อนุทินครั้งที่ 2 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เรื่อง การจัดการศึกษาในประเทศอาเซียน


อนุทินครั้งที่ 2 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ 

โดย นางสาวอุไรวรรณ ภูจ่าพล นักศึกษาปริญญาโทรุ่นที่ 13

สาขาหลักสูตรและการสอน รหัส 57D0103124 ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1 

ครูผู้สอน ผศ.รศ. อดิศร เนาวนนท์ วันที่ 3 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การอบรมเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในประเทศอาเซียน ****************************

1. การเตรียมตัวล่วงหน้า
สิ่งที่รู้ 

* ความหมายของการเรียนรู้ 

* สังคมแห่งการเรียนรู้

* บุคคลแห่งการเรียนรู้ 

* แนวทางการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

สิ่งที่ไม่รู้ 

* การจัดการความรู้ 

* การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

  1. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ
  2. 1.1ประเทศฟิลิปปินส์ ประวัติ ฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงได้รับอิสระ จากการที่ตกเป็นเมืองขึ้นทำให้ประชากรสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ หลักการเรียนการสอน การศึกษาของฟิลิปปินส์มีการแข่งขันสูง ฟิลิปปินส์จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้ระยะเวลา 10 ปี แต่ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนจัดการศึกษา 12 ปี รัฐบาลจึงมีการปรับเปลี่ยนเป็นหลักสูตรที่ชื่อว่า K 12 Program ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายเวลาในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาการเรียนในระดับที่สูงขึ้น และเสริมสร้างการทำงานและเป็นนักลงทุนในอนาคต K 12 ประกอบด้วย การเรียนในชั้นอนุบาล 1 ปี ชั้นประถม 6 ปี มัธยมต้น 4 ปี มัธยมปลาย 2 ปี การจัดการเรียนการสอน เริ่มเรียนอนุบาล 5 ขวบ การเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลจะเรียนเกี่ยวกับตัวอักษร สี ตัวเลข คณิตศาสตร์พื้นบาน ร้องเพลง เต้นรำและเรียนภาษาที่เป็นภาษาแม่ของฟิลิปปินส์ เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีหลากหลายภาษาที่เป็นภาษาถิ่น แต่มี 12 ภาษาที่ใช้ในโรงเรียน ระดับประถมศึกษา เกรด 1-6 ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ในการเรียนการสอนในชั้นประถมเริ่มเรียนภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับการเรียนภาษา Filipino เพื่อให้เด็กมีความเชียวชาญในทักษะการพูด เรียนตั้งแต่ ป.1 จบ ป. 1 ต้องอ่านภาษา Filipino ได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น    ระดับมัธยม เป็นการศึกษา 4 ปี ภาษาที่ใช้เป็นภาษา Filipino และ ภาษาอังกฤษ วิชาที่เรียนจะเริ่มจากง่ายไปหายาก เช่น ม. 1 เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม.2 เรียนวิชาชีวะ เคมี และฟิสิกส์ การเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นวิชาวิทย์หรือคณิตศาสตร์ จะมีวิธีการสอนที่เหมือนกัน หลังจบ ม. ต้น จะได้ใบประกาศ ที่เรียกว่า COC มัธยมศึกษาตอนปลาย จะเรียน 2 ปี เป็นการเตรียมพร้อมนักเรียนให้ไปเรียนในระดับที่สูงขึ้น มีวิชา ภาษา วรรณคดี การสื่อสาร คณิต ปรัชญา วิทย์ สังคม มี 7 วิชาเป็นภาษาหลักในการเรียน เมื่อเรียนจบ ม. ปลาย จะได้ใบประกาศที่เรียกว่า NC II จากที่นักเรียนเรียนจบตามหลักสูตร K 12 program แล้วจะได้ใบประกาศ 2 ใบ คือ NC I และ NC II แล้วจะสามารถไปเลือกได้ว่าจะไปประกอบอาชีพ เกษตร ไฟฟ้า หรือเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้

1.2 ประเทศเวียดนาม หลักสูตร ในอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง ปี 2535-2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6 การจัดการเรียนการสอน อนุบาลจะเริ่มเรียนตั้งแต่ 3-5 ขวบชั้นประถมศึกษา จะเรียน 5 ปี ป. 1-5 โดยครูประจำชั้นจะทำการสอนในทุกรายวิชา โดยจะเน้นวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน กับภาษาเวียดนาม ครูจะเน้นให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศิลปะ ชั้นมัธยม จะแบ่งเป็น ม.ต้น กับ ม.ปลาย โดย ม.ต้น คือ ม. 1 – ม. 3 ม.ปลาย ป. 4 – ป.6   โดยจะเรียนในรายวิชา คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี พลเมืองศึกษา ภาษาต่างประเทศ ( อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ) คอมพิวเตอร์ และต้องเข้าเรียนวิชาศึกษาป้องกันประเทศ แบ่งห้องเรียนตามความสามารถของผู้เรียน ห้องละ 30 – 45 คน การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเป็นการบรรยายและจะมีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบ้างเป็นบางครั้ง ม.ต้น จะเน้นการเรียนการสอนทุกรายวิชาเท่าเทียมกัน ม.ปลายจะเรียนทุกวิชาเช่นกันแต่จะมีการแบ่งสายการเรียน โดย

สาย A คณิต ฟิสิกส์ เคมี
สาย B คณิต เคมี ชีวะ
สาย C วรรณคดีประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ 

สาย D วรรณคดี ภาษาต่างประเทศ ( โดยจะนิยมเรียนภาษาอังกฤษ ) วิชาที่เหลือที่ไม่ใช่วิชาหลักก็ต้องเรียน ประเทศกัมพูชา หลักสูตร กระทรวงศึกษาฯ ยังคงดำเนินการพัฒนาระบบการศึกษา มีการปฎิรูปหลักสูตร มีการพัฒนาตำราเรียนใหม่และนำเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาให้กับครูเพื่อเตรียมสำหรับการนำระบบการศึกษาแบบ 12 ปีมาใช้ (6+3+3) การจัดการเรียนการสอน การศึกษาก่อนประถมศึกษา 3 ปี ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และระดับอุดมศึกษา 4 – 7 ปี ส่วนการจัดการศึกษาด้านอาชีวะและเทคนิคจัดให้ตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 5 ปีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษานี้ บางสถาบันการศึกษาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสาธารณสุขหรือแรงงาน การจัดการศึกษานอกระบบจะเน้นการฝึกทักษะ ให้กับประชาชน 

1.3ประเทศสิงคโปร์ ประวัติ ความได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งจึงเป็นเมืองท่า สิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ จึงไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเหมือนประเทศอื่น ดังนั้นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของเขาจึงเป็นประชากร ในการที่จะพัฒนาคุณภาพของประชากร รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการศึกษา หลักสูตร ระบบและหนังสือจะรับเอามาจากประเทศอื่น การพัฒนาระบบมรการพัฒนาที่ดี ประเทศอื่นก็นำเอาระบบและหนังสือจากประเทศสิงคโปร์ไปใช้ การจัดการเรียนการสอน เริ่มวันที่ 2 ม.ค. มีทั้งหมด 4 เทอม การเรียนในชั้นเตรียมอนุบาล เริ่มที่อายุ 3 ปี อนุบาลเริ่มที่ 4 ขวบ เรียน 1 ไม่บังคับ อนุบาลมีหลักสูตร 2 ปี ปีที่ 1 5 ขวบ ปีที่ 2 6 ขวบ โดยเลือกได้ว่าจะไปโรงเรียนในตอนเช้าหรือตอนบ่าย ถ้าพ่อแม่ทำงานสามารถให้ทางโรงเรียนดูแลทั้งวันได้ แต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ระดับประถม เริ่มที่อายุ 7 ขวบ ถึง 12 ปี จบ ป.6 นักเรียนจะต้องเข้าสอบวัดระดับเพื่อที่จะเข้าเรียนในระดับมัธยมต่อไป เป็นการสอบที่มีความสำคัญมาก พ่อแม่ผู้ปกครองจะกังวลมากเกี่ยวกับการอสบในครั้งนี้ ซึ่งในการสอบจะมีการสอบรายวิชา วิทย์ คณิต ภาษา การสอบภาษาเป็นการพูด นักเรียนจะต้องอ่านให้ครูฟัง ให้ดุรูปแล้วสนทนาเกี่ยวกับรูปภาพ และในส่วนสุดท้ายจะเป็นการสัมภาษณ์ ส่วนที่สองเป็นการสอบเขียน เขียนเรียงความสองเรื่อง โดยจะให้สถานการณ์มาแล้วเขียนตามที่กำหนด และอีกอันหนึ่งก็เขียนแบบอิสระ ส่วนสุดท้ายเป็นการพูดแกรมมา และคำศัพท์ นักเรียนที่สอบผ่านจะสามารถเลือกเข้ารงเรียนระดับท็อปได้ 6 โรงเรียน การวัดผลจะดูเกรดจากการเรียน เมื่อเข้าระดับมัธยมแล้วนักเรียนจะถูกแยกออกให้เรียนในสายพิเศษและธรรมดา โดยสายพิเศษจะเรียน 4 ปี สาวนสายธรรมดาจะเรียน 5 ปี สาเหตุที่แบ่ง 2 แบบ เพื่อเป็นการใช้ให้เด็กเห็นว่าในอนาคตเด็กเรียนจบแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง เมื่อจบระดับมัธยมแล้วนักเรียนสามารถเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ โดยระยะเวลาในการเรียนก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรมของแต่ละวิชา

3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน 

จากการรับฟังเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนของแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนรวมก็จะมีการการจัดการศึกษาเป็น 3 ระดับที่คล้ายคลึงกัน โดยแบ่งเป็นระดับอนุบาล ประถม และมัธยม จากที่ได้ฟังสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยมีระดับผลการศึกษาอยู่ในลำดับที่ 8 เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนก็เพราะว่าประเทศเราไม่ได้เน้นเรื่องระเบียบวินัยให้กับเด็ก เด็กนักเรียนยังขาดความมีระเบียบวินัยเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มาสัมมนาในวันนี้ เด็กนักเรียนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนเท่าที่ควรและยังคงไม่สนใจเรียนในเวลาที่ครูสอน บ้างก็สนใจโทรศัพท์ หรือสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากบทเรียน ระบบการศึกษาไทยยังคงด้อยในเรื่องการประเมินเพราะในแต่ละตัวชี้วัดครูไทยส่วนใหญ่จะสอบผ่านหมดไม่มีตก จึงทำให้นักเรียนไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ดังนั้นสิ่งที่ครูไทยควรทำการฝึกระเบียบวินัยให้กับนักเรียน และพยายามจัดการกับชั้นเรียนให้ได้ ถ้าจัดชั้นเรียนไม่ได้ เด็กไม่มีระเบียบวินัยการจัดการเรียนการสอนก็เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นเรื่องวินัยจะต้องมาก่อน 

4. การนำความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและการปฏิบัติงาน

ข้าเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน โดยจะยึดหลักการของประเทศสิงคโปร์ จะเน้นให้นักเรียนมีระเบียบวินัยให้มากกว่านี้ ให้นักเรียนเป็นคนที่รักการเรียนรู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาว่าจะสามารถพัฒนาชีวิตและยกระดับชีวิตของนักเรียนได้

5. บรรยากาศในการเรียน

บรรยากาศในครั้งนี้เนื่องจากเป็นการบรรยายในหอประชุมบรรยากาศจึงไม่มีการร่วมแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาแต่จะรับฟังบรรยาย โดยรวมแล้วนักศึกษาตั้งใจฟังการบรรยายดีมาก อาจเนื่องมาจากเป็นการบรรยายภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ต้องตั้งใจฟังเพื่อทำความเข้าใจ ส่วนผู้บรรยายต่างชาติที่พูดไทยได้นักศึกษาจะสนใจและชื่นชมในความสามรถที่เขาสามารถพูดไทยได้ วิทยากรที่มาบรรยาย บรรยายได้อย่างชัดเจนและตรงตามประเด็น ครบถ้วน ส่วนผู้ที่แปรภาษาไทยก็เก่งและแปรได้กระชับและเข้าใจได้ง่าย

หมายเลขบันทึก: 578865เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท