดังนี้ เรื่องเล่าเร้าพลัง การสกัดขุมความรู้ สังเคราะห์แก่นความรู้ ตารางอิสรภาพ บันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทบทวนหลังปฏิบัติการ After Action Review (AAR) และตลาดนัดความรู้ เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการกับความรู้และทำให้โรงเรียนเกิดการสร้างองค์ความรู้ในองค์กร

การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน

  • 1.ใช้พัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ของตนเองให้เป็น "บุคคลแห่งการเรียนรู้" อย่างมีคุณภาพและเป็นแหล่งการเรียนรู้ และให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างเพียงพอ หลากหลายทั่วถึง
  • 2.ใช้พัฒนาเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เป็น "องค์ความรู้" จากครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีอยู่เดิมบูรณาการกับฐานความรู้ใหม่ ๆ อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย กลไกการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เรียน รวมไปถึงการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน อย่างมีประสิทธิภาพ

บรรยากาศการเรียน

ท่าน ผอ.ศักดิ์เดช กองสูงเนิน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา ทำให้บรรยากาศกาศในการได้รับความรู้เป็นไปด้วยความสุข ทั้งยังได้ความรู้ในเนื้อหา มีการซักถาม แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เรียนรู้สนุก ได้แง่คิดใหม่ๆ ในการเรียน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

คำสำคัญ (Tags): #อนุทิน 6
หมายเลขบันทึก: 580460เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท