เรื่องเล่าจากจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน


เรื่องเล่าจากจิตอาสา กับการดูแลผู้พิการทางจิตในชุมชน

จากการทำงานในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน  ครั้งแรกที่ได้ลงมาทำงานเรื่องนี้ ความรู้สึกของคนทำงานนี้กลัวผู้ป่วยจิตเวชมาก เพราะความรู้สึกเก่าๆ(เดิม) นี้ทุกคนจะมองผู้ป่วยจิตเวชที่อยู่ที่บ้านหรือเดินตามท้องถนนนี้ หรือจากข่าวสารที่มาจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ว่า "บ้า, คนบ้า, ผีบ้า หรือไอ้โรคจิต"  จึงทำให้รู้สึกว่าไม่อยากทำงานกับผู้ป่วยเพราะกลัว แต่ที่เข้ามาทำงานเพราะเหมือนบังคับให้เข้ามาช่วยงานผู้ป่วยจิตเวช  แต่เมื่อได้ทำงานแล้วกับทำให้มีความรู้สึกที่ดีกับผู้ป่วยและมองว่าผู้ป่วยจิตเวชไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เช่น

                 เรื่องที่ว่าทำไมผู้ป่วยจึงไม่ออกจากบ้านหรือไม่เข้าสู่สังคม สิ่งที่ได้ก็คือเพราะคำเดียวคือคำว่า "อคติหรือตีตรา (บ้า หรือครอบครัวคนบ้า "และชุมชนจะปลูกฝังว่าเมื่อเห็นหรือพบคนประเภทนี้ จะสอนลูกหลานว่าอย่าเข้าไกล้ อย่าคบค้าสมาคมกับคนนี้ ครอบครัวนี้ จึงเป็นเหตุให้ผู้ป่วยไม่ออกสู่สังคม จึงเกิดคำถามทุกคนว่า มีไครป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน และถามอีกว่า อยากป่วยเป็นโรคเหล่านี้ใหม ก็ไม่มีไครอยากป่วย แต่เมื่อป่วยแล้วเราจะต้องทำอย่างไร  แต่ถ้าป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันนี้เป็นต้นฯ เขายังอยู่ในชุมชนได้ ชุมชนยังให้เกียรติยอมรับ ให้อยู่ในชุมชน และคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันเป็นต้นสมองของเขาดีถึงจะป่วยแต่สมองยังดีสามมารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เข้าสู่สังคมได้ ทำงานได้เป็นต้น แต่ผู้แล้วผู้ป่วยจิตเวชนี้หล่ะ เขาอยากป่วยเป็นผู้ป่วยจิตเวชใหม หรือเขาอย่าเป็นโรคทางจิตเวชใหม เขาก็ไม่อย่าป่วยทางจิต แต่เมื่อป่วยแล้วนี้หล่ะ "จะมีคำพูดที่ว่า ผู้ป่วยจิตเวชนี้ ตาก็ดีหูก็ดี แขนขาก็ดี ถามว่าเขาเป็นผู้พิการทางจิต(ผู้ป่วยจิตเวช)ตรงใหน"  ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ การเข้าสู่สังคมไม่มี (แยกตัวอยู่คนเดียว) ไม่สามารถทำงานได้หรือมีแนวคิดผิดปกติไม่เหมือนคนปกติเป็นต้น แล้วยังถูกตีตรา อคติ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ได้หายไป

 

                เรื่องความผิดปกติทางสมอง คือ ผู้ป่วยจิตเวชคือบอกว่า "พระอาจารย์ ผมคิดเองและทำเองพร้อมกันผมทำไม่ได้ แต่ถ้าพระอาจารย์คิดและสั่งให้ผมทำ ผมทำได้ " เช่น 1 เรื่องปลูกผัก สมาชิก(ผู้ป่วยจิตเวช)มารดน้ำผัก สมาชิกมารดน้ำผักจริง แต่สมาชิกไม่ถอนหญ้า เราก็มอบอกวิธีการให้เขาถอนหญ้าด้วย และรดน้ำผักด้วย สมาชิกมาทำให้จริงทั้งสองอย่าง แต่รดน้ำผักมาทุกวัน จนต้นผักโต สมาชิกมารดน้ำผักแล้วผักล้มตอนรดเช้าก็คืนสภาพเดิม เช้าสมาชิกมารดก็ล้มอีก เป็นอย่างนี้ เราก็ต้องมาบอกเรื่องผักล้มและวิธีรดน้ำไม่ให้ผักล้ม ถึงเวลาเก็บผักให้สมาชิกถอนผัก เขาก็รวบผักในการถอน โดยไม่คิดว่าผักจะช่ำหรือไม่ช่ำ เราก็ต้องบอกวิธีถอน ให้เอาผักไปล้าง สมาชิกก็รวบผักโดยวิธีหอบ พอถึงน้ำเขาก็โยนลงน้ำเลย เราก็ต้องบอกวิธีการเอาผักไปล้าง 

2 เรื่องผู้ป่วยยอกเรา  ผู้ป่วยมาทำกิจกรรมร่วมกัน เสร็จนั่งคุยกันนั่งเรียงแถวหน้ากระดาน พอเราลุกขึ้น ผู้ป่วยทุบหลังขมำไปข้างหน้าจนจะล้ม ด้วยความโกรธ หันมาถามว่าทุบหลังทำไม ผู้ป่วยจิตเวชตอบว่ายอกพระอาจารย์ครับ ถามว่าจะโกรธผู้ป่วยจิตเวชหรือจะโกรธเรา(ตัวเอง) เพราะผู้ป่วยไม่รู้วิธียอกเราต้องบอกเขาว่าจะยอกอย่างไร 

3 เรื่องญาติบอกผู้ป่วยจิตเวช  ญาติมาเล่าให้ฟังว่า บอกผู้ป่วยจิตเวชนี้ให้ทำแล้วเขาไม่ทำตาม จึงถามญาติว่า บอกอย่างไร ญาติตอบว่า วันนี้ผมจะพาน้องไปเที่ยว ให้ อาบน้ำ ทาแป้ง หวีผม ใส่เสื้อผ้าสีนี้ รองเท้าคู่นี้ แล้วรอพี่อยู่หน้าบ้าน เดี๋ยวพี่ไปธุระกลับมาจะพาไปเที่ยว  ถามว่าผู้ป่วยจิตเวชทำใหม ......... ตอบว่าทำ  คือมารอหน้าบ้าน  ตั้งแต่พี่ไป แต่คำสั่งที่เหลือไม่ได้ทำ เพราะเขาจำคำสั่งสุดท้ายคือรอหน้าบ้าน นี้คือความผิดปกติทางสมองของผู้ป่วยจิตเวช จำทำให้เข้าใจผู้ป่วยจิตเวชว่า ทำไมเขาถึงพูดว่า "พระอาจารย์ ผมคิดเองและทำเองพร้อมกันผมทำไม่ได้ แต่ถ้าพระอาจารย์คิดและสั่งให้ผมทำ ผมทำได้ " 

              จึงทำให้เข้าใจว่าผู้ป่วยจิตเวชคิดและทำเองไปพร้อมกันไม่ได้ ต้องมีคนคอยสั่ง และต้องสั่งที่ละเรื่อง นี้คือความยากของการดูผู้ป่วยจิตเวช และเราผู้ดูแลต้องมีสติ ต้องเข้าใจและต้องใส่ใจต่อผู้ป่วยจิตเวช จึงทำให้มองเห็นว่าบ้านใหนมีผู้ป่วยจิตเวช 1 คน จะต้องวุ่นไปทั้งครอบครัวเพราะจะต้องมาดูแลและใส่ใจผู้ป่วยจิตเวช  เพราะผู้ป่วยขาดทักษะต่างๆที่จะอยู่กับครอบครัว ชุมชน สังคม ดั้งนั้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนจึงจะต้องไม่มีแค่ญาติกับหมอหรือ อสม. เท่านั้นที่จะต้องดูแล จะต้องมีคนในชุมชน เช่น พระ ผู้ใหญ่บ้าน อบต. สตรีแม่บ้านผู้สูงอายุ นักเรียน จิตอาสาเข้ามาช่วยกระตุ้นให้กำลังใจผู้ป่วยจิตเวชและญาติจึงจะทำให้ผู้ป่วยจิตเวชอยู่กับชุมชนสังคมได้ 

              จากการทำงานกับชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ จะทำให้เห็นว่าพอมาทำงานกับผู้ป่วยจิตเวชและญาตินี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แค่ขอให้เราให้โอกาสยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วยจิตเวชและญาติคนในชุมชน ให้การยอมรับ ก็จะทำให้ผู้ป่วยอยู่กับเราได้  โดยใช้กระบวนการของชุมชนในการแก้ปัญหาของชุมชน หรือยืมรูปแบบ การส่งเสริมป้องกันรักษาฟื้นฟูของโรงพยาบาล(กระทรวงสาธารณสุข) มาปรับประยุกต์ให้เป็นรูปแบบการส่งเสริมป้องกันรักษาฟื้นฟูแบบบริบทของชุมชนหรือบริบทของพื้นที่ ก็ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชเราอยู่ได้ ซึ่งทุกวันนี้เราเห็นผู้ป่วยยิ้มได้หัวเราะ มีพื้นที่อยู่ในชุมชนนั้นก็ทำให้เรามีความสุข เพราะตัวชีวัดของเราคือผู้ป่วยจิตเวชอยู่ในชุมชนได้

หมายเลขบันทึก: 579638เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท