อนุทินจากการไปศึกษาดูงานที่โีรงเรียนเทศบาล 4 ( เพาะชำ )


อนุทินครั้งที่ 8 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 

โดย นางสาวอุไรวรรณ ภูจ่าพล นักศึกษาปริญญาโทรุ่นที่ 13 สาขาหลักสูตรและการสอน
รหัส 57D0103124 ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1 

ครูผู้สอน ผศ.รศ. อดิศร เนาวนนท์ 

วันที่ 5 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การศึกษาดูงานที่โรงเรียนเทศบาล 4 ( เพาะชำ )

*****************************

1. การเตรียมตัวล่วงหน้า
* การจัดการความรู้ เป็นการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ รวมทั้งการเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เอามาจัดระบบ แล้วนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม * สังคมแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้นแต่การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ในชีวิตประจำวัน เพราะมนุษย์ไม่สามรถอยู่คนเดียวเพียงลำพังได้ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากตัวบุคคล หรือจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ การพัฒนาการจัดการความรู้ของครู อาจดำเนินการได้หลายลักษณะ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของครูให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การจัดการความรู้ของครูมีดังนี้

1. องค์ประกอบด้านการกำหนดความรู้ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และผู้บริหารสนับสนุนให้ครูได้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ

2. องค์ประกอบด้านการแสวงหาความรู้ ครูตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ และครูได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาในการแสวงหาความรู้ร่วมกัน

3. องค์ประกอบด้านการสร้างความรู้ สถานศึกษามีหน่วยงานหรือ บุคลากรรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การอบรม การสาธิต การวิจัยในชั้นเรียน การระดมความเห็น การสนทนา เป็นต้น และ ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูมีการสร้างความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน 

4. องค์ประกอบด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ บรรยากาศการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับภายในสถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์และความรู้สึกและบรรยากาศการทำงานภายในสถานศึกษามีลักษณะเป็นเพื่อนร่วมงานมากกว่าการเคารพเชื่อฟัง

5. องค์ประกอบด้านการเก็บความรู้ ผู้บริหารให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการเก็บความรู้ของสถานศึกษาและครูมีความสามารถในการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น ในแฟ้มพัฒนางาน ตำราเรียน การลงในวารสาร และจดหมายข่าว และ ใน www.gotoknow .org เป็นต้น

6. องค์ประกอบด้านการนำความรู้ไปใช้ ครูสามารถนำความรู้ความสามารถของตนไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และสถานศึกษาจัดให้ครูที่มีความรู้และทักษะเป็นการเฉพาะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ 

  อย่างไรก็ตาม การจัดการความรู้ของครูภายในสถานศึกษาเกิดจากการผสมผสานการทำงานของปัจจัยที่สำคัญ คือ 

1. ครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสามารถและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการจัดการความรู้ โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้พัฒนาตนเองและเอื้ออำนวยให้บุคลากรภายในวิทยาลัยพัฒนาพร้อมกันไปด้วย 

2. กระบวนการจัดการความรู้ โดยมีขั้นตอนดำเนินงานอย่างเหมาะสม บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมีความเข้าใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

3. เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยต้องให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพรองรับการจัดการ ความรู้ได้อย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ครูทุกคนได้ใช้ระบบสารสนเทศอย่างทั่วถึง

4. การบริหารจัดการวิทยาลัย ต้องจัดระบบบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยโดยมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมทั้ง มีการจูงใจที่เหมาะสม 

กิจกรรมต่อไปนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

1. การดึงความรู้ออกมาจาก “ครูต้นแบบ” และกระจายความรู้ให้แก่ครูคนอื่น 

2. จัดให้มีการประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/คุณภาพการศึกษา โดยอาจเป็นการประชุมตามปกติ หรือผ่านการสื่อสารทางไกลรูปแบบต่างๆ 

3. จัดกระบวนการกลุ่มให้ครูผู้สอนในวิชาเดียวกันได้ระดมสมองแก้ปัญหาการเรียนการสอนรวมกัน โดยมีการผลัดกันทำหน้าที่ผู้จัดการความรู้ 

4. ค้นหา และส่งเสริมครูผู้สอนผู้ที่มีความสามารถพิเศษในด้านความรู้และทักษะการสอนนักเรียนและหาทางส่งเสริมให้อยู่ในสถานศึกษาด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน 

5. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และกิจกรรม เพื่อพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาครูแต่ละคนในสถานศึกษา 

6. ส่งเสริม ยกย่องให้รางวัลแก่ครูผู้สอนที่มีการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหรือการสอนงานครูรุ่นน้อง 

7. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการสอนให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น 

8. การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) โดยใช้วิธีการผู้ฝึกสอน(Coaching) หรือการจัดเป็นทีมผู้สอนทีการร่วมคิดร่วมทำงาน โดยการวางแผนการสอนเป็นทีม และใช้วิธีการประชุมแบบระดมสมอง

9. การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังในตัวคน (Tacit Knowledge) โดยนำความรู้ Tacit Knowledge ในครูต้นแบบออกมานำเสนอในรูปแบบของการเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ และการเขียนรายงานเพื่อนำเสนอหรือเสนอโดยสื่อ electronic หรือเขียนลงใน web blog และทางที่ดีควรนำความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนไปเปรียบเทียบกับผลการวิจัย เพื่อนำเสนอ วิเคราะห์เพื่อการตรวจสอบความเหมือนหรือต่างกับทฤษฎี หรือหลักการที่เป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge การจัดการความรู้สู่การปฏิบัติโดยใช้วงจรการจัดการความรู้

3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน 

การจัดการความรู้เป็นภารกิจของครูที่จะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นทั้งในส่วนของครูเอง ในชั้นเรียน โรงเรียน และชุมชน เพื่อให้การทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย การจัดการความรู้จึงเป็นการใส่ใจเรื่องความรู้ที่จะใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์หรือในระบบเป้าหมายของการจัดการความรู้นอกจากเรียนรู้จากความรู้เผยตัวแล้ว ยังเอื้ออำนวยในการเปลี่ยนรูปแปลงโฉมความรู้ฝังตัวไปเป็นความรู้เผยตัวสามารถเข้าถึงได้และยังสามารถนำมาแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และการจัดการความรู้ในวิโรงเรียนเป็นการบริหารการจัดการเรียนการสอนให้มีการต่อยอดความรู้เป็นการเก็บรวบรวมประสบการณ์ ความเข้าใจรวมทั้งสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ มีกระบวนการเชื่อมแหล่งความรู้และถ่ายทอดความรู้ โดยมีการวางแผน ซึ่งการวางแผนความรู้ เป็นการมองไปข้างหน้าถึงการใช้แหล่งความรู้การใช้โมเดลจัดวิธีการจัดการเรียนการสอน เทคนิคต่างๆ ให้การจัดการความรู้มีประสิทธิผลกำหนดการจัดการเรียนการสอน หรือการพัฒนาที่ใช้ความรู้เป็นฐานที่จะสนับสนุนครูผู้สอนหรือวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยโรงเรียนในการแข่งขัน มีความสามารถที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกโรงเรียนต่อไป

4. การนำความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและการปฏิบัติงาน
เมื่อครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีความจำเป็นจะต้องเป็นครูจัดการความรู้ในระดับต่าง ๆ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้สูงขึ้น ซึ่งมีเทคนิคสามารถกระทำได้ ดังนี้

1. ขั้นการกำหนดความรู้ ครูจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละระดับ เพื่อนำมากำหนดความรู้ที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับโรงเรียนและบุคคลอื่นในการคิดวางแผน กำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2. ขั้นการแสวงหาความรู้ ครูจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้สามารถของตนเองให้เข้าถึงความรู้ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อนร่วมงานโดยการยอมรับในความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน 

3. ขั้นการสร้างความรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ นวัตกรรมของสถานศึกษา เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น เช่น การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น 

4. ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพทั้งในสถาน ศึกษาและนอกสถานศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาคมหรือชมรมทางวิชาชีพครู จัดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้ง ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการ เผยแพร่ในวารสารของสภาวิชาชีพ การแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง Internet ใน web blog เป็นต้น 

5. ขั้นการเก็บความรู้ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในรูปแบบ Web blog วีดีทัศน์ แถบบันทึกเสียง และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมทั้ง ครูจะต้องจัดทำแฟ้มพัฒนางาน จัดทำเอกสารประกอบการสอนที่ได้จากการ สร้าง และการแลกเปลี่ยนความรู้

6. ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมโดยการนำเสนอความรู้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การประชุมสัมมนา หรือการประชุมเสนอผลงานเป็นการเฉพาะ รวมทั้ง มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วารสาร เว็บไซด์ จดหมายข่าว และ www.gotoknow.org เป็นต้น เทคนิคดังกล่าวข้างต้น ถ้าครูกระทำอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดทักษะและความชำนาญในการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ในที่สุด 

5. บรรยากาศในการเรียน

วิทยากร ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็นและในการเรียงลำดับหัวข้อในการอบรมทำได้ดีมาก ใช้คำพูดที่เข้าใจได้ง่าย ทำให้ผู้เข้ารับการอบรม เข้าใจได้ง่าย บรรยากาศในการอบรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ค่อนข้างเป็นทางการ รับสารเพียงอย่างเดียว ส่วนผู้เข้ารับการอบรม ตั้งใจฟังการบรรยายด้วยความสนใจ ในการอบรมครั้งนี้ ทุกคน ได้รับความรู้ เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 579739เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท