การตรวจสอบคุณภาพเสื้อตะกั่ว


สร้างเสริมประสบการณ์ รู้จด รู้จำ รู้นำไปใช้ ทักษะในการทำงาน เกิดจากการ ฝึกฝนบ่อยๆ คนที่ประสบความสำเร็จ คือ คนที่ลงมือ และ เรียนรู้จากผลงานที่ได้ทำไปแล้ว

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษารังสีเทคนิค ม.เชียงใหม่ ที่มาฝึกปฏิบัติงาน ณ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น  


ผมจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกตรวจสอบคุณภาพของเสื้อตะกั่วที่ใช้ในงานประจำ 

เสื้อตะกั่วผสมยางเหล่านี้ ใช้สำหรับให้ผู้ปฏิบัติงาน ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงญาติผู้ป่วยได้สวมใส่ เมื่อต้องเข้าไปอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่ที่มีรังสี เพื่อช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงภัยจากรังสี 


การฝึกครั้งนี้

ฝึกในช่วงที่ไม่มีผู้ป่วย มาขอรับบริการ 

ฝึกใช้เวลาว่างเรียนรู้ และสร้างประโยชน์ให้หน่วยงาน


ก่อนเริ่มกิจกรรม

ผมได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปค้นคว้า หาวิธีการประเมิน การตรวจสอบคุณภาพของเสื้อตะกั่วว่าต้องทำอย่างไร?

เป้าหมาย 

ส่งเสริมให้นักศึกษา ได้ทบทวนความรู้ เรียนรู้การสืบค้น การค้นหาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ


ผลปรากฏว่า นักศึกษาสามารถทำได้ดีระดับหนึ่ง 

และผมได้เพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์บางส่วน

เมื่อทำความเข้าใจที่ตรงกันเรียบร้อยแล้ว


ก็... เริ่มลงมือทำ




กิจกรรม

1.ทีมงานทำความเข้าใจ ขั้นตอน วิธีการตรวจสอบคุณภาพ การประเมินคุณภาพด้วยวิธีการต่างๆ

2. จัดทำตารางบันทึกข้อมูล เพื่อสะดวกในการกรอกข้อมูล




3. ประเมินเบื้องต้น 

การสำรวจด้วยตาดูและมือคล่ำ 

วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาตำแหน่งหรือลักษณะอาการที่ผิดปกติ 

วิธีการ 

1.นำเสื้อตะกั่ววางบนโต๊ะที่ราบเรียบ 

2.จากนั้นใช้ตาดูร่วมกับมือคล่ำ ตรวจหารอยฉีกขาด หรือความผิดปกติต่างๆ

3.บันทึกผลการตรวจประเมิน




ตัวอย่าง 

สิ่งที่ตรวจพบ รอยฉีกขาดบางส่วนของเสื้อ

บริเวณสายรัดลำตัว 



บริเวณร่องแขน  



การสำรวจด้วยการฉายรังสีเอกซ์

วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาตำแหน่งหรือลักษณะที่ผิดปกติที่อยู่ด้านในเสื้อตะกั่ว ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

วิธีการ

1.ทำความสะอาดพื้นเตียง




2.วางเสื้อตะกั่วบนพื้นเตียง โดยพยายามจัดวางให้เสื้อตะกั่วราบเรียบกับพื้นเตียงมากที่สุด



3.ฉายรังสี สำรวจให้ครอบคลุมทุกๆตำแหน่ง หากพบว่าตำแหน่งมีความผิดปกติให้ถ่ายภาพด้วยรังสี (อาจทำเครื่องหมายไว้บนภาพ หรือและบนตัวเสื้อ เพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น)




4.บันทึกผลการประเมิน และแสดงข้อมูลภาพ


ข้อแนะนำเพิ่มเติม

ไม่ควรวางเสื้อตะกั่วที่จะตรวจสอบไว้บนเบาะรองผู้ป่วยขณะตรวจสอบ 

เพราะอาจมีภาพรบกวน ปรากฏบนจอภาพ (กรณีที่เบาะรองผู้ป่วยไม่สะอาด หรือมีคราบสารทึบรังสีตกค้างอยู่) 

ควรทำความสะอาดเตียง และ วางเสื้อบนเตียงโดยตรง 




ตัวอย่าง ลักษณะที่ผิดปกติ รอยขาดบริเวณตะเข็บ และ ลูกคลื่นเกิดจากแผ่นตะกั่วยางที่เริ่มเสื่อมสภาพ แข็งตัว



นี้เป็นตัวอย่างของการตรวจสอบคุณภาพเสื้อตะกั่ว และกิจกรรมเสริม 

เพื่อฝึกทักษะในกับนักศึกษา นอกเหนือจากฝึกงานตามข้อกำหนดของหลักสูตร

รู้จด รู้จำ รู้นำไปใช้

ทักษะในการทำงาน เกิดจากการ ฝึกฝนบ่อยๆ 

คนที่ประสบความสำเร็จ คือ คนที่ลงมือ และ เรียนรู้จากผลงานที่ได้ทำไปแล้ว


หมายเลขบันทึก: 579825เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2014 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2014 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คนที่ประสบความสำเร็จ คือ คนที่ลงมือ  ถูกต้องที่สุดค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ..ที่แบ่งปันความรู้ดีๆให้ลูกศิษย์เสมอ..ที่ทำงานใช้เครื่องเอกซเรย์ธรรมดาทดสอบค่ะ(ไม่มีเครื่องฟลูค่ะ)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท