AAR : ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)


AAR : ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1

1. ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

“ห้องเรียนกลับด้าน" คืออะไร ฟังชื่อแล้วอาจรู้สึกแปลก ๆ ไม่คุ้นชิ้น Flipped Classroom หรือห้องเรียนหลับด้าน เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่โดยให้นักเรียน “เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน" ปัจจุบันกระแส “ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา และในปีการศึกษา 2556 นี้ ชั้นเรียนในโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาของไทย น่าจะนำแนวคิด “ห้องเรียนกลับด้าน" มาใช้ด้วยเช่นกัน

การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เป็นรูปแบบการสอนโดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากที่บ้าน ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อวิดีทัศน์ วิดีโอ นอกชั้นเรียนหรือที่บ้าน ส่วนการเรียนในชั้นเรียนปกตินั้น จะเป็นการเรียนแบบสืบหาความรู้ที่ได้รับร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น โดยครูเป็นผู้ช่วยเหลือชี้แนะ

บทบาทของครูในการจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom ครูมีหน้าที่เป็นโค้ชหรือ ติวเตอร์คอยให้คำปรึกษา มากกว่าการนำความรู้มาป้อนให้กับผู้เรียนเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ห้องเรียนกลับด้านแตกต่างจากห้องเรียนธรรมดาอย่างไร ถ้าเป็นห้องเรียนธรรมดาการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้เรียนจะถือสมุด ปากกา ดินสอ เข้าไปในห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่ถูกกำหนดไว้แล้วว่าวันนี้จะต้องเรียนอะไร จดบันทึกอะไร โดยมีครูผู้สอนทำหน้าที่บรรยายเนื้อหาบนกระดานสี่เหลี่ยม ผู้เรียนก็มีหน้าที่เพียงฟังการบรรยาย อธิบาย และรับฟังเนื้อหาที่ครูถ่ายทอดมา ซึ่งความเข้าใจก็จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละบุคคล โดยบางคนอาจเข้าใจ บางคนอาจไม่เข้าใจ หรือบางคนอาจเกิดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่ครูผู้สอนบรรยาย เหล่านี้นับได้ว่าเป็นปัญหาหลักของการศึกษาส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนนั้นออกมาได้ไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร

การเรียนรู้แบบ Flipped Classroom จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้โดยให้การเรียนรู้นั้นอยู่ภายนอกห้องเรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้ศึกษาเนื้อหาที่บ้านผ่านการใช้สื่อออนไลน์ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น ๆ นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซักถามกันระหว่างผู้เรียนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เมื่อเข้าสู่ชั้นเรียนนักเรียนจะร่วมกันเรียนรู้ ซักถาม โดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย

2. รู้แล้วคิดอะไรต่อ

การจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped classroom จะมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามความสามารถและความแตกต่างของแต่ละบุคคล จากความรู้ มวลประสบการณ์ที่ครูจัดให้ผ่านสื่อออนไลน์หรือเทคโนโลยีที่หลากหลายในปัจจุบันนี้ เป็นลักษณะของการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งแตกต่ากจากการเรียนในห้องสี่เหลี่ยม

ถ้าหากนำ Flipped Classroom มาใช้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ข้าพเจ้าสอน คือ รายวิชาภาษาไทย จะเป็นการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่น่าเบื่อ เพราะเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า Flipped Classroom ผู้เรียนจะศึกษาเนื้อหาที่บ้านผ่านสื่อออนไลน์ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น ๆ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ครู ผ่านการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก

การเรียนการสอนแบบ" ห้องเรียนกลับด้าน" ทำให้ครูมีเวลาชี้แนะและช่วยสร้างสรรค์แนวคิดต่าง ๆ ได้มากขึ้น ในทางกลับกัน “ห้องเรียนกลับด้าน" อาจส่งผลเสียต่อนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายนอกโรงเรียนได้ อย่างไรก็ตามครูต้องหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น นำข้อมูลลงในซีดีรอม หรือ Thrum drives เพื่อให้นักเรียนนำกลับไปศึกษาที่บ้านได้

3. จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

Flipped Classroomผู้เรียนจะเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ผ่านการใช้สื่ออนไลน์ โดย Flipped Classroom สามารถประยุกต์ใช้กับโปรแกรม “EDMODO" ได้

Edmodoคือ เครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับครู นักเรียน โรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย สามารถติดต่อสื่อสาร ทำงานร่วมกัน แบ่งปันเนื้อหา สามารถเข้าถึงการบ้าน สมุดเกรด และประกาศข่าวสารได้อย่างง่ายดาย

เป้าหมายสำคัญของ Edmodoคือ การใช้ประสิทธิภาพของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อช่วยให้ นักการศึกษาสามารถจัดการห้องเรียนและจัดการนักเรียนทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ Facebook ซึ่งนักเรียนและครูผู้สอนต่างก็มีความคุ้นเคย นิยมชมชอบทั่วโลกอยู่แล้ว จึงทำให้ Edmodoสามารถเข้าถึงและดึงดูดตัวผู้เรียนได้ดี และยืดหยุ่นกว่า ทั้งยังสามารถใช้ Edmodoทำงานไปพร้อมกับ Facebook ได้อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 578947เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2014 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท