เครื่องมือการคิด ๑


ถอดเครื่องมือการคิดจากแก่นธรรม

         กระผมนั่งฟังธรรมมะของหลวงปู่ชา / ดร.วรภัทร / หลวงตาท่านอื่นๆ ผ่านทาง ยูทูป จากที่ได้ฟังต่างๆนานาๆ สังเคราะห์ออกมาเป็นเครื่องมือเดิม เเต่เจียใหม่ให้สวยงาม โดยเครื่องมือที่ว่านี้เป็น เครื่องมือในการพัฒนาคน มีการพัฒนาเเบบเดี่ยวเเละการพัฒนาเเบบกลุ่ม เป็นเเผนภาพสำหรับโค๊ชชิ่งหรือนักพัฒนาในการสอนคน .....

          เครื่องมือที่ 1 คือ REOG โมเดล หรือ เข็มทิศปัญญา โดยเป็นการคิดในเเก่นที่ว่า คนเรานั้นทุกๆคนล้วนมี 4 ฐานที่สำคัญในชีวิต ได้เเก่
ฟ้าลิขิต(rebirth) = เกิดมา
ดินละขิต(earth) = สังคม สิ่งเเวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนาธรรม ครอบครัว โรงเรียน ฯ
ตนลิขิต(oneself) = คำพูด การกระทำ จิตใจ จริต ความคิด
เป้าหมาย(goal) = การเสริม/พัฒนา/เเก้ไข/ต่อยอด
          ซึ่งจากเครื่องมือนี้เราจะมองได้ว่า เขาเกิดมาเเล้ว 1 ชีวิต เขามีปัจจียในการำเนินชีวิตอะไรบ้าง สิ่งที่เขาเเสดงออกมาเป็นวาจา หรือกระทำ หรือความคิดนั้น เขาเเสดงออกอะไร ดีหรือไม่ เกิดมาจากสาเหตุอะไรของตุ้นทุนชีวิตของเขา สุดท้ายก่อนที่จะไปสู่เป้าหมาย คือ เราจะพัฒนาเขาเรื่องอะไร ทำอย่างไร อะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง เมื่อพัฒาเเล้วนั้น เขาเเสดงออกมาอย่างไรทั้งด้าน กายกรรม วจีกรรม นโนกรรม จริตกรรม เพื่อพัฒนาต่อไป ในระหว่างทางมีอัตตา ทิฐิ กิเลศ เป็นตัวสำคัญ โดยเฉพาะอัตตาที่เกิดขึ้นส่วนบุคคล หากผลของวิธีการเราไปผิดถลำลึก โดยลืมให้เขา อาณาปานสติเเล้วนั้น เขาจะตกบ่วงอัตตา หรือทิฐิ หรือกิเลศนั่นเอง

          ฉะนั้นเเล้ว ในความคิด การกระทำ จิตใจของคนเรานั้น ที่ได้เกิดมา มีวงกลมวงที่สอง คือ วงโลกา ที่ล้อมรอบเราอยู่ ที่ส่งผลออกมาทั้งด้านความคิด เเละพฤติกรรมต่างๆ ทั้งเเสดงออกเเละไม่เเสดงออก เเต่เพียงเรารู้จักตนเอง รู้จักเป้าหมาย ความฝัน ปัญหาท้องถิ่น ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขของตนเองเเละสังคม จุดนี้เราจะกลายเป็นผู้ที่ติ่นรู้ในบริบทของสังคมหรือที่เราเรียกว่า Active citizen  นั่นเอง

          เข็มทิศปัญญา ในอีกมิติหนึ่ง ซึ่งในครั้งที่เเล้วได้กล่าวไปเเล้วในเรื่องของส่วนใหญ่ ที่มีอยู่ 3 ส่วน ได้เเก่ ฟ้าลิขิต ดินลิขิต เเละตนเองลิขิต ... คราวนี้ขอพูดถึงการพัฒนาคน ซึ่งโดยปกติเเล้วเราทุกๆจะมี ฐานของภายนอก เช่น สังคม วัตถุ สิ่งแวดล้อม ฯ ต่างๆที่อยู่รอบตัวที่มีอิทธิพลทำให้เรา เกิด กายกรรม(การกระทำ) วจีกรรม(คำพูด) มโนกรรม(ความคิด) เเละสภาพจิตใจ ภายนอกมีอิทธิพลต่อภายในตัวของเราทั้งสิ้น จากทั้งกรรมต่างๆของเรานั้น ส่วนที่ออกไปอีก คือ จริตกรรมทั้ง 6 ได้เเก่ ที่เป็นลักษณะในเเต่ละบุคคล พุทธิ(การคิดอย่างมีวิจารณญาณ) สัทธา(ความเชื่อมั่น) โทสะ(กระทิง) โมหะ(หมี) ราคะ(หนู) เเละวิตก(อินทรี) ซึ่งเเต่ละจริตนั้น ก็มีการพัฒนาที่ไม่เหมือนกัน .... ดังพระพุทธองค์กล่าวไว้ ดังนี้
1.ราคจริต เหมาะกับ อสุภะ 10 นวสี 9 กายคตานุสสติ
2.โทสจริต เหมาะกับ วรรณกสิน 4 พรหมวิหาร 4
3.โมหจริต เหมาะกับ อานาปานสติ
4.วิตกจริต เหมาะกับ อานาปานสติ กสินทั้ง 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน เตโชกสิน วาโยกสิน อาโลกกสิน อากาสกสิน
5.สัทธาจริต เหมาะกับ อนุสสติ 6 คือพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ ศีลานุสสติ เทวตานุสสติ
6.พุทธิจริต พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาธาตุ 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ
อานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริต ...
          อ่านเเล้วอาจมองไม่ออก ... เรามาคิดง่ายๆในทางโลกอย่างนี้ คือ
1.ราคะ(หนู) = การให้มองกาย มองตนเอง มองความรู้สึก ความคิด เเละการกระทำของตนเอง
2.โทสะ(กระทิง) = เน้นกระบวนการให้ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์ ความเข้าใจผู้อื่น ความพอใจในตัวผู้อื่น ความพลอยยินดีในตัวผู้อื่น เเละสุดท้ายที่สำคัญ คือ การปล่อยวาง จากปัญหา
3.โมหะจริต = ฝึกให้ทำสมาธิ อาจใช้การวาดภาพ การคัดลายมือ การเล่นดนตรี พูดคุย ให้พัฒนาตนเอง การทำกิจกรรม เเล้ว AAR สรุป สู่ปัญญา
4.วิตก(อินทรี) = การให้มองสิ่งเเวดล้อมที่เป็นไป มองรายละเอียดย่อย เเละการพิจารณาตนเอง/มองตนเอง
5.สัทธา = ฝึกให้ไม่หูเบา ให้มองสิ่งที่ตนเองเชื่อ
6.พุทธิ = เสริมให้เขามีการคิดเเบบต่างๆ มีทักษะมากยิ่งขึ้น
          *** สัทธาเเละพุทธิ หากเขาสัทธาในเรื่องที่เราจะทำงานอยู่เเล้ว เเละหากมีคนที่มีการคิดอย่างมีวิารณญาณร่วมทีมด้วย ทีมในการดำเนินงานการขับเคลื่อนจะเเข็งเเกร่งอย่างยิ่ง จนถึงส่วนของการเกิดสุขภาวะทางปัญญาเเละพึ่งตนเองได้ เเต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่ยั่งยืน เพราะบานได้ ก็หุบได้.... หากเขาขาดการมองตนเอง ไม่รู้จักตนเอง เขาก็จะหลงไม่เห็นตนเองเเล้วตกบ่วงกรรม ทางความคิด ทางวาจา ทางการกระทำ ทางอารมณ์ ทางการเห็นผิด เป็นต้น

          เครื่องมือที่ 2 คือ สามเหลี่ยมพุทธิ คือ เครื่องมือการการมองภาพของการทำงานกลุ่มว่า ในกลุ่มทำงานของเรานี้ มีคนอย่างไรบ้าง ซึ่งสรุปสั้นๆได้ดังนี้
อินทรี = พูดอย่างเดียว ไม่ค่อยทำ
กระทิง = ทำอย่างเดียว ไม่สนใคร
หมี = ละเอียดอ่อน มีเเบบเเผน
หนู = เเคร์ทุกคน ทุกคนดีหมด
          สามเหลี่ยมนี้ เบื้องหน้า คือ อินทรี เเละกระทิง (เอาคนที่พูดดี มองไกลไปกับคนที่ทำงานเด็ดเดี่ยว) เบื้องหลัง คือ หมีเเละหนู (เอาคนที่ละเอียด รอบคอบ ค่อยๆเดิน เเละกระจกอย่างหนูเพื่อส่องคนทำงานทั้งหน้าเเละหลัง) นำไปสู่เป้าหมาย โดยเคลื่อนพร้อมๆกันไป ระหว่างทางมีความเเตกเเยก อัตตา มานะ ทิฐิ ล้ม อยู่เสมอๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ เเต่ทว่าหากเราเดินอย่างเข้มเเข็งมีการคุยกัน "พทธิ" (การคิดอย่างมีวิจารณญาณ) จะเกิดขึ้น เเล้วเมื่อพุทธิเกิดขึ้น ย่อมจะมีถูมิคุ้มกันต่อทีมทำงานเอง

          วิธีการในการรักษา "พุทธิ" นั้นอาจสามารถทำได้หลายวิธีการ อาจใช้การพูดคุย การเปิดใจ การประสานงาน การสื่อสารงาน การระดมสมอง การพัฒนางานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม เป็นต้น สิ่งที่สำคัญในกระบวนการเเบบทีม คือ รับฟังหนูอยู่เรื่อยๆ เพราะหนูจะเข้าใจ "ใจ" ของคนที่ทำงานอย่างยิ่ง เเล้วนำมุมสะท้อนของหนุมาหาวิธีการรักษา พุทธิ ในการดำเนินงานของเราต่อไป

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 578967เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2014 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2014 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อันนี้ผมถอดจาดไตรสิกขา กับจริต 6 ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท